สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ส่องวงแหวนดาวเสาร์ 5 จุดสังเกตการณ์หลัก เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. ชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
| |NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิงหาคมนี้ ในงานมหกรรมวิทย์ฯ 67 เมืองทองธานี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจักรแห่งการสำรวจดวงจันทร์ ทำความรู้จักดาวบริวารหนึ่งเดียวของโลก ภายใต้แนวคิด “Back To the Moon” พบกับดินดวงจันทร์เสมือนจริง ชมอุกกาบาตจากดวงจันทร์จากเทคโนโลยีโฮโลแกรม ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสีของดวงจันทร์ ชมภาพถ่ายดวงจันทร์ 3 มิติ และพลาดไม่ได้กับ Super reality dome เทคโนโลยีล่าสุดของการฉายภาพระบบฟูลโดมดิจิทัล 360 องศา พาไปเยือนพื้นผิวบนดวงจันทร์เสมือนจริง และจำลองการขับยานท่องในอวกาศปลายทางถึงดวงจันทร์แบบ 4 มิติ พบกันได้ที่บูธ NARIT ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 วันที่ 16 - 25 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 - 19:00 น. ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เข้าชมฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
| |17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”
จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต่อยอดนวัตกรรมสู่ Start Up และการสร้างอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศเพื่อความยั่งยืน ชวนมาอัพเดทสถานการณ์ล่าสุด พร้อมทิศทางในอนาคตที่เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น กับผู้มีบทบาทสำคัญในโครงการนี้
| |กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน” ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูร้อน และประเทศทางซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูหนาว
| |ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทยุแอฟเฟลส์เบิร์ก เยอรมนี ตรวจจับสัญญาณแทรกสอดระยะไกลในไทยสำเร็จเป็นครั้งแรก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมักซ์พลังค์ (MPIfR) เยอรมนี เผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์การเชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ (TNRT) ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย กับกล้องโทรทรรศน์วิทยุแอฟเฟลส์เบิร์ก เมืองบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภายใต้เทคนิคการแทรกสอดระยะไกลหรือ Very Long Baseline Interferometry (VLBI) ทำให้สามารถเพิ่มขีดศักยภาพของกล้องทั้งสองได้ความคมชัดราวกับกล้องเสมือนที่มีขนาดกว่า 8,500 กิโลเมตร ยกระดับดาราศาสตร์วิทยุไทยสู่ระดับนานาชาติ
| |นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ “หมุน”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำใจกลางกาแล็กซี M87 จากการติดตามสังเกตการณ์นานกว่าสองทศวรรษ พบว่าเจ็ทเปลี่ยนทิศทางประมาณ 10 องศา เป็นวัฏจักร ที่มีคาบ 11 ปี นับเป็นหลักฐานแรกที่บ่งชี้และยืนยันว่าหลุมดำอาจกำลังหมุน งานวิจัยดังกล่าว ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
| |สำเร็จแล้ว ยาน JUICE สามารถกางเสาอากาศได้อย่างสมบูรณ์
12 พฤษภาคม ค.ศ.2023 องค์การอวกาศยุโรป (ESA) รายงานว่ายาน JUICE ยานสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี สามารถกางเสาอากาศยาว 16 เมตรได้สำเร็จ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์หลักของยาน ทำหน้าที่เป็นระบบเรดาร์ใช้ศึกษาทะลุเข้าไปยังเปลือกชั้นน้ำแข็งของดวงจันทร์ หลังจากประสบปัญหาไม่สามารถกางอุปกรณ์ดังกล่าวได้นานเกือบ 1 เดือน
| |ดาวเสาร์กลับมาทวงบัลลังก์ “ราชาแห่งดวงจันทร์บริวาร” จากจำนวนดวงจันทร์ทั้งหมดที่ 145 ดวง
นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงจันทร์เพิ่มอีก 62 ดวงรอบดาวเสาร์ การค้นพบนี้ส่งผลให้จำนวนดวงจันทร์ทั้งหมดของดาวเสาร์มากกว่า 100 ดวง และทำให้ดาวเสาร์กลับมาทวงคืนตำแหน่ง “ราชาแห่งดวงจันทร์บริวาร” จากดาวพฤหัสบดี
| |JWST เผยภาพแถบดาวเคราะห์น้อยรอบดาวฤกษ์ Fomalhaut ได้เป็นครั้งแรก
ดาวสวย ๆ บนท้องฟ้าที่ตาเรามองเห็น อาจมีอะไรซ่อนอยู่มากกว่านั้น ดังเช่นดาวฤกษ์ Fomalhaut แห่งกลุ่มดาวปลาใต้ ที่ล่าสุดกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ ได้เผยให้เห็น “แถบดาวเคราะห์น้อย” ที่ล้อมรอบดาวดวงนี้อยู่
| |น้ำตกบนดวงอาทิตย์
นักถ่ายภาพดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ประหลาดบนดวงอาทิตย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำตก ที่มีความสูงมากกว่า 100,000 กิโลเมตร
| |Supermassive Black Hole มันใหญ่แค่ไหนกันบ้าง ?
NASA ได้ทำวิดีโอจำลองหลุมดำยักษ์กว่า 10 แห่ง เปรียบเทียบขนาดกับระบบสุริยะของเรา หลุมดำที่ได้ชื่อว่าเป็น Supermassive นั้นมันใหญ่แค่ไหนกันแน่ รับชมได้ในวิดีโอนี้เลย
| |ภาพหลุมดำยักษ์ M87* ที่กำลังพ่นอนุภาคพลังงานสูงออกมา
26 เมษายน 2023 หอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรปหรือ ESO เผยแพร่ภาพหลุมดำยักษ์หรือ Supermassive Black Hole ที่ใจกลางกาแล็กซี M87 แสดงให้เห็นทั้งเงาของหลุมดำและลำอนุภาคพลังงานสูงที่หลุมดำปลดปล่อยออกมาในภาพเดียวกัน ซึ่งเป็นภาพในช่วงคลื่นวิทยุ นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถบันทึกภาพทั้งโครงสร้างของหลุมดำและลำอนุภาคพลังงานสูงได้ในคราวเดียวกัน ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจกลไกการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานของหลุมดำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
| |