logo ipst mini narit logo s chachoengsao


โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563
ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562
ณ โรงแรมซันไรซ์ ลากูน โฮเทล แอนด์กอล์ฟ
และ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา


>>>>จัดกิจกรรมอบรมไปแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562<<<<

        หลังจากที่ท่านส่งใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1 ณ จ.ฉะเชิงเทรา เรียบร้อยแล้ว ระบบจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมอบรม โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ ทั้งนี้ ท่านจะสามารถใช้รายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อดำเนินการขออนุมัติต้นสังกัด เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมอบรมครูดาราศาสตร์ขั้นต้น ปี 2563 ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา
>> Link หนังสือเชิญเข้าร่วมอบรม <<
>> Link รายชื่อ <<
>> Link กำหนดการ <<


สถานที่จัดกิจกรรมอบรม : โรงแรมซันไรซ์ ลากูน โฮเทล แอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา


สถานที่จัดกิจกรรมดูดาวภาคสังเกตการณ์ : ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา

 

ข้อมูลโรงแรมที่พัก

13988095 1725016307750708 8502459684996093520 o

ข้อมูลโรงแรมที่พัก (ครูดำเนินการเรื่องที่พักเอง และเบิกจ่ายจากต้นสังกัด)
โรงแรมซันไรซ์ ลากูน รีสอร์ท จ.ฉะเชิงเทรา
ติดต่อ : 033 599 541

Website : sunriselagoonhotelandgolf.com

 

2062061 17030311030051350547

โรงแรม T-Vintage
ติดต่อ : 038-541445-6 ต่อ 303, 095-720 2442

Website : https://www.facebook.com/TVintageHotel/

 

6938942 19100210210081731418

โรงแรมนันทรมย์ โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนท์       
ติดต่อ : 087 822 8256

Website : nantharomhotel.com

venue 01 04

โรงแรม T House Bangkhla
ติดต่อ : 095 720 2442
Website : https://th-th.facebook.com/tvintage2648/

venue 01 05

Suklutai Apartment
ติดต่อ : 086 330 7368
Website : https://www.facebook.com/SuklutaiApartment/

 

logo ipst mini narit logo s astropark icon

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563
ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่
ระหว่างวันที่ 17- 19 มกราคม 2563
ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
และ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


>>>>จัดกิจกรรมอบรมไปแล้วเมื่อวันที่ 17 – 19 มกราคม 2563<<<<

        หลังจากที่ท่านส่งใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563 ครั้งที่ 3 ณ จ.เชียงใหม่ เรียบร้อยแล้ว ระบบจะดำเนินการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมอบรม โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ ทั้งนี้ ท่านจะสามารถใช้รายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อดำเนินการขออนุมัติต้นสังกัด เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมอบรมครูดาราศาสตร์ขั้นต้น ปี 2563 ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่
>> Link หนังสือเชิญเข้าร่วมอบรม <<
>> Link รายชื่อ <<
>> Link กำหนดการ <<


สถานที่จัดกิจกรรมอบรม : โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่

 

สถานที่จัดกิจกรรมดูดาวภาคสังเกตการณ์ : ณ หอดูดาว อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร

 

ข้อมูลโรงแรมที่พัก

         

โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่ 
ติดต่อ : 053-112888, 089-6356727
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/greenlakecm

 

โรงแรม 700 ปี เชียงใหม่ (ในสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี)
ติดต่อ : 053-112307, 086-4200559  เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/Hotel700ChiangmaiThailand

      

   อาคารโรงแรม

โรงแรม B2 Black
ติดต่อ : 053-227444  เว็บไซต์ : http://www.บีทู.com/hotel/B2_Black

 

โรงแรมไอบิส สไตล์ เชียงใหม่
ติดต่อ : 053-908888  เว็บไซต์ https://bit.ly/2O2o4Eu

 

โรงแรม V-Ressident
ติดต่อ : 053-226602  เว็บไซต์ : http://www.vresidencechiangmai.com

1911152 10152896112824968 7188785695368561688 o 10271442 10152415819256855 3609281229267917582 o 1375132 257964087717586 1247733310 n 


การรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม

        ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าสมัครและค่าลงทะเบียนโดยดำเนินการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมตามขั้นตอน ดังนี้

1. ศึกษารายละเอียด และรอบการจัดกิจกรรมอบรมครูขั้นต้น ประจำปี 2563
2. ดาวน์โหลด “แบบแสดงความเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม”พร้อมทั้งให้ผู้บริหารลงนามเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมอบรม ลิงค์เอกสาร http://bit.ly/2NsmJDC
3.กรอกใบสมัครผ่านระบบออนไลน์บน Google Formsโดยเลือกครั้งที่สมัครเข้าร่วมอบรม ดังนี้

ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้สมัครเต็มจำนวน
ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา ผู้สมัครเต็มจำนวน
ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้สมัครเต็มจำนวน
ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดอุดรธานี ผู้สมัครเต็มจำนวน
ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้สมัครเต็มจำนวน

3.1 เลือกครั้ง และสถานที่ ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมอบรม ( เลือกสมัครได้ท่านละ 1 ที่ )
3.2 กรอกรายละเอียดของผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม พร้อมตอบคำถามประกอบการสมัคร
3.3 แนบเอกสาร “แบบแสดงความเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมอบรม”ที่ลงนามแล้วรับรองแล้ว
3.4 แนบเอกสาร “สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัคร”ที่ลงนามสำนักถูกต้องแล้ว
3.5 ตรวจสอบความถูกต้อง และดำเนินการส่งใบสมัครบนระบบออนไลน์ บน Google Forms
4. ผู้สมัครจะได้รับ e-mail ตอบกลับผลการรับสมัคร และสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครได้ที่ เว็ปไซด์อบรมครูในแต่ละรอบ ที่ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/basic

กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม

ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่   29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562
ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา     ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2562
ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17 – 19 มกราคม 2563
ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 26 – 28 มีนาคม 2563 (เลื่อน)
ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2563 (เลื่อน)


กำหนดการรับสมัคร

ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่   28 พฤศจิกายน 2562
ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา     รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2562
ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 10 มกราคม 2563
ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดอุดรธานี รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2563
ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563

จำนวนรับสมัคร

        โครงการอบรมครูเชิงปฏิรูปการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563 จัดกิจกรรมอบรมทั้งสิ้น 5 ครั้ง รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม ครั้งละ 120 คนโดยถือลำดับการส่งใบสมัครก่อนหลังเป็นสำคัญ

        การสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมจะถือว่าสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้เข้าอบรมมีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมในแต่ละครั้ง โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมและสถานที่จัดกิจกรรมอบรมได้ที่ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/basic หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 053-121268-9 ต่อ 305 (ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์)

หมายเหตุ

  1. ผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม สามารถเลือกกิจกรรมอบรมในแต่ละรอบได้ตามที่ท่านสะดวกเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมอบรม
  2. หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้ โปรดแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงวันอบรม อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ( เพื่อดำเนินการด้านการจัดอบรมและไม่เป็นการจำกัดสิทธิ์ ของผู้เข้าอบรมท่านอื่น )

หนังสือประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการ
แบบแสดงความเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม
ตัวอย่างใบสมัคร

       ในการจัดกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาตร์ขั้นต้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ครูเกิดทักษะการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์เกิดการเรียนรู้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เน้นให้มีการจัดอบรมสัมนาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ

กิจกรรมการอบรมภาคบรรยายเรื่อง "รู้จัก ลม ฟ้า อากาศ"

โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (นักวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)

ศึกษารูปแบบ ประเภท และลักษณะการเกิดของเมฆแต่ละชนิด รูปแบบการก่อตัว การเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลก การเกิดรุ้งกินน้ำ การเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด พระจันทร์ทรงกลด รวมไปถึงกระบวนการเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า

 

บรรยายเรื่อง "การดูดาวเบื้องต้นและการเตรียมตัวสำหรับดูดาว" 

ศึกษากระบวนการวางแผนสำหรับดูดาวตรวจสอบ ลม ฟ้า อากาศ ฤดูกาลสถานที่สำหรับการสังเกตการณ์ เวลาขึ้น-ตกของวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ เช่น กาแลกซี เนบิวลา กระจุกดาว ดาวเคราะห์ ฯลฯ รวมไปถึงวันเวลาการเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ ตลอดจนการเตรียมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับวัตถุท้องฟ้าที่จะสังเกตการณ์  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม

 

 บรรยายเรื่อง "ระบบพิกัดท้องฟ้า"

ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทรงกลมท้องฟ้า ระบบพิกัดทางดาราศาสตร์ ระบบฐานกล้องโทรทรรศน์ ระบบเวลาทางดาราศาสตร์ ลักษณะการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ ระบุตำแหน่งของจุดอีควินอกซ์จุดโซสติส การระบุขอบเขตกลุ่มดาวกลุ่มดาวจักราศี การเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนต่อได้

 

บรรยายเรื่อง "หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์"

ศึกษาประวัติและความเป็นมาเบื้องต้นของกล้องโทรทรรศน์ เข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของกล้องโทรทรรศน์ ทั้งกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง และกล้องโทรทรรศน์แบบผสม รวมไปถึงวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องทางทัศนศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากเลนส์และทัศนูปกรณ์ การคำนวนหาระยะโฟกัสของกล้องโทรทรรศน์ การหากำลังขยาย การหามุมมองของภาพ กำลังรวมแสง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้สัมผัสกับวัสดุที่เป็นส่วนประกอบในการสร้างกล้องโทรทรรศน์

 

กิจกรรมอบรมภาคปฏิบัติกิจกรรม "ระบบพิกัดท้องฟ้า"

 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลการสังเกต การวิเคราะห์การอภิปรายและสรุปผลเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนต่อได้ รวมทั้งได้ประดิษฐ์เครื่องวัดมุมดาวอย่างง่าย

 

กิจกรรม "หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์"

 เรียนรู้วิธีการสร้ากล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย การนำไปใช้ประโยชน์ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า รวมไปถึงการเลือกซื้อวัสดุที่เหมาะสมแก่การสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด เรียนรู้และฝึกฝนการใช้งานกล้องโทรทรรศน์จากอุปกรณ์จริง

 

กิจกรรมประกอบการสอนและสื่อการสอนดาราศาสตร์

 แนะนำและสาธิตกิจกรรมประกอบการสอนและสื่อการสอนดาราศาสตร์อย่างง่ายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน พร้อมทั้งอภิปรายถึงวิธีการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนในแต่ละเนื้อหาให้เหมาะสม มีทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 ดีถีของดวงจันทร์

กิจกรรมที่ 2 การหมุนของทรงกลมท้องฟ้า

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างดาวหาง  

กิจกรรมที่ 4 แบบจำลองระบบสุริยะ

 

การใช้งานอุปกรณ์และสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้งานอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ โดยการแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ดังนี้

ฐานที่ 1 แผนที่ดาว

ฐานที่ 2 กล้องสองตา

ฐานที่ 3 การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์

ฐานที่ 4 กล้องโทรทรรศน์

 

กิจกรรม "ซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์"

 ศึกษาและใช้งานโปรแกรม Stellarium ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จำลองท้องฟ้าแบบ3 มิติแสดงกลุ่มดาวเสมือนท้องฟ้าจริงจำลองตำแหน่งดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดาวเคราะห์ดาวฤกษ์และวัตถุท้องฟ้าต่างๆแสดงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เช่นสุริยุปราคาจันทรุปราคาฝนดาวตกโปรแกรม Celestia ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แสดงข้อมูลของอวกาศในรูปแบบ3 มิติช่วยให้สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆในอวกาศมีมุมมองคล้ายกับการนั่งยานอวกาศไปนอกโลกและโปรแกรม Mintaka เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงภาพของดาวและวัตถุท้องฟ้าในรูปแบบ3D

 

กิจกรรมอบรมภาคสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติการสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงด้วยตาเปล่า เรียนรู้กลุ่มดาวและการบอกทิศ จากกลุ่มดาว การบอกตำแหน่งดาวเหนือ นิทานเกี่ยวกับดวงดาว การใช้กล้องสองตาเพื่อสังเกตการณ์ วัตถุท้องฟ้าจริง เรียนรู้การปรับโฟกัสให้เหมาะสม การหาวัตถุท้องฟ้าด้วยกล้องสองตา แสดงมุมมอง ของภาพด้วยกล้องสองตาที่หลากหลายขนาด เรียนรู้การใช้กล้องโทรทรรศน์ เพื่อค้นหาและสังเกตการณ์ วัตถุท้องฟ้า

narit logo ipst mini


กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ( สสวท. )


วันที่หนึ่ง  
8.00 - 9.00 ลงทะเบียน
9.00 - 9.30 ทดสอบก่อนฝึกอบรม
9.30 - 10.30 พิธีเปิดกิจกรรมอบรม แนะนำสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน )
โดย เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ( สดร. )
10:30 – 11:00 พักรับประทานอาหารว่าง
11:00 – 12:00  บรรยายเรื่อง “การดูดาวเบื้องต้นและการเตรียมตัวสำหรับดูดาว” 
โดย เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ( สดร. )
12:00 – 13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 บรรยายและกิจกรรม เรื่อง “รู้จัก ลม ฟ้า อากาศและก้อนเมฆ” โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี MTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. )
15:00 – 15:30 พักรับประทานอาหารว่าง
15:30 – 17:30 บรรยายเรื่อง “ทรงกลมท้องฟ้าและระบบพิกัดท้องฟ้า” 
โดย เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ( สดร. )
17:30 – 18:00 พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 – 19:00 รับประทานอาหารเย็น เตรียมตัว/เดินทางไปยังสถานที่จัดกิจกรรมภาคสังเกตการณ์
19:00 – 20:30                                    กิจกรรมภาคสังเกตการณ์“การสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงเบื้องต้น”- การสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยตาเปล่ากล้องสองตา และกล้องโทรทรรศน์ 
โดย ทีมวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( สดร. )

วันที่สอง
 

8:30 – 9:00

จัดกลุ่มกิจกรรม/ชี้แจงการเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้

9:00 – 10:20

กิจกรรมฐานการเรียนรู้เรื่อง “กิจกรรมและสื่อการสอนดาราศาสตร์”
        กิจกรรมที่ 1 : เฟสของดวงจันทร์                                     
        กิจกรรมที่ 2 : การเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า
        กิจกรรมที่ 3 : การสร้างดาวหาง                                     
        กิจกรรมที่ 4 : แบบจำลองระบบสุริยะ                                     
        โดย ทีมวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( สดร. )

10:20 – 10:40

พักรับประทานอาหารว่าง

10:40 – 12:00

กิจกรรมฐานการเรียนรู้เรื่อง “กิจกรรมและสื่อการสอนดาราศาสตร์” ( ต่อ )
        กิจกรรมที่ 1 : เฟสของดวงจันทร์                                     
        กิจกรรมที่ 2 : การเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า
        กิจกรรมที่ 3 : การสร้างดาวหาง                                     
        กิจกรรมที่ 4 : แบบจำลองระบบสุริยะ                                     
        โดย ทีมวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( สดร. )
12:00 – 13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30

การบรรยายและกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย"
โดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ( สดร. )

14:30 – 15:00 พักรับประทานอาหารว่าง

15:00 – 17:30

กิจกรรมดาราศาสตร์ภาคปฏิบัติ
        กิจกรรมที่ 1 : การใช้งานแผนที่ดาว                                     
        กิจกรรมที่ 2 : การใช้งานกล้องสองตา
        กิจกรรมที่ 3 : การติดตั้งและใช้งานกล้องโทรทรรศน์
        กิจกรรมที่ 4 : การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
        โดย ทีมวิทยากรสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( สดร. )
17:30 – 18:00 พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 – 19:00 รับประทานอาหารเย็น เตรียมตัว/เดินทางไปยังสถานที่จัดกิจกรรมภาคสังเกตการณ์
19:00 – 20:30 กิจกรรมภาคสังเกตการณ์“ฝึกปฏิบัติการสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริง”
        - การฝึกปฏิบัติและทดสอบการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์
        โดย ทีมวิทยากรสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( สดร. )

วันที่สาม
8:30 – 9:00 ติดตั้งซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์"
9:00 – 10:00 บรรยายและกิจกรรมเรื่อง “ซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์" 
โดย เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ( สดร. )
10:00 – 10:20 พักรับประทานอาหารว่าง
10:20 – 12:00 บรรยายและกิจกรรมเรื่อง “ซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์" ( ต่อ )
โดย เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ( สดร. )
12:00 – 13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 13:30 ทดสอบหลังฝึกอบรม
13:30 – 15:30 สรุปการจัดกิจกรรม/มอบประกาศนียบัตร/พิธีปิดการฝึกอบรม

หมายเหตุ

*      กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
**     ครูหรือโรงเรียนที่มีกล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา หรืออุปกรณ์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์
       สามารถนำอุปกรณ์มาเข้าร่วมกิจกรรมภาคปฏิบัติ และกิจกรรมสังเกตการณ์ในภาคกลางคืนได้
***    กรุณานำคอมพิวเตอร์แบบพกพา(Notebook Computer) และอุปกรณ์เก็บข้อมูลผ่าน USB
       สำหรับกิจกรรมการบรรยายเรื่อง “ซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์”
****   ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมภาคสังเกตการณ์ตามข้อกำหนดการเข้าร่วมอบรม

ข่าวสาร

-  9 มี.ค. 2563 / ประกาศ เลื่อนการจัดอบรมครูดาราศาสตร์ขั้นตั้น ประจำปี 2563 ครั้งที่ 4 และ ครั้งที่ 5  >> คลิกที่นี่

-  1 พ.ย. 2562 / เปิดรับสมัคร โครรงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563

-  1 พ.ย. 2562 / ยินดีต้อนรับสู่ “โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2563”


กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม

วันที่จัดกิจกรรมอบรม
สถานที่จัดกิจกรรมอบรม
 
ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562 โรงแรมซันไรซ์ ลากูน ฉะเชิงเทรา
ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา 20 – 22 ธันวาคม 2562 สุรสัมมนาคาร ม.เทคโนโลยีสุรนารี
ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ 17 – 19 มกราคม 2563 โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่
ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดอุดรธานี 26 – 28 มีนาคม 2563 (เลื่อน) โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ อุดรธานี
ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 22 – 24 เมษายน 2563 (เลื่อน) โรงแรมบรรจงบุรี สุราษฎร์ธานี

กำหนดการรับสมัคร

ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562
ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2562
ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 10 มกราคม 2563
ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดอุดรธานี รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2563
ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563      


การเข้าร่วมกิจกรรมอบรม

  1. ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมทุกท่านสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน ยกเว้น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่าเดินทาง ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเบิกจ่าย จากต้นสังกัด

  2. ผู้เข้าร่วมอบรม จะต้องมีชั่วโมงเวลาเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวม ทั้งภาคบรรยาย ภาคปฏิบัติ และภาคสังเกตการณ์ (ในช่วงกลางคืน) ไม่น้อยกว่าชั่วโมงที่กำหนดไว้ ตามข้อกำหนดหลักสูตรการอบรม

  3. ครู หรือโรงเรียน ที่มีกล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา หรืออุปกรณ์สังเกตการณ์ สามารถนำมาร่วมกิจกรรมภาคสังเกตการณ์ และกิจกรรมภาคปฏิบัติได้

  4. กรุณานำคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Computer Notebook) และอุปกรณ์เก็บข้อมูลผ่าน USB มาใช้ระหว่างร่วมกิจกรรมอบรมด้วย เนื่องจากเป็นกิจกรรมการใช้งานซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์


หมายเหตุ

  1. ผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม สามารถเลือกกิจกรรมอบรมในแต่ละรอบได้ตามที่ท่านสะดวกเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมอบรม

  2. หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้   โปรดแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงวันอบรม อย่างน้อย 1 สัปดาห์ (เพื่อดำเนินการด้านการจัดอบรมและไม่เป็นการจำกัดสิทธิ์ ของผู้เข้าอบรมท่านอื่น)

Page 2 of 2