ซึ่งในขณะนี้นอกจากจะมีไซต์การติดตั้งที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์แล้ว ยังมีการติดตั้งที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อีกหนึ่งแห่ง
ห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์
งานติดตั้งชุดวัดคุณภาพท้องฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์ Weather Station ชุดสำรวจท้องฟ้าเวลากลางคืน ( Dark Sky Observed )
ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
ในงานทางด้านดาราศาสตร์ นอกจากกล้องดูดาวแล้ว ยังมีอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ สำหรับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ อย่างเช่น CCD เป็นต้นฯ ทางศูนย์ปฏิบัติการยังมีหน้าที่ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน
ซ่อมแซมกล้องโทรทัศน์ขนาดเล็ก
เนื่องด้วยทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง จึงมีเหตุการณ์ที่กล้องดูดาวเกิดความเสียหายได้ ซึ่งในประเทศไทยแล้วยังหาแหล่งสำหรับการซ่อมแซมกล้องดูดาวได้ยาก ทางฝ่ายศูนย์ปฏิบัติการฯ จึงมีอีกหนึ่งหน้าที่ในการซ่อมบำรุงกล้องดูดาวขนาดเล็กต่าง ๆ
เปลี่ยนเมนบอร์ดสำหรับเครื่องคุมกล้องและโดม ของกล้อง 2.4 เมตร
กล้องโทรทัศน์ขนาด 2.4 เมตร ได้มีการใช้เพื่องานวิจัยทางดาราศาสตร์มานานหลายปี เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับระบบการทำงานต่าง ๆ ของกล้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น เมนบอร์ด, ซีพียู, แรม เป็นต้นฯ เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานกับกล้อง 2.4 เมตรนั้น จะมีด้วยกัน 2 เครื่องหลัก ๆ คือ
TRT Queue Visualization
พัฒนาและออกแบบระบบการแสดงผลการทำงานของข่ายกล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติ โดยระบบจะแสดงแผนภาพการทำงานของระบบอย่างละเอียด เพื่อสามารถตรวจสอบสถานะของการทำงานของระบบควบคุม ช่วยให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างง่ายดาย รวมถึงผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการทำงานของงานวิจัยที่ได้เพิ่มลงไปในระบบได้อีกด้วย
TRT System Report
พัฒนาและออกแบบระบบการรายงานผลการใช้งานของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์แบบโรโบติก เก็บข้อมูลและแสดงผลทางสถิติการใช้งานกล้องทั้งหมด เพื่อใช้ในการดำเนินการวัดผล และเป็นข้อมูลช่วยในการจัดสรรบทความที่ขอเข้าใช้งาน โดยสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ ผ่านทางเว็บเบราเซอร์ ซึ่งระบบจะนำเสนอแผนภาพข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย
Thai Robotic Telescope (TRT) Web Application
พัฒนาและออกแบบระบบการเข้าใช้งานเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์แบบโรโบติก เพื่อให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย รวมทั้งประชาชนที่มีสนใจในดาราศาสตร์ ได้มีโอกาสได้ใช้กล้องโทรทรรศน์จากโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งที่บ้านของตนเอง สำหรับการศึกษา การวิจัย หรือแม้กระทั่งการใช้สำหรับสร้างแรงบัลดาลใจให้เยาชนรักในวิชาวิทยาศาสตร์
TNO Telescope Control System Interface
พัฒนาและออกแบบระบบส่วนติดต่อผู้ใช้กับระบบ เพื่อรองรับการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบ ตลอดจนนำเสนอสารสนเทศกลับมายังผู้ใช้ โดยออกแบบให้มีความง่ายต่อการใช้งาน มีภาพลักษณ์ที่สวยงาม เช่น การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และสร้างแรงบัลดาลใจให้กับผู้เข้าเยี่ยมชม รวมถึงพัฒนาระบบต่างๆที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการใช้งานกล้อง
Motion Control Algorithm
เป็นงานการออกแบบฟังก์ชั่นสำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของมอเตอร์ โดยการใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการสร้างค่าการควบคุม ซึ่ง Motion Control Algorithm นี้จะสามารถนำไปใช้งานกับทุกอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนที่ได้ และนอกจากนั้นยังสามารถส่งค่าการควบคุมจาก Sensors อื่น ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมได้อีกด้วย