“ซิจ (Zij)” เป็นคำในภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรอาหรับว่า زيج คือ ตารางบันทึกผลการสังเกตการณ์การเคลื่อนที่และตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าโดยนักดาราศาสตร์ในอดีต เพื่อใช้คำนวณหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า กลุ่มดาวต่าง ๆ รวมไปถึงการคำนวณหาระยะเวลาของช่วงกลางวันและกลางคืน และใช้ในการคำนวณหาทิศทาง โดยต้นแบบและวิธีการของซิจ ได้รับอิทธิพลจากตารางของปโตเลมี (Ptolemy’s Handy Tables) ที่ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซิจแต่ละตารางจะมีรูปแบบเฉพาะและความโดดเด่นที่ต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 13 ส่วน ดังนี้
- การคำนวณวันเดือนปีและการแปลงปฏิทิน (Chronology and calendar conversion)
- ตรีโกณมิติ (Trigonometry)
- ดาราศาสตร์ทรงกลม (Spherical Astronomy)
- ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ (Mean Motions of Sun, Moon, and Planets)
- สมการการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ (Equations of Sun, Moon, and Planets)
- เดคลิเนชันของดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (Latitudes of Moon and Planets)
- ตำแหน่งของดาวเคราะห์ (Planetary Stations)
- แพรัลแลกซ์ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ (Parallax of the Sun and Moon)
- สุริยุปราคาและจันทรุปราคา (Eclipses of the Moon and the Sun)
- ทัศนวิสัยในการมองเห็นดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (Visibility of the Moon and Planets)
- ภูมิศาสตร์ (ตำแหน่งละติจูดและลองจิจูดของผู้สังเกต) (Geography)
- พิกัดตำแหน่งของดาวฤกษ์ฉากหลัง (Coordinates of the Fixed Stars)
- การคำนวณทางโหราศาสตร์ (Mathematical Astrology)
ที่มา: https://www.christies.com
ภาพที่ 1 ตัวอย่างซิจที่ใช้ในการคำนวณสุริยุปราคา จากหนังสือซุลลาม
“ซิจ” ถูกบันทึกโดยใช้ตัวเลขอับญัด (Arabic abjad; alphanumeric) ซึ่งเป็นระบบตัวเลขที่ใช้อักษรอาหรับ มีเครื่องหมายแทนระบบตัวเลขที่ใช้ระบบฐานหกสิบ (Sexagesimal system) คือ แบ่งหน่วยเวลาเป็นมาตรา 60 ดังที่เราใช้กันมาในเรื่องเวลา ชั่วโมง นาที และวินาที และใช้แบ่งวงกลมเป็นองศา พิลิปดา อักษรอาหรับในซิจมีค่า ดังที่แสดงไว้ในตารางดังต่อไปนี้
อักษรอาหรับ |
คำอ่าน |
ตัวเลข |
อักษรอาหรับ |
คำอ่าน |
ตัวเลข |
ا |
อลิฟ |
1 |
س |
ซีน |
60 |
ب |
บาอ์ |
2 |
ع |
อัยน์ |
70 |
ج |
ญีม |
3 |
ف |
ฟา |
80 |
د |
ดาล |
4 |
ص |
ศอด |
90 |
ه |
ฮาอ์ |
5 |
ق |
กอฟ |
100 |
و |
วาว |
6 |
ر |
รออ์ |
200 |
ز |
ษาล |
7 |
ش |
ชีน |
300 |
ح |
หาอ์ |
8 |
ت |
ตาอ์ |
400 |
ط |
ฏออ์ |
9 |
ث |
ษาอ์ |
500 |
ى |
ยา |
10 |
خ |
คออ์ |
600 |
ك |
กาฟ |
20 |
ذ |
ซาล |
700 |
ل |
ลาม |
30 |
ض |
ฎอด |
800 |
م |
มีม |
40 |
ظ |
ซอฮ์ |
900 |
ن |
นูน |
50 |
غ |
ฆอยน์ |
1000 |
ตารางที่ 1: ตารางเทียบค่าตัวเลขกับอักษรอาหรับที่ใช้ในตัวเลขอับญัด
ชื่อกลุ่มดาวจักรราศีในภาษาอาหรับ |
ชื่อกลุ่มดาวจักรราศีในภาษาไทย |
พยัญชนะอาหรับ |
ค่าตัวเลข |
حمل |
กลุ่มดาวแกะ |
. |
0 |
ثور |
กลุ่มดาววัว |
ا |
1 |
جوزاء |
กลุ่มดาวคนคู่ |
ب |
2 |
سرطان |
กลุ่มดาวปู |
ج |
3 |
أسد |
กลุ่มดาวสิงโต |
د |
4 |
سنبلة |
กลุ่มดาวหญิงสาว |
ه |
5 |
ميزان |
กลุ่มดาวคันชั่ง |
و |
6 |
عقرب |
กลุ่มดาวแมงป๋อง |
ز |
7 |
قوس |
กลุ่มดาวคนยิงธนู |
ح |
8 |
جدي |
กลุ่มดาวแพะทะเล |
ط |
9 |
دلو |
กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ |
ى |
10 |
حوت |
กลุ่มดาวปลา |
ىا |
11 |
ตารางที่ 2: ตารางเทียบกลุ่มดาวจักรราศีกับอักษรอาหรับ
วัน |
อักษรอาหรับ |
วันอาทิตย์ |
ا |
วันจันทร์ |
ب |
วันอังคาร |
ج |
วันพุธ |
د |
วันพฤหัสบดี |
ه |
วันศุกร์ |
و |
วันเสาร์ |
ز |
ตารางที่ 3: ตารางเทียบวันกับอักษรอาหรับ
อักษรอาหรับในซิจจะไม่มีจุด นอกจากบางตัวอักษรเพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน เช่น “นูน”(ن) จะมีจุด เพื่อให้แตกต่างกับ “บาอ์” (ب) และเขียนแค่หัวของตัวอักษร “ญีม” (ج) เพื่อให้แตกต่างกับ อักษร “หาอ์” (ح)
ภาพที่ 2 : ตัวอย่างซิจที่ใช้ในการเปลี่ยนวันที่ตามกลุ่มดาวจักรราศี
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 - 19 มีซิจที่ถูกบันทึกและรวบรวมในช่วงยุคทองของอิสลามจำนวนมากกว่า 225 ตาราง แต่ในจำนวนนี้เกินครึ่งได้หายไป เหลือเพียงบางตารางที่มีอยู่ถึงปัจจุบัน เช่น Zij-I Ilkhani of Nasir al-Din al-Tusi, Zij Sindhind, Zij al-Khawarizmi, Zij Ibn al-Banna
ภาพที่ 3 : Zij-I Ilkhani of Nasir al-Din al-Tusi
ที่มา: https://bid.shapiroauctions.com
แต่ซิจที่ถือว่ามีอิทธิพลในโลกอิสลามยุคหลัง คือ “ซิจซุลตอนี” (Zij Sultani of Ulugh Beg) ซึ่งในประเทศไทยและแถบคาบสมุทรมลายูยังมีการนำ ซิจซุลตอนีมาใช้คำนวณปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับดวงจันทร์ เช่น คำนวณหาตำแหน่งดวงจันทร์ และความน่าจะเป็นที่จะเห็นจันทร์เสี้ยว โดยคำนวณหาเวลาการเกิด conjunction (ดวงจันทร์ปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงจันทร์ดับ) ขนาดและอายุของจันทร์ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา เป็นต้น ซึ่งตารางเหล่านี้ถูกบันทึกในหนังสือดาราศาสตร์สมัยก่อน ที่ยังมีการเรียนการสอนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เช่น หนังสือซุลลาม นัยจิรัย และหนังสือบากูเราะห์ อาดิลละห์ ลิมะรีฟะห์ตุล อาฮิลละห์ โดยซิจในหนังสือทั้งสองเล่มยังเป็นซิจตามรูปแบบซิจซุลตอนี
เรียบเรียง : สุกัญญา มัจฉา - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.
อ้างอิง :
[1] https://link.springer.com/referenceworkentry/10.1007%2F978-1-4614-6141-8_202
[2] https://media.neliti.com/media/publications/56966-ID-kitab-sullam-an-nayyirain-dalam-tinjauan.pdf