ภาพถ่ายดาราศาสตร์ ทุก ๆ ประเภท ที่เผยแพร่อยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค เอกสารวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของนักดาราศาสตร์ นักถ่ายภาพดาราศาสตร์มืออาชีพหรือนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ถ้าเรามองมันและพิจารณาอย่างลึกซึ้ง เราจะสามารถรับรู้ได้ว่า ภาพเหล่านั้นจะต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะ

ความทุ่มเทและความเข้าในวิทยาศาสตร์ของการถ่ายภาพของเจ้าของผลงานเป็นอย่างดี และยิ่งไปกว่านั้นเราจะรับรู้ได้ถึงขีดความสามารถของนักถ่ายภาพที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ และที่สำคัญเทคนิคในการเก็บข้อมูลและประมวลผลภาพจะพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ หากบุคคลเหล่านี้มารวมตัวกัน ร่วมกันแชร์ประสบการณ์แก่กัน ดังเช่นคอร์สอบรม Advanced Imaging Conference (AIC) ดังภาพ

aic banner 2
ภาพแบรนด์เนอร์ โครงการสัมมนาการถ่ายภาพขั้นสูง  Advanced Imaging Conference (AIC) 

โดย: skyandtelescope

เมื่อวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2562  เป็นการสัมนาอบรมการถ่ายภาพดาราศาสตร์ขั้นสูง เอไอซี (AIC) เกิดขึ้นที่ศูนย์ประชุมแซนโฮเซ (San Jose) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา งานสัมนาอบรมนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากหลาย ๆ หน่วยงาน โดยมีนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงจากหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นเกือบ 500 คน และร่วมแชร์ประสบการณ์ด้านการถ่ายภาพด้านการถ่ายภาพ อาทิ เทคนิคการเก็บข้อมูล เทคนิคการประมวลผลภาพด้วยโปรแกรมประมวลผลที่ทันสมัย เป็นต้น 

THancock presenting

ภาพบรรยากาศภายในห้องประชุมขณะที่มีการสาธิตวิธีการประมวลผลภาพถ่าย
โดย เทอร์รี่ แฮนค็อค (Terry Hancock) ประจำหอดูดาวแกรนด์เมซา (Grand Mesa Observatory)

การเข้าร่วมประชุมสัมนาในงานเอไอซี (AIC) นี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีโอกาสได้พบกับนักถ่ายภาพฝีมือระดับพระกาฬหลาย ๆ คน ที่มีผลงานแสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องในสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค อาทิ  Bernal Andreo, Adam Block, Ron Brecher, และ Kerry-Ann ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ซักถามแบบล้วงลึกถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายภาพและประมวลผลภาพ 

pasted

งานในครั้งนี้นอกจากจะเป็นศูนย์รวมนักถ่ายภาพดาราศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งแสดงสินค้าอุปกรณ์ดาราศาสตร์ครั้งใหญ่ของบริษัทผู้ผลิตที่แสดงสินค้าและเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ ซีซีดี และฐานตามดาวรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก พร้อมกับการสาธิตวิธีการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น  รเหมาะสมสำหรับนักถ่ายภาพมือสมัครเล่นและมืออาชีพที่จับจ่ายซื้อสินค้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ภายในงาน

Bisque Apollo 270x360

ภาพแสดงฐานตามดาว ของ Stephen Bisque พร้อมระบบควบคุมและการสาธิตการใช้งาน
ผ่านโปรแกรมควบคุม Bisque  

ทั้งนี้ทางผู้จัดงานได้เชิญศาตราจารย์ Ann Zabludoff นักดาราศาสตร์ด้านจักรวาลวิทยาจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา มากล่าวสุนทรพจน์เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมอบรมทำงานร่วมกับหอดูดาวและนักดาราศาสตร์มืออาชีพ เพื่อร่วมกันเก็บข้อมูลดาราศาสตร์ในเชิงลึกขึ้น นอกจากนั้น Ken Crawford ประธานของงานได้มอบของรางวัล Hubble Award ให้กับนักถ่ายภาพดาราศาสตร์ R. Jay GaBany ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานภาพถ่ายกาแล็กซียุคเริ่มแรกและสายธารกาแล็กซีได้อย่างสวยงามและมีรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน

Hubble Award 2019

ภาพการรับมอบรางวัล Hubble Award โดย  Ken Crawford ประธานของงาน AIC (บุคคลทางซ้าย)
ให้กับนักถ่ายภาพดาราศาสตร์ R. Jay GaBany  (บุคคลทางขวา)

และนอกจากรางวัล Hubble Award แล้ว ทางทีมผู้จัดงานยังมีของรางวัลเป็นฐานตามดาว L-350 Direct Drive Mount ประสิทธิภาพสูงมอบให้แก่ผู้โชคดีที่เข้าร่วมการอบรมจำนวน 1 ชุด โดยผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ไปครอบครองเป็นนักถ่ายภาพชาวอินเดียชื่อว่า Arora Deepanshu เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงานการถ่ายภาพต่อไป และแน่นอนว่าทางผู้จัดงานไม่สามารถมอบรางวัลพิเศษให้กับผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนได้ แต่รางวัลใหญ่ที่สุดของการงานนี้คงจะเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมอบรมได้พบปะ พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเปลี่ยนเทคนิคการถ่ายภาพเพื่อกลับไปพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ก็มีการส่งเจ้าหน้าที่มีความเชียวชาญด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์และภาพถ่ายดาวเคราะห์ไปร่วมงาน AIC นี้ด้วยเช่นกัน โดยนายธนกฤต สันติคุณาภรณ์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ ได้เดินทางไปร่วมงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าวเพื่อที่จะนำความรู้และทักษะต่างๆ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลภาพ ประมวลผลข้อมูลภาพ และเรียนรู้การทำงานของอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่หลากหลายจากงาน AIC นี้ 

เรียบเรียง
ธีรยุทธ์ ลอยลิบ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
สถาบันวิจัยดารศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อ้างอิง
https://www.skyandtelescope.com/astronomy-news/the-2019-advanced-imaging-conference/

https://www.advancedimagingconference.com

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1827