สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” วันที่ 2 สิงหาคม 2564 บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ในช่วงเช้ามืด เวลา 03.40 น. ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา  

pr20210803 3 01

 

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หมายถึง ดวงอาทิตย์โลก  และดาวเสาร์จะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุด
ในรอบปี ห่างประมาณ 1,337 ล้านกิโลเมตร เมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า ดาวเสาร์จะปรากฏสว่าง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน สามารถสังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า  

คืนวันดังกล่าวหลายพื้นที่ทั่วไทยไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน ฟ้าปิด มีเมฆมาก สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าไปจนถึงประมาณเดือนมกราคม 2565 

สำหรับปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ใกล้โลกครั้งต่อไป คือ “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ที่จะถึงนี้ ห่างจากโลกประมาณ 600 ล้านกิโลเมตร ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างมาก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า สังเกตได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าจนถึงรุ่งเช้าวันถัดไป 

 

งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250 

E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  Website : www.narit.or.th

Facebook : www.facebook.com/NARITpage

Twitter : @NARIT_Thailand,  Instagram : @narit_thailand

Call Center กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โทร. 1313