2014 MU69 วัตถุในแถบไคเปอร์ที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะที่ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์เดินทางไปสำรวจ ขณะนี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการแล้วว่า “แอร์โรคอท” (Arrokoth) เป็นภาษาอัลกอนควิน ของอเมริกันพื้นเมืองที่มีความหมายว่า “ท้องฟ้า”

pasted

มาร์ก บูอี (Marc Buie) นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ (Southwest Research Institute : SwRI) ค้นพบแอร์โรคอทในปี พ.ศ. 2557  ขณะใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นหาวัตถุในแถบไคเปอร์เพื่อเป็นภารกิจของยานอวกาศนิวฮอไรซันส์ หลังจากที่ค้นพบก็ได้ตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “อุลติมะ ทูเล” (Ultima Thule) 

“เราคาดหวังว่า วัตถุที่เก่าแก่อย่างแอร์โรคอทนี้จะเป็นคำตอบ ทำให้เข้าใจการก่อตัวของดาวเคราะห์ ต้นกำเนิดของเอกภพและสิ่งมีชีวิตบนโลกได้” บูอีกล่าว

ขณะนี้ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์เดินทางไปถึงขอบด้านนอกของแถบไคเปอร์แล้ว และอีกไม่นานก็จะออกจากระบบสุริยะเช่นเดียวกับยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ 2

 

เรียบเรียง : พัชริดา ยั่งยืนเจริญสุข เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ - สดร.

อ้างอิง : https://www.nasa.gov/feature/far-far-away-in-the-sky-new-horizons-kuiper-belt-flyby-object-officially-named-arrokoth

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 2227