เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์บรรยากาศ ณ บริเวณ ขั้วโลก ร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ทาง ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์บรรยากาศ ที่ต้องการเวลาสังเกตการณ์ยาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือ ดังกล่าวจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวครอบคลุมการวิจัยเกี่ยวกับ Marine Biology, Oceanography, Atmospheric Science และ Astronomy Geophysics และ Geochemistry
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ส่งข้อเสนอโครงการวิจัยการสารวจ ตัดข้ามละติจูด (Latitude Survey Project) ต่อสถาบันวิจัยขั้วโลกของจีน (PRIC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบของรังสีคอสมิกต่อโลก โดยการนาเครื่องตรวจวัดนิวตรอนบรรทุกบนเรือสารวจวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลตาม เส้นทางเดินเรือจากประเทศจีนไปยังทวีปแอนตาร์กติกา และได้รับการอนุมัติจากสถาบันวิจัยขั้วโลกของจีน ให้ สามารถนาอุปกรณ์ที่ติดตั้งเครื่องตรวจวัดนิวตรอนภายในคอนเทนเนอร์ฉนวนที่ได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยไทย ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันในประเทศไทย อาทิเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันในต่างประเทศ เช่น University of Delaware และ University of Wisconsin-River Falls ประเทศสหรัฐอเมริกา, Shinshu University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปพร้อมกับเรือ สารวจวิจัย Xue Long ออกเดินทางจากเมืองเซี่ยงไฮ้ สาธาณรัฐประชาชนจีน ไปยังสถานีวิจัย Zhongshan ซึ่ง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งของทวีปแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้