หลายคนคงเคยสงสัยว่า ทำไมดูดาวต้องฟ้าเปิดเท่านั้น? และ บางครั้งฝนไม่ตกแต่ทำไมฟ้าปิด มองไม่เห็นดวงดาว ?
การที่ “ฟ้าเปิด” เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ หรือเหมาะสำหรับการดูดาวนั้น เป็นเพราะไม่มีเมฆหรือเมฆฝน มาบดบังท้องฟ้าที่เต็มไปดวงดาวสว่างไสว ทำให้สามารถสังเกตวัตถุท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน
กรณี “ฟ้าปิด” คือ เราไม่สามารถสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ได้ด้วยตาเปล่า หรือแม้กระทั้งใช้กล้องโทรทรรศน์ก็ไม่อาจเห็นดาวได้ นั่นเป็นเพราะฝนตก หรือบางครั้งฟ้าไร้ดาวที่มองเห็นนั้นไม่ใช่ท้องฟ้าแต่เป็นเมฆ ที่มีชื่อว่า “อัลโตสเตรตัส (Altostetus)” ปกคลุมท้องฟ้า ซึ่งแม้แต่แสงจันทร์ยังยากจะส่องผ่าน
เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostetus) เป็นเมฆแผ่นหนาสีเทาหรือสีเทาแกมน้ำเงิน ประกอบด้วยหยดน้ำและเกล็ดน้ำแข็งก่อตัวอัดแน่นที่ความสูง 3 – 7.5 กิโลเมตร พร้อมกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนตลอดเวลา มักก่อตัวในช่วงที่มีพายุฝน เมื่อใดที่ท้องฟ้ามืดสนิทแต่กลับมองไม่เห็นดาว หรือบนฟ้ามีแต่เมฆหนาเป็นแผ่นกว้าง มีเพียงแสงอาทิตย์หรือแสงจันทร์ส่องผ่านได้เพียงเล็กน้อย แสดงว่าคุณกำลังมองเมฆอัลโตสเตรตัสอยู่ หากเมฆอัลสโตสเตรตัสกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนตกลงมาได้ ก็มีโอกาสที่ท้องฟ้าจะเปิด มองเห็นดวงดาวได้ แต่ถ้าเมฆอัลโตสเตรตัสไม่สามารถกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนได้ คืนนั้นจะไม่สามารถสังเกตเห็นดวงดาวได้เลย
เรียบเรียง สาวิตรี เดชศรีมนตรี - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.
อ้างอิง https://scied.ucar.edu/imagecontent/altostratus-clouds