ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”
1. ประเภท Deep Sky Objects
รางวัลชนะเลิศ นายวชิระ โธมัส
ชื่อภาพ: Deep Dark Space
คำบรรยายภาพถ่าย: Dark Shark Nebula [LDN 1235] หรือเนบิวลาฉลามเป็นเนบิวลา มืด/สะท้อนแสงในกลุ่มดาวเซเฟอุส อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 650 ปีแสง ถือว่าเป็นหนึ่งวันวุตถุที่ถ่ายได้ยากมาก เนื่องจาก เนบิวลาฉลามประกอบด้วยฝุ่นอาวกาศ ที่มีรูปลักษณ์คล้ายปลาฉลาม มีความหนามากจนบดบังแสงส่วนใหญ่จากด้านหลัง การถ่ายวัตถุนี้จึงต้องอาศัยท้องฟ้าที่มืดพอสมควรและเวลาสะสมสัญญาณจำนวนมาก
|
|
|
![2567 1 01](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_1_01.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายวุฒิชัย กรดคีรี
ชื่อภาพ: The Jellyfish Nebula แมงกะพรุนจักรวาล
คำบรรยายภาพถ่าย: เนบิวลาแมงกะพรุนหรือที่รู้จักในชื่อ IC 443 และ Sh2-248 เป็นซากซูเปอร์โนวาที่อยู่ห่างออกไป 5,000 ปีแสง เนื่องจากมันมีลักษณะคล้ายกับ แมงกะพรุนที่ลอยอยู่ในจักรวาล เส้นเอ็นของจักรวาลที่เปล่งประกายและ 'หัว' ที่เป็น กระเปาะที่มีไขมัน
|
|
|
![2567 1 02 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_1_02_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์
ชื่อภาพ: A Hubble Style of Pillars of Creation
คำบรรยายภาพถ่าย: เสาหลักแห่งการก่อกำเนิด หรือ Pillars of Creation เป็นกลุ่มก๊าซ และฝุ่นที่อยู่ใจกลางของ Messier 16 Eagle Nebula โดยภาพของเสาหลักแห่งการก่อ กำเนิดจากกล้อง Hubble (https://www.nasa.gov/image-article/pillars-of-creation/) เป็นภาพที่ผู้ถ่ายชอบมากและเป็นความปรารถนาที่ต้องการจะถ่ายภาพให้ได้ใกล้เคียงกับ ภาพจากกล้อง Hubble ให้มากที่สุด จึงเลือกที่จะ process ภาพโดยไม่แก้รายละเอียด หรือปรับแต่งจนมากเกินไป ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่ติดตั้งที่ Deep Sky Chile
|
|
|
![2567 1 03](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_1_03.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย ผศ.ทพ.ดร.วีระพันธ์ อุ่นเมืองทอง
ชื่อภาพ: Eta Carina and Statue of Liberty
คำบรรยายภาพถ่าย: ภาพมุมกว้างแสดง เนบิวลากระดูกงูเรือ (Eta Carinae Nebula) ที่ขนาดกว้างใหญ่ไพศาลและ เนบิวลาอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty Nebula) ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น คล้ายคนถือพบเพลิง เมื่อเราเหม่อมองดูสิ่งมหัศจรรย์บนท้องฟ้า เหล่านี้ มันเต็มไปด้วยความอัศจรรย์และเป็นสร้างแรงบันดาลใจในการสำรวจ และค้นหาความลึกลับแห่งจักรวาลของมวลมนุษยชาติ
|
|
|
![2567 1 04 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_1_04_0.jpg) |
|
|
|
|
2. ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ นายราชันย์ เหมือนชาติ
ชื่อภาพ: ฝนดาวตกเจมินิดส์ ที่สามพันโบก
คำบรรยายภาพถ่าย: บรรยากาศคืนฝนดาวตก เจมินิดส์ ปี 2566 ที่สามพันโบกเกาะกลาง แม่น้ำโขง เชื่อมระหว่าง 2 ประเทศ คือไทย-ลาว เป็นคืนที่ท้องฟ้าสดใสกลุ่มดวงดาว สวยงามเต็มท้องฟ้า ทำให้ได้บันทึกภาพถ่ายฝนดาวตกที่สมบูรณ์เป็นเวลาหลายชั่วโมง ได้อย่างน่าอัศจจรย์
|
|
|
![2567 2 01 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_2_01_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายอาคม กิจวนิชประเสริฐ
ชื่อภาพ: Diamond Ring, Solar Eclipse 2024
คำบรรยายภาพถ่าย: ผมมีความตั้งใจที่จะไปถ่ายภาพปรากฎการณ์ สุริยุปราคาเต็มดวงใน ปี ค.ศ.2024 โดยได้ทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้าเกือบปี เนื่องจาก แนวกลางคราสของการเกิดสุริยุปราคาในครั้งนี้พาดผ่านทวีปอเมริกาเหนือเป็นหลัก ผมจึง เลือกพื้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในการเดินทางไปชมและบันทึกภาพ โดยครั้งแรกเตรียมการ ที่จะไปถ่ายในพื้นที่ใกล้เมือง Dallas รัฐ Texas แต่เมื่อถึงวันก่อนเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคา จากการตรวจสอบการพยากรณ์อากาศในช่วงเกิดสุุริยุปราคาในพื้นที่ดังกล่าวดูไม่เป็นใจ มากนัก ผมจึงปรับเปลี่ยนแผนการเดินทางใหม่โดยเลือกไปชมและถ่ายภาพในพื้นที่ของรัฐ Illinois ที่อยู่ใกล้กับเมือง St. Loius รัฐ Missouri
|
|
|
![2567 2 02 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_2_02_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายชยพล พานิชเลิศ
ชื่อภาพ: Lunar Occultation of Venus 2023
คำบรรยายภาพถ่าย: ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ตั้งแต่ต้น จนจบ โดยปรากฏการณ์นี้เกิดจากระนาบการโคจรของดวงจันทร์ได้เคลื่อนที่ตัดกับระนาบ การโคจรของดาวศุกร์จึงทำให้เกิดเหตุการณ์นี้โดยเริ่มต้นจากส่วนที่มืดของดวงจันทร์ เคลื่อนตัวบังดาวศุกร์ก่อน และโผล่ออกมาอีกครั้งทางด้านสว่างของดวงจันทร์
|
|
|
![2567 2 03 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_2_03_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายเอก พุทธิสาร
ชื่อภาพ: แหงนมองฟ้าดูฝนดาวตกเจมินิดส์ ในพื้นที่อนุรักษ์ฟ้ามืด อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
คำบรรยายภาพถ่าย: บริเวณหินเรด้า ถึงจะมีต้นไม้บังบ้าง แต่ก็พอให้สามารถเก็บดาวตก มาได้มากว่า 120 ดวง เพราะเป็นคืนเดือนมืดสามารถเก็บสะสมดาวได้ตลอดทั้งคืนและเป็น พื้นที่ฟ้ามืด ระดับสองอีกด้วย
|
|
|
![2567 2 04](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_2_04.jpg) |
|
|
|
|
3. ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ
รางวัลชนะเลิศ นายชยพล พานิชเลิศ
ชื่อภาพ: Jupiter in Different Wavelengths
คำบรรยายภาพถ่าย: วันที่ถ่ายภาพดาวพฤหัสบดี วันนี้สภาพอากาศดีมากชั้นบรรยากาศ นิ่งสงบ ทำให้เห็นรายละเอียดของดาวพฤหัสบดีได้อย่างชัดเจนผู้ถ่ายจึงได้ทำการบันทึก ภาพดาวพฤหัสบดีในช่วงคลื่นอินฟราเรดกับภาพสี RGB เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความ แตกต่างของชั้นบรรยากาศและรายละเอียดของดาวพฤหัสบดีที่ได้จากการถ่ายภาพใน แต่ละช่วงคลื่น
|
|
|
![2567 3 01 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_3_01_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายวชิระ โธมัส
ชื่อภาพ: Solar Maximum 2024
คำบรรยายภาพถ่าย: ในปี 2024 นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าน่าจะเป็น ‘ปีที่ดีที่สุด’ ในรอบทศวรรษที่จะรับชม ‘แสงเหนือ’ (Northern Lights) หนึ่งในปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ของโลก เพราะว่าดวงอาทิตย์จะอยู่ ‘จุดสูงที่สุด’ ในวัฏจักรสุริยะ หรือที่เรียกว่า ‘Solar Maximum’ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ก่อให้ จัดมืด จำนวนหลายจุดบนพื้มผิวของ ดวงอาทิตย์อีกด้วย
|
|
|
![2567 3 02 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_3_02_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายนราธิป รักษา
ชื่อภาพ: Comet C/2022 E3 (ZTF)
คำบรรยายภาพถ่าย: ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบ ดวงอาทิตย์หนึ่งในรอบใช้เวลาประมาณ 50,000 ปี ค้นพบในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2565 โดยเครือข่ายกล้องตรวจท้องฟ้ามุมกว้าง Zwicky Transient Facility โดยดาวหาง ปรากฏหางให้เห็น ได้แก่ “หางไอออน (ion tail) ” และ “หางฝุ่น (dust tail)”
|
|
|
![2567 3 03 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_3_03_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายวุฒิชัย กรดคีรี
ชื่อภาพ: จันทร์เจ้า - พระจันทร์เสี้ยว (Crescent Moon)
คำบรรยายภาพถ่าย: Waxing Crescent Moon ขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเราจะ เห็นด้านที่รับแสงอาทิตย์มากขึ้นตามลำดับ เป็นพระจันทร์ข้างขึ้นหรือ Waxing Moon ซึ่งตอนแรกจะเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขนาดขึ้นตามลำดับ ระยะนี้เรียกว่า พระจันทร์เสี้ยว หรือ Crescent Moon
|
|
|
![วัตถุในระบบสุริยะ 04 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_3_04_0.jpg) |
|
|
|
|
4. ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ นายวิภาคย์ กุลนิรันดร
ชื่อภาพ: ยอปากประ กับ ทางช้างเผือก
คำบรรยายภาพถ่าย: บ้านปากประ เป็นชุมชนที่ใช้ยอเป็นเครื่องมือในการจับปลาตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า ปลาลูกเบร่ มาเป็นเวลานานแล้ว รูปร่างอันสวยงามของยอที่อยู่ในน้ำ เมื่อได้ถ่าย ภาพร่วมกับทางช้างเผือก ทำให้ดูงดงามมาก
|
|
|
![2567 4 01 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_4_01_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายทรงยุทธ สุภาเดช
ชื่อภาพ: เส้นทางมหัศจรรย์สู่ดวงดาว
คำบรรยายภาพถ่าย: การบันทึกช่วงเวลาอันน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ผสมผสานกัน อย่างลงตัวระหว่างเส้นทางบนอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และทางช้างเผือกอันกว้างใหญ่
|
|
|
![2567 4 02 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_4_02_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายราชันย์ เหมือนชาติ
ชื่อภาพ: ดาวนายพราน หินพระจันทร์เสี้ยว
คำบรรยายภาพถ่าย: กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวฤดูหนาว ที่หมุนโคจร ปรากฎเหนือ หินพระจันทร์เสี้ยว หินที่มีรูปร่างแปลกที่เกิดเองตามธรรมชาติ ธรณีวิทยาสร้างธรรมชาติ สิ่งที่สวยงามในพื้นโลก คู่ดาราศาตร์ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
|
|
|
![2567 4 03 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_4_03_0.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายเปรมปราชญ์ แฉล้ม
ชื่อภาพ: เส้นแสงดาว ณ ดอยอินทนนท์
คำบรรยายภาพถ่าย: การถ่ายภาพเส้นแสงดาวจะต้องใช้เวลามากในการถ่ายและสภาพ แสงที่เหมาะสม ท้องฟ้าที่เปิดตลอดคืนจึงจะได้ภาพเส้นแสงดาวที่สวยงาม
|
|
|
![2567 4 04 0](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_4_04_0.jpg) |
|
|
|
|
5. ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก
รางวัลชนะเลิศ นายอาคม กิจวนิชประเสริฐ
ชื่อภาพ: สายรุ้งแสงจันทรา
คำบรรยายภาพถ่าย: สายรุ้งหน้าน้ำตกทีลอซูยามราตรี มีจุดกำเนิดจากแสงจันทราส่อง ลงมากระทบกับละอองน้ำที่ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณหน้าน้ำตก
|
|
|
![2567 5 01](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_5_01.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายจิระพงษ์ วงศ์วิวัฒน์
ชื่อภาพ: รุ้งในรุ้ง
คำบรรยายภาพถ่าย: วงแสงรุ้งกลอรีปรากฏการธรรมชาติที่น่าสนใจ ถ่ายผ่านกระจก หน้าต่างเครื่องบินขณะที่เครื่องบินอยู่เหนือก้อนเมฆในยามเช้า
|
|
|
![2567 5 02](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_5_02.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายเอก พุทธิสาร
ชื่อภาพ: จังหวะการเกิดโอเมก้าซันไรส์
คำบรรยายภาพถ่าย: ภาพจังหวะการเกิดปรากฏการณ์โอเมก้าซันไรท์ เห็นปรากฏการณ์ ตั้งแต่เกิดมิลาจ และเห็นรูปร่างเป็นตัวอักษรโอม จนขอบดวงอาทิตย์พ้นขอบน้ำ
|
|
|
![2567 5 03](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_5_03.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายเชษรฐา ละดาห์
ชื่อภาพ: ท่าไม้ตาย
คำบรรยายภาพถ่าย: เทคนิคที่สำคัญของการถ่ายภาพอาทิตย์ทรงกลด(ที่ต้องการเล่น กับฉากหน้าด้วย) คือการเลือกใช้กล้องที่มีความชัดลึกมาก ซึ่งจะสามารถเก็บ รายละเอียด(ความชัด) ของทั้งฉากหน้า (วัตถุ) กับฉากหลัง(กลด) ได้ค่อนข้างดี ในที่นี้จึง เลือกใช้กล้องของสมาร์ทโฟน ที่มีความชัดลึกมาก และที่สำคัญ ปรากฏการณ์อาทิตย์ ทรงกลดถึงแม้จจะเกิดขึ้นบ่อย แต่เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ (ทำได้เพียง แค่คาดการณ์จากการสังเกตเมฆในแต่ละวัน) บางครั้งก็เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วครู่ หากใช้กล้อง แบบโปร(DSLR/MirrorLess)ในการถ่ายอาจจะไม่สะดวกต่อการพกพา และไม่ทันการณ์ ดังนั้น การเลือกใช้กล้องสามาร์ทโฟน จึงสามารถตอบโจทย์ได้ครบทั้ง 2 ข้อ สมาร์ทโฟน จึงเป็นเหมือน “ท่าไม้ตาย” ที่นักเก็บกลดอย่างเรา เหมาะจะใช้ในการบันทึกภาพ
|
|
|
![2567 5 04](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_5_04.jpg) |
|
|
|
|
6.ประเภทวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว
รางวัลชนะเลิศ นายเฉลิมเกียรติ สุวรรณปริญญา
ชื่อภาพ: Electrifying Aurora Lofoten
คำบรรยายภาพถ่าย: แสงออโรร่าระดับความแรงKp7 จะเห็นหลากสีสัน ชมพู แดง ม่วง นํ้าเงิน ซึ่งเห็นได้ยากเปรียบเทียบกับสีเขียวที่เห็นตามปกติ ประกอบกับฉากหน้าเป็น หมู่บ้านที่สวยที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง นับเป็นประสบการณ์ประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิต
|
|
|
![2567 6 01](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_6_01.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายเอก พุทธิสาร ชื่อภาพ: โอเมก้าซันไรส์ร่วมกรอบภาพกับวิหารกลางน้ำสมุทรสาคร
คำบรรยายภาพถ่าย: 0:07 เริ่มเห็นมิลาจที่ขอบน้ำ (ภาพสะท้อนกลับหัวเหนือพื้นน้ำ) 0:44 เริ่มเห็น Mock Mirage (ดวงอาทิตย์บิดเบียวไม่เป็นทรงกลม) 1:40 เห็นจุดมืดบน ดวงอาทิตย์หลายจุด 1:54 เห็นรูปทรงของดวงอาทิตย์เป็นตัวอักษรโอเมก้าในภาษา กรีก Ω ที่มาของชื่อเรียก โอเมก้าซัน 2:36 ดวงอาทิตย์แยกออกจากมิลาจที่ขอบฟ้า 2:46 สิ้นสุดปรากฏการณ์มิลาจเหนือพื้นน้ำ 2:47-6:00 ดวงอาทิตย์เคลื่อนสูงขึ้นจนพ้น กรอบภาพ
|
|
|
![2567 6 02](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_6_02.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 น.ส.ณภัทรกาญจน์ กาญจน์อุดมฤกษ์
ชื่อภาพ: หมุนดาวที่โบรโม่
คำบรรยายภาพถ่าย: ได้มีโอกาสลองถ่ายดาวหมุนที่ขั้วโลกใต้ ถ่ายติดแมคเจแลน กาแล็กซี่ ที่ไม่มีโอกาสได้เห็นในเมืองไทย
|
|
|
![2567 6 03](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_6_03.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายชยพล พานิชเลิศ
ชื่อภาพ: Jupiter Double Eclipses and 3 Moons
คำบรรยายภาพถ่าย: เป็นวิดีโอแสดงให้เห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็น สุริยุปราคาแบบคู่ เงามืดที่มีขนาดใหญ่ในภาพเป็นของดาวจันทร์แกนีมีด ส่วนขนาดเล็กเป็น ของดวงจันทร์ยูโรปา โดยมีดวงจันทร์ยูโรปากำลังเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี
|
|
|
![2567 6 04](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_6_04.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายนราธิป รักษา
ชื่อภาพ: Star Rising
คำบรรยายภาพถ่าย: จุดชมวิวยอดดอยหลวงเชียงดาว ที่บ้านเลาวู อ.เวียงเเหง จ.เชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวที่กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
|
|
|
![2567 6 05](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_6_05.jpg) |
|
|
|
|
รางวัลชมเชย นายสุภฉัตร วรงค์สุรัติ
ชื่อภาพ: When the natures meet together
คำบรรยายภาพถ่าย: เมื่อธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่และสวยงามทั้งหมดมารวมตัวกันให้เห็น มันช่างสวยงามและดูน่าเกรงขามยิ่งนัก โดยเฉพาะตอนพระจันทร์ขึ้น มันคล้ายแสงอาทิตย์จริงๆ
|
|
|
![2567 6 06](/images/03_ข่าวประชาสัมพันธ์/2024/Astro_Photo_2024/2567_6_06.jpg) |
|
|
|
|