เกี่ยวกับ สดร.

คณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 อนุมัติให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รวม 7 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระแรกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 ดังรายนามต่อไปนี้

Picture1

ประธานกรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร. พีรเดช  ทองอำไพ

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
Picture14

กรรมการโดยตำแหน่ง

ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

(ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล)

(1 ตุลาคม 2563 – ปัจจุบัน)

 
Picture4

กรรมการโดยตำแหน่ง

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต)

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
Picture5

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ  ลิมปิจำนงค์

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
Picture6

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

นายธรรมศักดิ์  สัมพันธ์สันติกูล

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
Picture7

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

รองศาสตราจารย์ ดร. พินิติ  รตะนานุกูล

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
Picture8

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

นายมนูญ  สรรค์คุณากร

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
Picture9

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ศาสตราจารย์ ดร. รัตติกร  ยิ้มนิรัญ

(11 ธันวาคม 2562 – ปัจจุบัน)

 
 
Picture12

กรรมการและเลขานุการ

ดร. ศรัณย์  โปษยะจินดา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

(30 มิถุนายน 2560 – ปัจจุบัน)

1. นายธรรมศักดิ์  สัมพันธ์สันติกูล ประธานกรรมการ
2. ศาสตราจารย์ ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ กรรมการ
3. นายพิศาล สร้อยธุหร่ำ กรรมการ
4. นางจินตนา ศิริสุนทร กรรมการ
5. หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ      เลขานุการ

 

หน้าที่และอำนาจ
1. เสนอคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ใช่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ติดตามผลการปฎิบัติงาน และพิจารณาค่าตอบแทนในการสอบบัญชี
2. พิจารณาตัดสินในกรณีฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
3. พิจารณาและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน
4. จัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ในการให้คำแนะนำหรือช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยใช้ค่าใช้จ่ายของสถาบัน
5. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
6. กำกับดูแลเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน สอบทาน และพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอของระบบควบคุมภายใน รวมทั้งเสนอมาตรการการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
7. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการตรวจสอบ แนวทาง และขอบเขตการตรวจสอบภายใน เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รวมทั้งสอบทานรายงานผลการตรวจสอบของหน่วยตรวจสอบภายใน
8. ประเมินผลการตรวจสอบภายใน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของงานตรวจสอบภายใน
9. รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ดำเนินงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติมอบหมาย

 

1. ร้อยตำรวจโท เนิ้ม  พรายมี ประธานอนุกรรมการ
2. นายประวัติ  ภัททกวงศ์ รองประธานอนุกรรมการ
3. นายมหินทร์  สุรดินทร์กูร อนุกรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ พินิติ รตะนานุกูล อนุกรรมการ
5. รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อนุกรรมการ
6. ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ       เลขานุการ
7. เจ้าหน้าที่งานกฎหมาย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ       ผู้ช่วยเลขานุการ

 

หน้าที่และอำนาจ
1. พิจารณากลั่นกรอง ทบทวน แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงยกร่างระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสถาบัน
2. พิจารณาให้ความเห็นและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด บทบัญญัติของกฎหมาย หรือมติของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับสถาบันเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
3. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด บทบัญญัติของกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย
5. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรช้ันนำด้านดาราศาสตร์ ท่ีได้รับการยอมรับในระดับสากล

พันธกิจ

1. ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาด้านดาราศาสตร์

2. สร้างเครือข่ายการวิจัยและวิชาการด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติและนานาชาติกับสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือด้านดาราศาสตร์กับหน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. บริการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์

history 2563

        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิม) ดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 โดยสถาบัน มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในลำดับต้น ๆ ของแผนการจัดตั้ง คือ การวางโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากล เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ รวมถึงรองรับการให้บริการทางด้านดาราศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ของสถาบัน ให้ตรงตามความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ ให้สามารถเข้าถึงการให้บริการได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สถาบันได้ดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยแบ่งเป็น

1. โครงสร้างพื้นฐานด้านอาคารสถานที่สำหรับการให้บริการด้านวิชาการ ประกอบด้วย อาคารหอดูดาว
ที่มีกล้องโทรทรรศน์แบบต่างๆ เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า/อาคารท้องฟ้าจำลองที่มีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน สำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย

astro pic H4    astro pic H3   

 

เปิดให้บริการแล้ว  จำนวน  4  แห่ง

    • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Princess Sirindhorn AstroPark) ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม
      จ.เชียงใหม่ เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2563
    • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ภูมิภาค
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
        (Regional Observatory for Public, Nakhon Ratchasima)
        ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
        เปิดให้บริการในปี 2557
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
        (Regional Observatory for Public, Chachoengsao)
        ตั้งอยู่ที่ ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เปิดให้บริการในปี 2561
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
        (Regional Observatory for Public, Songkhla)
        ตั้งอยู่ที่ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา เปิดให้บริการในปี 2562
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น
        (Regional Observatory for Public, Khon Kaen)
        ตั้งอยู่ที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เปิดให้บริการท้องฟ้าจำลองและกิจกรรมดูดาวในปี 2566 และคาดว่าจะเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2568

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง  จำนวน  1  แห่ง

      1. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา พิษณุโลก (Regional Observatory for Public, Phitsanulok) ตั้งอยู่ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก


2. โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ และอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า เพื่อการค้นคว้า วิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย

เปิดให้บริการแล้ว

[ 1 ] หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ (Thai National Observatory : TNO) ตั้งอยู่ที่ สถานีทวนสัญญาณทีโอที อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ – เปิดให้บริการแล้วในปี 2556 ( โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี )

[ 2 ] เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ (Thai Robotic Telescope Network : TRT)

      • หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี
      • หอดูดาว Gao Mei Gu มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
      • หอดูดาว Sierra Remote มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
      • หอดูดาว SpringBrook นิวเซาว์เวลล์ (NWS) ออสเตรเลีย
      • หอดูดาว La Palma Observatory สเปน
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ( ความร่วมมือระหว่าง สดร. กองทัพอากาศ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม )

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

[ 1 ] หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ( Thai National Radio Astronomy Observatory : TNRO ) ตั้งอยู่ภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่อยู่ระหว่างการติดตั้งและทดสอบระบบรับสัญญาณ ประกอบด้วย

[ 1.1 ] กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร 
[ 1.2 ] อาคารควบคุมกล้องโทรทรรศน์วิทยุ

2538 1

        สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความรู้และความสนพระทัยอย่างลึกซึ้งในศาสตร์และวิทยาการหลายแขนง พระองค์ได้ทรงริเริ่มโครงการในพระราชดำริมากมายหลายโครงการเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์  โครงการเหล่านี้อาจมีธรรมชาติแตกต่างกันบ้างก็เป็นโครงการแบบบูรณาการ และบ้างก็เป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะ ในบรรดาโครงการมากหลายที่เกิดจากพระราชดำริของพระองค์ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดเป็นโครงการในระดับแนวหน้าโครงการหนึ่ง โครงการในพระราชดำริของ"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ได้รับการสานต่อให้ดำเนินการได้โดยรัฐบาลไทยและหน่วยงานต่างๆของรัฐ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

        “ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ” ทรงมีความสนพระทัยอย่างยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของโลก ทรงตระหนักว่าท้องฟ้ากว้างใหญ่ที่ระยิบระยับด้วยแสงจากหมู่ดาวน้อยใหญ่เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์จินตนาการและดึงดูดความสนใจของผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี จึงทรงประทานพระราชดำริว่าดาราศาสตร์น่าจะเป็นเครื่องมืออีกอันหนึ่งที่ใช้นำสังคมของประเทศให้ก้าวสู่ความเป็นสังคมแห่งความรู้ได้

        เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงพระกรุณารับโครงการดำเนินการของสถาบันฯเป็นโครงการในพระราชดำริ 2 โครงการ ได้แก่

        1. โครงการหอดูดาวแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในศุภมงคลวารเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา

        2. โครงการหอดูดาวภูมิภาคเพื่อประชาชน 5 แห่ง

nma home 01

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
จังหวัดนครราชสีมา

pasted image 3

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
ภาคตะวันออก 
จังหวัดฉะเชิงเทรา

ska home
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
ภาคใต้ 
จังหวัดสงขลา

อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 

- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดขอนแก่น
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา พิษณุโลก ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก


        นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริเรื่องความร่วมมือกับองค์กรด้านดาราศาสตร์ในมิตรประเทศอีกหลายประเทศ เช่น หอดูดาวแห่งชาติยูนนาน หอดูดาวเกาเหม่ยกู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน  สถาบันดาราศาสตร์และฟิสิกส์อวกาศเกาหลี ประเทศเกาหลีใต้ หอดูดาว พารานัล และหอดูดาวเซอร์โร โทโลโล อินเทอร์อเมริกันในประเทศสาธารณรัฐชิลี เป็นต้น

        วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งแสดงให้ประจักษ์ด้วยโครงการในพระราชดำริเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาสถานภาพของประเทศให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในวิชาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์

         

          ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

Page 13 of 13