เมฆลึกลับในกลุ่มดาววัว

        เมฆจาง ๆ นี้ ค้นพบในปี พ.ศ. 2526 โดยดาวเทียม IRAS ที่สำรวจท้องฟ้าทั้งหมดในช่วงคลื่นอินฟราเรด ดำเนินการโดยสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ค้นพบวัตถุใหม่จำนวนมากในช่วงคลื่นแสงที่ตามองไม่เห็น


as20181112 1 01

ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแสดงเนบิวลาขนาดเล็กที่รู้จักในชื่อ IRAS 05437 + 2502
เป็นเนบิวลาที่พวยพุ่งขึ้นมาท่ามกลางดาวสว่างและล้อมรอบด้วยเมฆฝุ่นมืด


        เมฆก้อนนี้อยู่ในกลุ่มดาววัวใกล้เคียงกับระนาบจานฝุ่นก๊าซของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ในบริเวณเล็ก ๆ นี้ ประกอบไปด้วยดาวที่กำลังก่อตัวขึ้น สันนิษฐานว่ารูปทรงที่สะดุดตาของกลุ่มก๊าซนี้เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่รุนแรงจากดาวสว่างที่รายล้อมโดยรอบ

        อย่างไรก็ตามลักษณะรูปทรงคล้ายบูมเมอแรง อาจบอกเล่าเรื่องราวที่น่าทึ่งมากขึ้น การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างดาวฤกษ์อายุมากที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วกับเมฆก๊าซและฝุ่น อาจทำให้เกิดส่วนโค้งที่สว่างและคมชัดกว่าปกติ ดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วเดินทางด้วยความเร็ว 200,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือมากกว่านั้นผ่านเนบิวลา ก็เสี่ยงที่จะถูกขับออกจากกระจุกดาวนี้ได้

      การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้แนวคิดที่จะอธิบายการกำเนิดดาวฤกษ์กับรูปร่างของเนบิวลาหรือมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ก๊าซในเนบิวลาเรืองแสงหรือสะท้อนแสงเป็นรูปทรงที่แตกต่างกัน และมีสาเหตุใดที่ทำให้ดาวเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจนหลุดออกจากกระจุกดาวนี้ได้ 

นั่นสิ!! มันคืออะไร?

  

เรียบเรียงโดย
วทัญญู  แพทย์วงษ์

อ้างอิง
https://www.nasa.gov/image-feature/goddard/2018/hubbles-lucky-observation-of-an-enigmatic-cloud