วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลาประมาณ 21:40 น. ตามเวลาประเทศไทย ยาน VSS Unity นำ Richard Branson มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Virgin Group พร้อมนักบินและลูกเรืออีก 5 คน ขึ้นสู่อวกาศ แล้วร่อนกลับลงมาสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย เบิกทางสู่ธุรกิจเที่ยวบินอวกาศเพื่อการท่องเที่ยว

as20210729 3 01

https://images.ctfassets.net/rxqefefl3t5b/7BpUvwvBo7Zkt05zqlsp5W/a16ee58db22a42dfc9d58fce7044cc8f/cdef361b-b826-4b95-b99c-de49e34ce509.jpeg?fl=progressive&q=80

 

Virgin Galactic บริษัทการบินอวกาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดย Richard Branson มีจุดประสงค์เพื่อให้บริการเที่ยวบินสู่อวกาศสำหรับนักท่องเที่ยว ใช้เวลากว่า 17 ปี ในการพัฒนาเทคโนโลยีจนกระทั่งเที่ยวบินแรกประสบความสำเร็จเมื่อคืนที่ผ่านมา

 

as20210729 3 02

ภาพยาน VSS Unity กำลังแยกตัวออกจากยาน VMS Eve ในเที่ยวบินทดสอบเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564

https://ichef.bbci.co.uk/news/976/cpsprodpb/9906/production/_119347193_068222997.jpg

 

เที่ยวบินนี้มียานอวกาศ 2 ส่วนประกอบกัน ได้แก่ VMS Eve ทำหน้าที่คล้ายกับยานแม่ และ VSS Unity เป็นยานลูกที่บรรทุกลูกเรือทั้ง 6 คน เริ่มต้น VMS Eve จะทำหน้าที่ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าจากสนามบิน Spaceport America รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งไปถึงระดับความสูงประมาณ 14 กิโลเมตร VSS Unity จึงแยกตัวออกมา เครื่องยนต์จรวดทำงานเต็มกำลัง เร่งให้ยานมีอัตราเร็วสูงถึง 3,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไต่ระดับไปสู่ห้วงอวกาศที่ระดับความสูง 86 กิโลเมตร แล้วร่อนกลับลงมาสู่พื้นโลกได้สำเร็จ

 

17 ปีที่รอคอยของ CEO วัย 70 ปี

 

as20210729 3 03

https://images.ctfassets.net/rxqefefl3t5b/24mT0ARP5lTEv47XrYWrpj/1acc2bc1bc054baf238be63787e06ed9/f9ff9d56-eebd-401a-a4c5-bf641e11f46e.jpeg?fl=progressive&q=80

 

“ครั้งหนึ่งผมเคยเป็นเด็กที่มีความฝันและเฝ้ามองดวงดาวบนท้องฟ้า แต่ตอนนี้ผมเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่บนยานอวกาศแล้วมองกลับมาที่โลกอันงดงามของพวกเรา  ฝากถึงหนุ่มสาวเจเนอเรชันถัดไป ถ้าตอนนี้เราทำได้แล้วลองจินตนาการดูว่าพวกคุณจะทำอะไรได้อีก” Richard Branson กล่าวขณะที่อยู่ในอวกาศก่อนที่จะปลดเข็มขัดนิรภัยเพื่อไปสนุกกับสภาวะไร้น้ำหนักพร้อมกับลูกเรือคนอื่น ๆ

อย่างไรก็ดี Virgin Galactic มีแผนจะทดสอบเที่ยวบินอีก 2 ครั้ง ก่อนจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบในปีหน้า โดยขณะนี้มีผู้จองตั๋วแล้วเป็นจำนวนกว่า 600 ที่นั่ง  สำหรับค่าตั๋วโดยสาร 1 ที่นั่งมีมูลค่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,155,000 บาท

 

อ้างอิง : https://www.virgin.com/about-virgin/latest/virgin-galactic-successfully-completes-first-fully-crewed-spaceflight

 

เรียบเรียง : ธนกร อังค์วัฒนะ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

 

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 4599