ในภาพคือ UGC 2369 เป็นกาแล็กซีคู่ที่มีแรงโน้มถ่วงร่วมกัน มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ทั้งสองกาแล็กซีเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แก๊สและฝุ่นที่ถ่ายโอนระหว่างสองกาแล็กซีทำให้เกิดลวดลายคล้ายสะพานเชื่อมต่อกัน

as20191021 3 01

https://www.nasa.gov/sites/default/files/thumbnails/image/potw1931a.jpg

        การถ่ายโอนมวลสารระหว่างกาแล็กซี เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) มีปฏิสัมพันธ์กับกาแล็กซีแคระ (Dwarf Galaxies) ที่อยู่ใกล้เคียงและมีขนาดเล็กกว่า แต่เหตุการณ์สำคัญแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 พันล้านปี

        และในอนาคตอีก 4 พันล้านปีข้างหน้าจะเกิดการชนกันระหว่าง กาแล็กซีทางช้างเผือก กับกาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda) คาดว่ากาแล็กซีทั้งสองจะรวมตัวกัน เกิดเป็นกาแล็กซีที่เรียกว่า มิลโคเมดา (Milkomeda)

 

เรียบเรียง : กฤษดา รุจิรานุกูล - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

อ้างอิงhttps://www.nasa.gov/image-feature/goddard/2019/hubble-catches-2-galaxies-at-play

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 6577