ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

Hits:1324

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...

อ่านต่อ ...

NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…

Hits:861

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...

อ่านต่อ ...

17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”

Hits:566

จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...

อ่านต่อ ...

กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”

Hits:1592

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...

อ่านต่อ ...

ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…

Hits:1509

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...

อ่านต่อ ...

นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…

Hits:4597

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวดาราศาสตร์ทั้งหมด
 
 
  1. บทความดาราศาสตร์
  2. บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
  3. จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
  4. จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
  5. Download

การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…

Hits:3781

เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap  เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...

อ่านต่อ ...

โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์

Hits:2711

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...

อ่านต่อ ...

วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย

Hits:2202

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...

อ่านต่อ ...

ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป

Hits:9330

[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

Hits:21795

ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...

อ่านต่อ ...

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

Hits:15108

ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...

อ่านต่อ ...

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

Hits:15645

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...

อ่านต่อ ...

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

Hits:17123

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี

Hits:4772

00 001

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series

บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น

จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ

Hits:4749

00 001

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)

NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ

สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight  มีเนื้อหา  6 ตอน ได้แก่

หนังสือ

Hits:4473

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์  ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต

ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2563  “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้

ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้

astronomy book 01 01 astronomy book 01 02

next
prev
 
 
  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
  3. ข่าวรับสมัครงาน
  4. รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
  5. NARIT INTERNSHIP PROGRAM
  6. รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
  7. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  8. ข่าว อว

12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่

Hits:560

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...

อ่านต่อ ...

12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…

Hits:719

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...

อ่านต่อ ...

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…

Hits:2391

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...

อ่านต่อ ...

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…

Hits:520

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
อ่านข่าวจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
next
prev
 
 

หอดูดาวภูมิภาค

nma icon     cco icon     ska icon     

 

หอดูดาวฯ สงขลา

กิจกรรมสร้างความตระหนักและตื่นตัวทางดาราศาสตร์ หอดูดาวฯ สงขลา

[ 1 ] กิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร ( จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 – 23 ธันวาคม 2562 )

        กิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร เป็นกิจกรรมที่จัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มนักเรียนนักศึกษาสามารถสื่อสารข้อมูลวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ต่อสาธารณชนได้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมทั้งสิ้น 40 คน เป็นนักศึกษาและนักเรียนในพื้นที่ภาคใต้ ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากรนั้น คือหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา จะมีจิตอาสาที่มีทักษะการใช้งานอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์และมีแนวทางการสื่อสารข้อมูลพื้นฐานของหอดูดาวและข้อมูลดาราศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพได้ รวมถึงการสร้างกำลังคนที่จะมาทำงานในพื้นที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา ได้ในอนาคต ดังรูปกิจกรรมดังต่อไปนี้

ska event 1 ska event 2
ska event 3 ska event 4

 [ 2 ] กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ( 9 – 13 มกราคม 2562 )

        กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562  จัดขึ้นเพื่อแสดงนิทรรศการด้านดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ รวมถึงสร้างกิจกรรมดาราศาสตร์ที่เสริมสร้างแรงบัลดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ให้กับนักเรียน ให้มีความรักในการเรียนรู้ดาราศาสตร์ และมีกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์ตั้งแต่วันเด็ก โดยหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้น ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 9 – 13 มกราคม 2562 และเทศบาลเขารูปช้างในวันที่ 12 มกราคม 2562

ska kidday 1 ska kidday 2
ska kidday 3 ska kidday 4
ska kidday 5 ska kidday 6

[ 3 ] กิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาว

        กิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาว ประจำปี 2562 หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ตรงกับช่วงที่มีปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ อาทิ Super Full moon  กิจกรรมฝนดาวตก เพื่อติดตั้งกล้องโทรทรรศน์และจัดนิทรรศการพร้อมกับบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์กับประชาชนทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยมีการจัดกิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาวในปีงบประมาณ 2562 นี้ จำนวน 3 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีประชนชนให้ความสนใจและมีความตื่นตัวทางดาราศาสตร์อย่างมาก ผลตอบรับจากการจัดกิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาวนี้ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มากขึ้น รวมถึงเข้าใจวัตถุประสงค์การดำเนินงานของหอดูดาวและบริษัท เชฟรอนฯ มากขึ้น และจากกิจกรรมดังกล่าวทำให้ประชาชนเดินทางมาเยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์ และร่วมกิจกรรมของหอดูดาว ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนพรรษา สงขลา มากขึ้น

ska seestar 1 ska seestar 2
ska seestar 3 ska seestar 4

[ 4 ] กิจกรรมชวนน้องดูดาว

       กิจกรรมชวนน้องดูดาว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2562 และจะขึ้นขึ้นต่อเนื่อง  โดยกิจกรรมครั้งที่หนึ่งนั้นหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ได้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนพระราชดำริ โดยจัดเป็นลักษณะกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์เป็นระยะเวลา สองวันหนึ่งคืน และจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาไปพร้อมกัน ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านสำนักเอาะ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนจำนวน 100 คน ของโรงเรียนดังกล่าว สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ได้นำสื่อการเรียนรู้  นิทรรศการ อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ไปจัดแสดงไว้เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อดึงดูดให้นักเรียนในโรงเรียนมีความอยากเรียนรู้วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์มากขึ้น

ska seestarkid 1 ska seestarkid 2 ska seestarkid 3
ska seestarkid 4 ska seestarkid 5 ska seestarkid 6
ska seestarkid 6 ska seestarkid 8 ska seestarkid 9

[ 5 ] กิจกรรมดูดาวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอน

       กิจกรรมดูดาวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์และกิจกรรมให้บริการวิชาการด้านการดูดวงจันทร์เพื่อประกอบศาสนกิจในทางศาสนาอิสลาม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นสองครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นกิจกรรมลักษณะกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์เชิงปฏิบัติการ สามวันสองคืน มีนักเรียนจากกลุ่มเครือข่ายภาคใต้ชายแดนจำนวน 100 คน จาก 10  โรงเรียน  โดยเน้นเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ส่วนกิจกรรมครั้งที่สอง เป็นกิจกรรมให้บริการเรื่องการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันออกศีลอด กิจกรรมครั้งนี้จะจัดให้บริการกับผู้นำศาสนา นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ให้ได้ร่วมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ร่วมกัน เพื่อประกาศวันอารีรายอ ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

ska romdon 1 ska romdon 4
ska romdon 2 ska romdon 5
ska romdon 3 ska romdon 6

[ 6 ] กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล

        กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจในการเรียนดาราศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมต่อเนื่อง สามวันสองคืน มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 1,500 คน จากทั่วประเทศ โดยนักเรียนผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมค่ายทั้งสิ้น จำนวน 100 คน จะได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ที่หลากหลาย อาทิการดูดาวด้วยตาเปล่า การศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า และสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่าง ๆ หลายขนาด การดูหนังสารคดีดาราศาสตร์ภายในท้องฟ้าจำลอง การใช้งานกล้องโทรทรรศน์  และได้สัมผัสวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลา รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา

ska seesea 1 ska seesea 4
ska seesea 2 ska seesea 5
ska seesea 3 ska seesea 6

[ 7 ] กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์

        กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ้มนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจกิจกรรมและองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ เข้ามามีส่วนร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานของหอดูดาเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ทั้งนี้ทางหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา ได้ทำการจัดแสดงนิทรรศการดาราศาสตร์ และจัดฐานการเรียนรู้ โดยใช้อาสาสมัครที่ผ่านการกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากรเป็นผู้ช่วยในการจัดแสดงเนื้อหาวิชาการ ภายในพื้นที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา มากกว่า 10 ฐานการเรียนรู้ และมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 6,606 คน

ska sciweek 1 ska sciweek 4
ska sciweek 2 ska sciweek 5
ska sciweek 3 ska sciweek 6

[ 8 ] กิจกรรม NARIT Public Night

        กิจกรรม NARIT Public Night เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านดาราศาสตร์เข้ามาทำกิจกรรมดูดาวภายในพื้นที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา ทุกคืนวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 18:00 น. – 22:00 น. กิจกรรม NARIT Public Night เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หอดูดาว โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าประเภทต่างๆ ผ่านกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 8 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม NARIT Public Night ทั้งสิ้น 2,275 คน และมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นเดินทางมาใช้เครื่องมือทางดาราศาสตร์เพื่อบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าทั้งหมด 25 คน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์จะทำหน้าที่บรรยายให้ข้อมูลของวัตถุแต่ละประเภท รวมถึงการให้บริการกล้องโทรทรรศน์เพื่อบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าด้วย

ska publicnight 3
ska publicnight 2  ska publicnight 1
ska publicnight 4

 


[ 9 ] กิจกรรมอบรมโครงงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับอุดมศึกษา

        การจัดอบรมโครงงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับอุดมศึกษา มีแผนการจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 23 -25 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมบีพีสมิหลา บีช (สถานที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 32 คน การจัดอบรมโครงงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เป็นโครงการที่มุ่งเน้นสอนทักษะการใช้เครื่องมือในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์และสอนการทำงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์

ska trainschool 1 ska trainschool 3
ska trainschool 2 ska trainschool 4

[ 10 ] กิจกรรมค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

        มีแผนการจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2562  ณ สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 30 คน จาก 10 ชุมนุมดาราศาสตร์ของโรงเรียน พร้อมกับครูผู้ดูแลกิจกรรมชุมนุมละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน

ska clubchool 1

 

กิจกรรม


กิจกรรม/กิจกรรมย่อย


แผนการดำเนินงาน


กิจกรรมที่ 1
กิจกรรมสร้างความตระหนักและตื่นตัวทางดาราศาสตร์ 
หอดูดาวฯ สงขลา      

กิจกรรมย่อย 1.1 อบรมผู้ช่วยวิทยากร

1 ครั้ง ในเดือนธันวาคม 2561

กิจกรรมย่อย 1.2 งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562

1 ครั้ง ในเดือนมกราคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.3 ชวนน้องดูดาว

1 ครั้ง ในเดือนมีนาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.4 อบรมการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอน

2 ครั้ง ในเดือนเมษายน
และ พฤษภาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.5 เปิดฟ้าตามหาดาว

3 ครั้ง เดือนมกราคม พฤษภาคม   
และ มิถุนายน 2562

กิจกรรมย่อย 1.6 ค่ายดาราศาสตร์เพื่อชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

1 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.7 ค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล

1 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.8 สัปดาห์วิทยาศาสตร์ประจำปี 2562

1 ครั้ง เดือนสิงหาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.9 กิจกรรมอบรมโครงงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา

1 ครั้ง เดือนสิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ 2 โครงการบริหารจัดการหอดูดาวฯ สงขลา

กิจกรรมย่อย 2.1 กิจกรรมบริการจัดการหอดูดาวฯ สงขลา

ตลอดทั้งปีงบประมาณ

กิจกรรมย่อย 2.2 ผลิตสื่อและการประชาสัมพันธ์หอดูดาวฯ สงขลา

ตลอดทั้งปีงบประมาณ

 

กล้องโทรทรรศน์ชนิดต่างๆ สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์

[ 1 ] กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว กล้องโทรทรรศน์พื้นฐานที่ใช้ในการจัด กิจกรรมให้กับเด็กและนักเรียนที่มาเยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

cco camera education 1

กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว


 [ 2 ] กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4 นิ้ว และ 5 นิ้ว กล้องโทรทรรศน์สำหรับใช้ในการอมรมโครงการต่างๆ ในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

cco camera education 2

กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4 นิ้ว


[ 3 ] ชุดประกอบกล้องโทรทรรศน์ เพื่อเรียนรู้การประกอบกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง

cco camera education 3

ชุดประกอบกล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดต่างๆ สำหรับให้บริการสังเกตวัตถุท้องฟ้า

[ 1 ] กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัย   มีระบบค้นหาและติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติพร้อมกล้องติดตามวัตถุท้องฟ้า (Guider Scope) ที่ช่วยให้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ามีความคมชัดมากขึ้น
 cco camera 1

Celestron EdgeHD 1400 , EdgeHD 9.25
Optical System : Advanced Coma-Free Telescope
Telescope Aperture : 14 inch (365 mm.) , 9.25 inch (234.95 mm)
Focal Length : 3910 mm. , 2350 mm.
Focal Ratio : F/11 , F/10
Mounting System : Equatorial Mount (CGE PRO , CGE)


[ 2 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง สามารถเห็นขอบหลุมบนดวงจันทร์ รายละเอียดบนแถบเมฆ และพายุสีแดงบนดาวพฤหัสบดี รวมถึงหุบเหว  และปากปล่องภูเขาไฟบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน

cco camera 2

Takahashi  TOA-150 
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 6 inch (150 mm.)
Focal Length : 1100 mm.
Focal Ratio : F/7.33
Mounting System : Equatorial Mount (EM-400)


[ 3 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 130 มิลลิเมตร  โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง เปิดให้ประชาชนหรือผู้ที่สนใจ นำกล้องถ่ายรูปมาต่อกับกล้องโทรทรรศน์ เพื่อถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าในทุกคืนวันเสาร์ด้วย

cco camera 3

Takahashi  TOA-130
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 5.11 inch (130 mm.)
Focal Length : 1000 mm.
Focal Ratio : F/7.7
Mounting System : Equatorial Mount (EM-200)


[ 4 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 106 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับดูวัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น  ดวงจันทร์ เนบิลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่ และอื่นๆ
 cco camera 4

Takahashi  FSQ-106
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 4.2 inch (106 mm.)
Focal Length : 530 mm.
Focal Ratio : F/5
Mounting System : Equatorial Mount (EM-200)


 

[ 5 ] กล้องสองตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 125 มิลลิเมตร เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ เหมาะกับการสังเกตดาวเคราะห์  กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) และดวงจันทร์ ผู้เข้าชมจะเห็นภาพที่เป็นมิติมากกว่ากล้องโทรทรรศน์ทั่วไป

cco camera 5

Vixen BT126ss-A
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 4.9 inch (126 mm.)
Focal Length : 625 mm.
Focal Ratio : F/5
Mounting System : Equatorial Mount (Sirius) (astrotech)


[ 6 ] กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกต  สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter)  จะเห็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น

cco camera 6

Coronado 90 mm.
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 3.5 inch (90 mm.)
Focal Length : 792 mm.
Focal Ratio : F/8.8
Filter : Hydrogen - Alpha
Mounting System : Equatorial Mount (Sirius,astrotech)

การจัดการกระบวนการเรียนรู้

การจัดเนื้อหาภายในหอดูดาว

ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska internal service edu 1

       ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ติดตั้งเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียด 25 ล้านพิกเซล สามารถเข้าชมท้องฟ้าจำลองได้รอบละ 52 ที่นั่ง โดยรอบฉายแต่ละรอบจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ลักษณะของการจัดแสดงนั้นจะเป็นการบรรยายเนื้อหาดาราศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ และเปิดหนังสารคดีทางด้านดาราศาสตร์ทีทันสมัย ตื่นตาตื่นใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างดี

 

การให้บริการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 1

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างนิทรรศการความรู้ในส่วนจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารอำนวยการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีแนวความคิดเกียวกับนิทรรศการภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แสดงความรู้เกี่ยวกับแสงกับดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์และการค้นพบด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ และความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติเมียเดียปฏิสัมพันธ์ สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบัลดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ต่อผู้เข้าชมนิทรรศการ  ซึ่งมีทั้งหมด 14 โซนกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

  1. นิทรรศการเรื่องฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  2. นิทรรศการเรื่องการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
  3. นิทรรศการเรื่องการเกิดเฟสของดวงจันทร์
  4. นิทรรศการเรื่องการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
  5. นิทรรศการหาความลึกของหลุมบนดวงจันทร์
  6. นิทรรศการหลักการรวมสีของแสง
  7. นิทรรศการเรื่องการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส
  8. นิทรรศการการเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  9. นิทรรศการเรื่องแสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์
  10. นิทรรศการเรื่องชุดอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคคอสมิคเรย์
  11. นิทรรศการเรื่องการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  12. นิทรรศการเรื่องแบบจำลองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  13. ชุดนิทรรศการเรื่องชุดเครื่องชั่งน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  14. จุดแสดงอุกกาบาตแคมโปเดลเชลโล
  15. ชุดนิทรรการเรื่องยานสำรวจดาวอังคาร

ติดต่อ


หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สงขลา

cco icon point

79/4 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
90000

cco icon phone


โทรศัพท์. (+66) 074-300868

cco icon facebook @NARITSKA

 

บุคคลากร

โครงสร้างพื้นฐานภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 1

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างนิทรรศการความรู้ในส่วนจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารอำนวยการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีแนวความคิดเกียวกับนิทรรศการภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แสดงความรู้เกี่ยวกับแสงกับดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์และการค้นพบด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ และความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติเมียเดียปฏิสัมพันธ์ สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบัลดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ต่อผู้เข้าชมนิทรรศการ  ซึ่งมีทั้งหมด 14 โซนกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

  1. นิทรรศการเรื่องฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  2. นิทรรศการเรื่องการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
  3. นิทรรศการเรื่องการเกิดเฟสของดวงจันทร์
  4. นิทรรศการเรื่องการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
  5. นิทรรศการหาความลึกของหลุมบนดวงจันทร์
  6. นิทรรศการหลักการรวมสีของแสง
  7. นิทรรศการเรื่องการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส
  8. นิทรรศการการเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  9. นิทรรศการเรื่องแสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์
  10. นิทรรศการเรื่องชุดอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคคอสมิคเรย์
  11. นิทรรศการเรื่องการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  12. นิทรรศการเรื่องแบบจำลองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  13. ชุดนิทรรศการเรื่องชุดเครื่องชั่งน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  14. จุดแสดงอุกกาบาตแคมโปเดลเชลโล
  15. ชุดนิทรรการเรื่องยานสำรวจดาวอังคาร

ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska internal service edu 1

        ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ติดตั้งเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียด 25 ล้านพิกเซล สามารถเข้าชมท้องฟ้าจำลองได้รอบละ 52 ที่นั่ง โดยรอบฉายแต่ละรอบจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ลักษณะของการจัดแสดงนั้นจะเป็นการบรรยายเนื้อหาดาราศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ และเปิดหนังสารคดีทางด้านดาราศาสตร์ทีทันสมัย ตื่นตาตื่นใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างดี


ภูมิทัศน์นอกอาคารหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 5    
 
ska update 6

ska update 7 ska update 8 


         หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ทำเลที่ตั้งหอดูดาวนั้นอยู่บนเขารูปช้าง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนยภาพของมองสงขลาได้ชัดเจนมีมุมเปิดกว้างมากกว่า 270 องศา  ทำให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำกิจกรรมดูดาว กิจกรรมดาราศาสตร์ และเป็นจุดชมวิวทะเลสอบสงขลา ทะเลสาบอ่าวไทย และเมืองสงขลาเป็นอย่างดี รวมถึงแหล่งโบราณสถานและรูปแบบอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาได้ด้วย ส่งผลให้หอดูดาวแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการศึกษาอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ ยังมีสะพานดาวหางที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางดาราศาสตร์ ในเวลากลางคืนจะมีแสงำฟแอลอีดีติดขึ้นบริเวณสะพานนี้ซึ่งมีความสวยงามมากๆ


อาคารหอดูดาวหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 9 ska update 10
ska update 11 

        อาคารหอดูดาวประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนที่เป็นอาคารหลังคาเลื่อน ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์จำนวน 6 ตัว เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูลดาราศาสตร์ทั้งภาคปฏิบัติการและภาคทฤษฎี และพื้นที่ดังกล่าวสามารถใช้ทำกิจกรรมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี รอบๆอาคารหลังคาเลื่อนนี้จะติดตั้ง เครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศด้วยระบบเลเซอร์ (LiDAR) เพื่อตรวจวัดและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศและอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพท้องฟ้า สภาพอากาศและความเร็วลม ซึ่งเป็นปัจจับสำคัญของการใช้งานอุปกรณ์ด้านดาราศาสตร์ทุกชิ้น

ska update 12

        ส่วนที่ โดมไฟเบอร์กลาสทรงคล้ายเปลือกหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต เปิดออกได้ 360 องศา สังเกตท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้องแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูง พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และ narrow band filter ,กล้องถ่ายภาพดาวเคราะห์, สเปกโตรกราฟ เพื่อใช้เก็บข้อมูลวิจัยและบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือกฎการณืสำคัญๆ ทางดาราศาสตร์ได้ มีช่องแยกสำหรับใส่เลนส์ตาต่างหาก เพื่อความสะดวกในการใช้งานทั้งสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าและการถ่ายภาพผ่าน ตั้ง CCD Camera รองรับงานวิจัยทั้งระดับเบื้องต้นและระดับสูงได้

ska update 13 ska update 14
ska update 15

กล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์อื่นๆ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

  1. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัย มีระบบค้นหาและติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติพร้อมกล้องติดตามวัตถุท้องฟ้า (Guider Scope) ที่ช่วยให้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ามีความคมชัดมากขึ้น
  2. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัยมีระบบค้นหาและติดตามวัตถุท้องฟ้าแบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง สามารถเห็นขอบหลุมบนดวงจันทร์ รายละเอียดบนแถบเมฆและพายุสีแดงบนดาวพฤหัสบดี รวมถึงหุบเหวและปากปล่องภูเขาไฟบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน
  4. กล้องสองตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๒๕ มิลลิเมตร เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ เหมาะแก่การสังเกตดาวเคราะห์ กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) และดวงจันทร์ สามารถเห็นมิติลึกตื้นของหลุมบนดวงจันทร์ แตกต่างจากการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ด้วยตาข้างเดียว
  5. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 106 และ 130 มิลลิเมตร ติดตั้งเลนส์รวมแสงคุณภาพสูงบนฐานตามดาวแบบ German Equatorial สามารถติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติได้ตลอดคืน เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่หรือกระจุกดาวเปิดอื่นๆ
  6. กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกตการณ์ สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเปลวสุริยะเป็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น สำหรับการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่หรือกระจุกดาวเปิดอื่นๆ
  7. กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกตการณ์ สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเปลวสุริยะเป็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น

Public Night หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

        กิจกรรม Public Night  เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้บริการข้อมูลดาราศาสตร์แก่บุคคลที่มีความสนใจด้านดาราศาสตร์ กิจกรรมจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ หอดูดาวจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08:30 – 22:00 น. เพื่อตั้งกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่างๆ และมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่คนฟัง พร้อมกับมีเกมส์ทางดาราศาสตร์ให้กลุ่มผู้สนใจร่วมสนุกกับกิจกรรมทางดาราศาสตร์ได้

กิจกรรมดาราศาสตร์


outreach student          outreach teacher          outreach public                    

 

 
กิจกรรมที่ผ่านมา งานอบรม/สัมมนา
NARIT Social Media
     

 

       

 

 banner download     banner service download 03    banner media download 02
 

EIT ITA 2024  ETDA Banner 2567 

Citizen Portal 3 years plan 1200 x 800   E SDG logo

pdpa link
 

ITA 2567 banner 

                  qr code traffy fondue        feedback banner
               Traffy Fondue

E Learning Oic jahh banner
duga banner

researchexpo2023

 

event banner 

    virtualtour