Ep. 24 ระบบดาวคู่ อาจไม่ได้ประกอบด้วยดาวฤกษ์เพียงสองดวงโคจรรอบกัน

24 01

หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อระบบดาวคู่ ซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลของระบบ บางครั้งอาจประกอบด้วยดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน หรือแม้กระทั่งหลุมดำ ลำพังแค่ชื่อ ‘ระบบดาวคู่’ อาจฟังดูไม่น่าสนใจมากนัก แต่หลังจากการศึกษาระบบดาวคู่ SDSS J1021+1744 ทำให้พบว่า ‘ระบบดาวคู่’ น่าสนใจมากกว่านั้น
 

ในปี พ.ศ. 2557- 2558 NARIT ใช้กล้องโทรทรรศน์ 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติ ติดตามระบบดาวคู่ SDSS J1021+1744  ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์และดาวแคระขาว พบว่ามีบางอย่างบดบังแสงจากดาวทั้งคู่ เมื่อสืบค้นฐานข้อมูลเก่าพบว่าในปี พ.ศ. 2555 เคยพบปรากฏการณ์เช่นนี้มาแล้ว และหลังจากปี พ.ศ. 2558 ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้หายไป นักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการบังของก้อนแก๊สที่ถูกดึงดูดไว้โดยแรงโน้มถ่วงของดาวทั้งคู่

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2562 ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอีกครั้ง พร้อมข้อมูลบ่งชี้ว่าวัตถุที่บดบังแสงของดาวคู่เป็นของแข็ง มีขนาดเล็กคล้ายดาวเคราะห์น้อย และโคจรรอบดาวทั้งคู่ ในอนาคตหากสามารถยืนยันได้ว่าวัตถุนี้เป็นวัตถุต้นกำเนินดาวเคราะห์ จะเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบวัตถุต้นกำเนินดาวเคราะห์ในระบบดาวคู่ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์และดาวแคระขาว

 

เรียบเรียง : Dr. Puji Irawati นักวิจัยด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของดาวฤกษ์และสสารระหว่างดาวฤกษ์ (Stellar Astrophysics)