ซอฟต์แวร์ที่ทำขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ TRT เวอร์ชัน 3 ทำขึ้นเพื่อเป็นตัวทดสอบคำสั่งการควบคุมกล้องโทรทรรศน์ 0.7 เมตร แทนโปรแกรมเดิมที่ใช้อยู่ โดยโปรแกรมที่ทำขึ้นนี้มีการเพิ่มแผนที่ดาวและตารางดาว ที่สามารถบอกได้ว่ามีดาวดวงไหนบ้างที่อยู่เหนือเส้นขอบฟ้าขึ้นมา ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานอย่าง
เช่น Narit Public Night ที่ปัจจุบันจะต้องค้นหาว่าวัตถุท้องฟ้าอะไรบ้างที่กำลังขึ้นหรือสามารถติดตามวัตถุนั้นได้ไหม ผ่าน Catalog ของโปรแกรมเดิม ซึ่งต้องใช้เวลานานในการค้นหา
รูป โปรแกรมควบคุมกล้องโทรทรรศน์ 0.7 เมตร
นอกจากโปรแกรมจะมีการเพิ่มแผนที่ดาวแล้ว โปรแกรมยังมีการเพิ่มการติดตามวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ เช่น Asteroid , Comet และ Satellite ซึ่งจากโปรแกรมเดิมจะมีแค่ Bright Star, Messier และ Solar System
รูป โหมดการติดตามดาวหาง
รูป โหมดการติดตามดาวเคระห์น้อย
รูป โหมดการติดตามดาวเทียม ประเภท LEO ( Low Earth Orbit )
รูป โหมดการติดตามดาวเทียม ประเภท MEO ( Medium Earth Orbit )
รูป โหมดการติดตามดาวเทียม ประเภท HEO ( High Earth Orbit )
รูป โหมดการติดตามดาวเทียม ประเภท GPS
รูป โหมดการติดตามดาวเทียม ประเภท Geostationary
รูป ภาพถ่ายดาวหาง ชื่อ C/2018 W2 ( Africano )
นอกจากนี้ยังได้ใช้โปรแกรมควบคุมกล้องโทรทรรศน์ 0.7 เมตร ที่หอดูดาว Astro Park ติดตาม สถานีอวกาศนานาชาติ ที่อยู่ในวงโคจรระดับ LEO (Low Earth Orbit) ความสูงประมาณ 400 กิโลเมตรจากพื้นดิน มีความเร็วเฉลี่ยที่ 7,706 เมตรต่อวินาที
รูป ภาพถ่ายสถานีอวกาศนานาชาติ ถ่ายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562
รูป กล้องโทรทรรศน์ 0.7 เมตร ที่หอดูดาว Astro Park
พัฒนาโดย : กฤษฎา ปาลี
วิศวกร , งานพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรม