ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสเป็นดาวเคราะห์น้อยที่นักดาราศาสตร์จับตามอง เนื่องจากเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อยสามดวงที่มีโอกาสพุ่งชุนโลกในอนาคตอีกหนึ่งร้อยปี แต่ไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้เปิดเผยว่า วงโคจรของอะโฟฟิสมีความเปลี่ยนแปลงและอาจพุ่งชนโลกในอีก 48 ปี ประมาณวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2611

as20201030 01

ภาพดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิส (ในวงกลม) กำลังเคลื่อนตัดผ่านหมู่ดาวฤกษ์ (ภาพจาก UH/IA)

 

Dave Tholen นักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์ (Institute for Astronomy) ของมหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมากว่า 16 ปี ได้อธิบายถึงผลการสำรวจล่าสุดว่า การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเกิดจากการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์เรียกว่า   ส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนวงโคจรของอะโพฟิสจากที่คำนวณไว้ปีละ 170 เมตร ซึ่งเพียงพอที่จะมีความเสี่ยงต่อการพุ่งชนโลกในปี พ.ศ. 2611 ปัจจุบันโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดตาม Sentry Risk Table ขององค์การนาซาคือ 1 ใน 150,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.00067

ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยังติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสอย่างต่อเนื่อง ใช้ข้อมูลล่าสุดและคำนวณอย่างระมัดระวัง ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ซูบารุในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ช่วยให้วัดตำแหน่งของอะโพฟิสได้อย่างแม่นยำ และสามารถประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสคือ 370 เมตร การเข้าใกล้โลกมากที่สุด ครั้งถัดไป คือวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572  ซึ่งอาจทำให้สามารถมองเห็นดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้ารอการเข้าใกล้ครั้งนี้เพราะเป็นโอกาสที่จะได้ข้อมูลของวงโคจรที่แม่นยำ ผลของแรงโน้มถ่วงและแสงอาทิตย์ที่มีผลกับวงโคจรของอะโฟฟิส

ดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยหอดูดาวแห่งชาติคิตพีค (Kitt Peak National Observatory) ถ้าการพุ่งชนเกิดขึ้นจะทำให้เกิดแรงระเบิดที่เทียบเท่ากับระเบิด TNT จำนวน 880 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นหายนะของโลกได้

 

เรียบเรียง : สิทธิพร เดือนตะคุ - เจ้าหน้าทีสารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.

อ้างอิง :

  1. https://www.hawaii.edu/news/2020/10/26/new-massive-asteroid-findings/
  2. https://cneos.jpl.nasa.gov/sentry/
  3. https://gizmodo.com/asteroid-apophis-remains-a-threat-to-hit-earth-in-2068-1845496002
  4. https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-8886301/Asteroid-named-God-Chaos-gaining-speed-travels-Earth.html?ito=social-facebook&fbclid=IwAR0FYEVvdhM6o9mW8niqcbTpu2yr-rN_srLJDaZ7eG9QZvPUH8zkBnQR0PY

 

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 10929