ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

Hits:1324

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...

อ่านต่อ ...

NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…

Hits:861

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...

อ่านต่อ ...

17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”

Hits:566

จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...

อ่านต่อ ...

กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”

Hits:1592

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...

อ่านต่อ ...

ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…

Hits:1509

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...

อ่านต่อ ...

นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…

Hits:4597

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวดาราศาสตร์ทั้งหมด
 
 
  1. บทความดาราศาสตร์
  2. บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
  3. จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
  4. จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
  5. Download

การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…

Hits:3781

เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap  เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...

อ่านต่อ ...

โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์

Hits:2711

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...

อ่านต่อ ...

วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย

Hits:2202

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...

อ่านต่อ ...

ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป

Hits:9330

[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

Hits:21795

ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...

อ่านต่อ ...

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

Hits:15108

ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...

อ่านต่อ ...

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

Hits:15645

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...

อ่านต่อ ...

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

Hits:17123

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี

Hits:4772

00 001

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series

บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น

จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ

Hits:4749

00 001

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)

NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ

สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight  มีเนื้อหา  6 ตอน ได้แก่

หนังสือ

Hits:4473

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์  ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต

ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2563  “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้

ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้

astronomy book 01 01 astronomy book 01 02

next
prev
 
 
  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
  3. ข่าวรับสมัครงาน
  4. รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
  5. NARIT INTERNSHIP PROGRAM
  6. รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
  7. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  8. ข่าว อว

12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่

Hits:560

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...

อ่านต่อ ...

12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…

Hits:719

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...

อ่านต่อ ...

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…

Hits:2391

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...

อ่านต่อ ...

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…

Hits:520

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
อ่านข่าวจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
next
prev
 
 

หอดูดาวภูมิภาค

nma icon     cco icon     ska icon     

 

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

 

หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานของสถาบันไว้ดังนี้

  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ให้คำนึงถึงระบบการบริหารผลงาน (Performance Management) โดยมีองค์ประกอบการประเมิน แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

                   1.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้

                             (1) ปริมาณผลงาน

                             (2) คุณภาพของงาน

                   1.2 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (สมรรถนะ) ประกอบด้วย

                             (1) การประเมินสมรรถนะหลัก

                             (2) การประเมินสมรรถนะการบริหาร

                             (3) การประเมินสมรรถนะตามสายงาน

  1. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน และพฤติกรรมการปฏิบัติงานหรือสมรรถนะ ให้เป็นไปตามหลักการ ดังนี้

                   2.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน   เป็นการจัดทำข้อตกลงระหว่างผู้ประเมินกับผู้รับการประเมิน เกี่ยวกับการมอบหมายงาน/โครงการ/กิจกรรมในการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และค่าเป้าหมาย

                   2.2 พฤติกรรมการปฏิบัติงาน (สมรรถนะ) เป็นการระบุจำนวนสมรรถนะที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

                             2.2.1 สมรรถนะหลัก 3 สมรรถนะ ใช้สำหรับประเมินผู้ปฏิบัติงานทุกตำแหน่ง ประกอบด้วย

                                      (1) ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

                                      (2) ความคิดริเริ่ม

                                      (3) การทำงานเป็นทีม

                             2.2.2 สมรรถนะการบริหาร 5 สมรรถนะใช้สำหรับประเมินผู้ปฏิบัติงานระดับหัวหน้างาน บริหาร และบริหารระดับสูง ประกอบด้วย

                                      (1) การบริหารความเปลี่ยนแปลง

                                      (2) การบริหารเชิงกลยุทธ์

                                      (3) การสอนงานและมอบหมายงาน

                                      (4) ความเป็นผู้นำ

                                      (5) วิสัยทัศน์

                             2.2.3 สมรรถนะตามสายงาน 48 สมรรถนะ ใช้ประเมินตามชื่อตำแหน่งในสายงาน

  1. สัดส่วนการประเมิน

ประเภทตำแหน่ง

สัดส่วนการประเมิน

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน

พฤติกรรมการปฏิบัติงาน (สมรรถนะ)

ปริมาณ
ผลงาน

คุณภาพ
ของงาน

สมรรถนะ
หลัก

สมรรถนะ
การบริหาร

สมรรถนะ
ตามสายงาน

  บริหาร

40

40

10

7

3

  หัวหน้างาน หรือเทียบเท่า

35

35

10

5

5

  วิจัย-วิชาการ

35

35

10

-

10

  ปฏิบัติการ

35

35

10

-

10

 

  1. ระดับผลการประเมิน ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบัน ให้จัดแบ่งกลุ่มคะแนนผลการประเมินเป็น 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์คะแนนแต่ละระดับดังนี้

                   - ระดับดีเยี่ยม              คะแนนประเมินตั้งแต่ 90 คะแนนขึ้นไป

                   - ระดับดีมาก               คะแนนประเมินตั้งแต่ 80 คะแนน แต่ไม่เกิน 89.99 คะแนน

                   - ระดับดี                    คะแนนประเมินตั้งแต่ 70 คะแนน แต่ไม่เกิน 79.99 คะแนน

                   - ระดับพอใช้               คะแนนประเมินตั้งแต่ 60 คะแนน แต่ไม่เกิน 69.99 คะแนน

                   - ระดับต้องปรับปรุง       คะแนนประเมินต่ำกว่า 60 คะแนน

         

หลักเกณฑ์การสรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง พ.ศ. 2563

                   โดยเป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อให้มีความเหมาะสมและความเรียบร้อย สถาบันจึงกำหนดหลักเกณฑ์การสรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างไว้ดังต่อไปนี้

                   ข้อ 1 ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ในการสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

(1) ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ในตำแหน่งที่สถาบันทำการสรรหา หรือคัดเลือก เป็นประธานกรรมการ

(2) เจ้าหน้าที่ที่มีงานเกี่ยวเนื่องกับตำแหน่งที่สถาบันทำการสรรหา หรือคัดเลือก ซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่สถาบันทำการสรรหา หรือคัดเลือก เป็นกรรมการ

(3) เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลงานด้านบริหารงานบุคคล เป็นกรรมการและเลขานุการ

                   ข้อ 2 การประชุมคณะกรรมการตามข้อ 1 ทุกคราวต้องมีประธานกรรมการมาประชุม และจะต้องมีจำนวนกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

                   ข้อ 3 ในการสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดทำแบบคำขอรับเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ตามกรอบอัตรากำลังที่ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติแล้ว เสนอต่อผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติพิจารณาอนุมัติ โดยผ่านรองผู้อำนวยการ และงานบริหารงานบุคคลเพื่อให้ข้อคิดเห็นก่อนนำเสนอ

                   สำหรับการสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง นอกเหนือจากกรอบอัตรากำลังที่ได้รับการอนุมัติไว้แล้วนั้น ให้เสนอต่อผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติ              

                   ข้อ 4 ในการประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหา หรือลูกจ้าง ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลงานบริหารงานบุคคลประกาศคุณสมบัติของตำแหน่งที่ต้องการสรรหาหรือคัดเลือก รวมทั้งรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาหรือคัดเลือกตามเหมาะสม

                   ข้อ 5 ในการสรรหาหรือคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง คณะกรรมการตามข้อ 5 อาจทดสอบความรู้ ความสามารถเฉพาะตำแหน่งของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาหรือคัดเลือกด้วยวิธีการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ ให้ทดลองปฏิบัติงาน หรือดำเนินการทดสอบด้ววิธีอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างรวมกัน

                   ข้อ 6 ให้บรรจุแต่งตั้งนักเรียนทุนรัฐบาล หรือบุคคลที่ผ่านกระบวนการสรรหาหรือคัดเลือกเข้าเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง โดยจะต้องมีการทดลองปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนดการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ตามวรรคหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

(1) เงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นต้นตามวุฒิการศึกษาและภาระงานที่รับผิดชอบในตำแหน่ง

(2) ประสบการณ์การทำงานหรือผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้แก่สำนักงาน

(3) เหตุผลและความจำเป็นอื่นเพื่อประโยชน์ของสถาบัน

                   ข้อ 7 ตำแหน่งและหน้าที่ของบุคคลผู้ที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ให้เป็นไปตามชื่อและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง

                   ข้อ 8 การบรรจุแต่งตั้งตำแหน่งของเจ้าหน้าที่และลูกจ้างในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

                   การบรรจุแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าหน้าที่และลูกจ้างในตำแหน่งที่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง

                   ข้อ 9 ผู้ที่สถาบันจะบรรจุแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างต้องทำการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานตามที่สถาบันกำหนด

                   ข้อ 10 ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของสถาบันที่จะต้องมีบุคคลซึ่งมีความรู้ ความชำนาญหรือประสบการณ์สูง ผู้อำนวยการอาจยกเว้นการดำเนินการขั้นตอนตามข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 13 ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

                   ข้อ 11 ให้ผู้อำนวยการรักษาการตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจออกหลักเกณฑ์ วิธีการ คำสั่ง หรือประกาศใด ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

                   ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดคำวินิจฉัยของผู้อำนวยการให้ถือเป็นที่สุด

 

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2563

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีจรรยาบรรณที่ดีงาม มีผลงานดีเด่นโดยยึดถือความประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้เห็นความสำคัญของการกระทำความดี และยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติงานและสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

คุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอรายชื่อ

  1. เป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์
  2. เป็นผู้ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยหรืออยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย
  3. เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยคุณธรรม ศีลธรรม จรรยาวิชาชีพและเป็นที่ยอมรับของบุคคลในสถาบัน
  4. เป็นผู้ได้รับการยอมรับยกย่องในสังคมผู้ร่วมงานอย่างเปิดเผย
  5. เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติงานในหน้าที่และนอกเหนือหน้าที่สม่ำเสมอ เต็มใจ มีจิตมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
    ที่รับผิดชอบ จนถึงผลงานปรากฏที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบัน มากกว่าผู้อื่นอย่างเด่นชัด
  6. เป็นผู้มีผลงานเชิงประจักษ์ ดีเด่น เป็นที่ยอมรับ สมควรได้รับการยกย่องโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นอันดับแรก ผลงานจากการอุทิศ ทุ่มเท เสียสละ เกิดประโยชน์ยิ่งกับสถาบัน ทั้งนี้ อาจปรากฎเป็นผลงานด้านเอกสารที่สืบค้นได้เชิงประจักษ์ และ/หรือ ผลงานปฏิบัติที่ไม่เป็นเอกสาร แต่เป็นรูปธรรมที่ยอมรับจากทุกฝ่าย
  7. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างการลาศึกษาต่อ

 

ประเภทของบุคลากรดีเด่นและจำนวนรายชื่อที่สามารถเสนอเพื่อรับการคัดเลือก  

ลำดับ

ประเภท

จำนวนรายชื่อที่เสนอได้

1

  บุคลากรดีเด่นสายงานวิจัย

2 รายชื่อ

2

  บุคลากรดีเด่นสายงานบริการวิชาการ

3 รายชื่อ

3

  บุคลากรดีเด่นสายงานวิศวกรรมและเทคนิคเฉพาะทาง

3 รายชื่อ

4

  บุคลากรดีเด่นสายงานสนับสนุน

7 รายชื่อ

หมายเหตุ  - จำนวนรายชื่อที่เสนอได้ คิดจากจำนวนเจ้าหน้าที่รวมในแต่ละสายงาน ในอัตรา 10 คน ต่อ การเสนอ 1 รายชื่อ (เศษ 5 คน ปัดเป็น 1 รายชื่อ)

              - รายละเอียดสายงานและตำแหน่งงาน ตามบัญชีแนบท้าย 1

 

วิธีการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น

  1. 1. ให้หัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาแต่ละหน่วยงาน เป็นผู้เสนอรายชื่อเจ้าหน้าที่ในสังกัดเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของแต่ละประเภท โดยดำเนินการดังนี้

                   1.1 คัดเลือกเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่มีคุณสมบัติตามที่สถาบันกำหนด

                   1.2 กรอกข้อมูลและรับรองคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ลงใน แบบเสนอชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2563

                   1.3 ทำการประเมินลงใน แบบประเมินความประพฤติปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2563 รายละเอียดคำชี้แจงประกอบการประเมิน ตามบัญชีแนบท้าย 2

                   1.4 นำส่ง แบบเสนอชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2563 และ
แบบประเมินความประพฤติปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2563 มายังงานบริหารงานบุคคล ภายในวันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563

  1. งานบริหารงานบุคคลรวบรวมแบบเสนอชื่อฯ และตรวจสอบคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเสนอรายชื่อ
    จากหน่วยงาน แล้วนำรายชื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นพิจารณา
  2. จัดให้มีการลงคะแนนคัดเลือกบุคลากรดีเด่นแต่ละประเภทโดยเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ระหว่างวันที่ 11 - 13 กุมภาพันธ์ 2563
  3. คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรดีเด่น พิจารณารับรองผลการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นทั้ง 4 ประเภท ประเภทละ 1 ราย และคัดเลือกบุคลากรดีเด่นจำนวน 1 ราย จาก 4 ราย เพื่อเสนอชื่อเป็นตัวแทนของสถาบันเข้ารับ
    การคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของกระทรวงต่อไป
  4. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกบุคลากรดีเด่นถือเป็นที่สุด

 

ผู้ประสานงาน

          นายศุภณัฐ  ปัญญาแก้ว  ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล

เบอร์ภายใน 283 E-mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

         

บัญชีแนบท้าย 1

รายละเอียดสายงานและตำแหน่งงาน

สายงาน

ตำแหน่งงาน

หน่วยงาน

อัตราส่วนการนำเสนอ

1. สายงานวิจัย

-    นักวิจัย

-     กลุ่มวิจัย

16 คน : 2 รายชื่อ

2. สายงานบริการวิชาการ

-    ผู้อำนวยการหอดูดาว

-    หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์

-    เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์

-     ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์

-     หอดูดาวฯ นครราชสีมา

-     หอดูดาวฯ ฉะเชิงเทรา

-     หอดูดาวฯ สงขลา

-     หอดูดาวฯ ขอนแก่น

31 คน : 3 รายชื่อ

3. สายงานวิศวกรรมและเทคนิคเฉพาะทาง

-    ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวแห่งชาติฯ

-    ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ

-    หัวหน้างานปฏิบัติการเทคนิคและซ่อมบำรุง

-    หัวหน้างานปฏิบัติการหอดูดาวแห่งชาติ

-    หัวหน้างานพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรม

-    ช่างเทคนิค/นายช่างเทคนิค

-    เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์

-    เจ้าหน้าที่เทคนิคดาราศาสตร์

-    วิศวกร

-     ศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวแห่งชาติและวิศวกรรม

-     ศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ

25 คน : 3 รายชื่อ

4. สายงานสนับสนุน

-    ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยสารสนเทศ

-    ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารงานวิจัยอาวุโส

-    ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์อาวุโส

-    ผู้อำนวยการกลุ่มงานการเงินและบัญชี

-    ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมาย

-    ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์

-    หัวหน้างานการเงินและบัญชี

-    หัวหน้างานบริหารงานบุคคล

-    หัวหน้างานประชาสัมพันธ์

-    หัวหน้างานพัสดุ

-    หัวหน้างานยุทธศาสตร์และงบประมาณ

-    หัวหน้างานอาคารและสถานที่

-    หัวหน้างานอำนวยการ

-    เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

-    เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์

-    เจ้าหน้าที่จัดการงานทั่วไป

-    เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

-    เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล

-    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

-    เจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัย

-    เจ้าหน้าที่พัสดุ

-    เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ

-    เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

-    เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์

-    ช่างเทคนิค/นายช่างเทคนิค

-    นิติกร

-    บรรณารักษ์

-    พนักงานจัดการงานทั่วไป/

-    พนักงานธุรการ

-    วิศวกร

-    สถาปนิก

-     งานกฎหมาย

-     งานการเงินและบัญชี

-     งานบริหารงานบุคคล

-     งานบริหารงานวิจัย

-     งานประชาสัมพันธ์

-     งานพัสดุและทรัพย์สิน

-     งานยุทธศาสตร์และงบประมาณ

-     งานวิเทศสัมพันธ์

-     งานอาคารสถานที่

-     งานอำนวยการ

-     ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์

-     ศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวแห่งชาติและวิศวกรรม

-     ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

-     หน่วยตรวจสอบภายใน

-     ห้องสมุดดาราศาสตร์

-     หอดูดาวฯ ฉะเชิงเทรา

-     หอดูดาวฯ นครราชสีมา

-     หอดูดาวฯ สงขลา

68 คน : 7 รายชื่อ

 

บัญชีแนบท้าย 2

คำชี้แจงประกอบการประเมิน

          การพิจารณาคัดเลือกเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นบุคลากรดีเด่น โดยพิจารณาจากความประพฤติและ
การปฏิบัติตน มนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย โดยให้ผู้บังคับบัญชาหรือ
หัวหน้างานเป็นผู้ประเมิน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ และการให้ค่าคะแนนตามแบบการประเมิน ดังต่อไปนี้

  1. การครองตน หมายถึง ความประพฤติ การปฏิบัติตนชอบด้วยคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับของบุคคลในกลุ่มงานและสถาบัน ประกอบด้วยคุณธรรม ควรแก่การยกย่อง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้

                   1.1 การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ

                             1.1.1 มีความวิริยะ อุตสาหะ ในงานหน้าที่ความรับผิดชอบ

                             1.1.2 มีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ให้ได้รับความสำเร็จด้วยตนเอง

                             1.1.3 มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหา อุปสรรค

                             1.1.4 มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และผู้อื่น

                   1.2 การประหยัดและเก็บออม

                             1.2.1 รู้จักใช้จ่ายตามควรแก่ฐานะ

1.2.2 รู้จักใช้ทรัพย์สินของสถาบันให้เป็นประโยชน์ ประหยัด อย่างมีประสิทธิภาพและ
เกิดประสิทธิผล

                             1.2.3 รู้จักมัธยัสถ์และเก็บออม เพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว

                             1.2.4 รู้จักดูแล บำรุง และรักษาทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม

                   1.3 การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย ตรงต่อเวลา ประพฤติและปฏิบัติตนอันเป็นตัวอย่างที่

                        ดีแก่บุคลากร

                             1.3.1 เป็นผู้รักษาและปฏิบัติตนตามระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน

                             1.3.2 ประพฤติและปฏิบัติตน อันอาจเป็นตัวอย่างแก่บุคคลโดยทั่วไป

                             1.3.3 เชื่อฟังและให้ความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา

                             1.3.4 เป็นผู้ตรงต่อเวลา

                   1.4 การปฏิบัติตามคุณธรรมและศิลธรรมอันดี

                             1.4.1 ละเว้นต่อการประพฤติชั่วและไม่ลุ่มหลงอบายมุข

                             1.4.2 เอื้อเฟื้อ ซื่อสัตย์ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

                             1.4.3 มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น

                             1.4.4 มีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารีต่อบุคคลอื่นโดยทั่วไป

                   1.5 การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

                             1.5.1 ส่งเสริม สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และปฏิบัติตามนโยบายของสถาบันและรัฐบาล

                             1.5.2 เข้าร่วมในศาสนกิจและทำนุบำรุงศาสนา

                             1.5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี เช่น ป้องกันประเทศ เสียภาษี เคารพกฎหมาย เป็นต้น

                             1.5.4 มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตาม

                                    พระบรมราโชวาท หรือเข้าร่วมพิธีในโอกาสสำคัญอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตรปกติ เป็นต้น

  1. การครองคน หมายถึง เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ ยกย่องในสังคมผู้ร่วมงานอย่างเปิดเผย มีความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

                   2.1 ความสามารถในการประสานสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่องาน

                             2.1.1 เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์

                             2.1.2 ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                             2.1.3 กล้าและรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ

                             2.1.4 มีน้ำใจช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

                   2.2 ความสามารถในการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือ

                             2.2.1 ให้ความเห็น ปรึกษา และเสนอแนะในงานที่ตนรับผิดชอบ

                             2.2.2 การมีส่วนร่วมในงานที่รับผิดชอบ

                             2.2.3 ยอมรับและฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานและเปิดโอกาสทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น

                             2.2.4 มีความสามารถในการคิดและเสนอเหตุผล

                             2.2.5 สามารถปฏิบัติงานเต็มที่ตามความรู้ ความสามารถ

                   2.3 ให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเสมอภาค แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

                             2.3.1 มีความสำนึกและถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องให้บริการ

                             2.3.2 ช่วยเหลือ แนะนำในสิ่งที่ดี ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์

                             2.3.3 ให้บริการด้วยความเต็มใจ และเสมอภาคกันทุกระดับ

                             2.3.4 มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และสุภาพต่อทุกคน

                   2.4 การเป็นผู้มีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น

                             2.4.1 ประพฤติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ วิธีการที่กำหนด

                             2.4.2 ถือประโยชน์ของสถาบันหรือส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

                             2.4.3 ตัดสิน วินิจฉัย หรือแก้ปัญหา โดยใช้เหตุผล

                   2.5 การเสริมสร้างความสามัคคี และร่วมกิจกรรมของหมู่คณะ ทั้งในและนอกสถาบัน

                             2.5.1 การให้ความร่วมมือ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมที่สถาบันจัดขึ้น

                             2.5.2 เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่องาน

                             2.5.3 ให้ความสำคัญ ยกย่อง หรือให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน

  1. การครองงาน หมายถึง ประพฤติปฏิบัติในหน้าที่และนอกเหนือหน้าที่ สม่ำเสมอ เต็มใจ มีจิตมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานที่รับผิดชอบ จนมีผลงานปรากฎที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มากกว่าผู้อื่นอย่างเด่นชัด มีความสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายอย่างดี โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

                   3.1 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

                             3.1.1. ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ

                             3.1.2 มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ได้รับความสำเร็จ

                             3.1.3 สนใจและเอาใจใส่งานที่รับผิดชอบ

                             3.1.4 ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบและที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

                             3.1.5 ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน

                   3.2 มีความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

                             3.2.1 มีความรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ มติ กฎหมาย และนโยบาย

                                    ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

                             3.2.2 มีความสามารถในการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

                             3.2.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีปฎิภาณไหวพริบ ในการปฏิบัติงาน

                             3.2.4 รักและชอบที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย

                                    ด้วยความเต็มใจ

                   3.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงงาน

                             3.3.1 มีความสามารถในการคิดริเริ่ม หาหลักการ แนวทาง วิธีการใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ในการ

                                    ปฏิบัติงาน

                             3.3.2 มีความสามารถในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                             3.3.3 มีความสามารถในการทำงานที่ยาก หรืองานใหม่ให้สำเร็จเป็นผลดี

                   3.4 ความพากเพียรในการทำงาน และมีผลงานเป็นที่น่าพอใจ

                             3.4.1 มีความกระตือรือร้น ต้องการที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

                             3.4.2 มีความขยันหมั่นเพียร เสียสละ และอุทิศเวลาให้แก่สถาบันหรืองานที่ได้รับผิดชอบ

                             3.4.3 ได้รับการยกย่องในความสำเร็จของงาน

                             3.4.4 สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่มีข้อจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขาดแคลนวัสดุ

                                    อุปกรณ์ หรือ อัตรากำลัง เป็นต้น

                   3.5 การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม

                             3.5.1 การปฏิบัติงานยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวม

                             3.5.2 การดำเนินงานสอดคล้องหรือเป็นไปตามความต้องการของส่วนรวม

                             3.5.3 ใช้วัสดุ อุปกรณ์และสาธารณูปโภคได้อย่างประหยัดและเหมาะะสม

                             3.5.4 ร่วมมือ ช่วยเหลือ และประสานงานระหว่างกลุ่มงานภายในสถาบัน

  1. ผลงานดีเด่น หมายถึง มีผลงานเชิงประจักษ์ ดีเด่น เป็นที่ยอมรับ สมควรได้รับการยกย่องให้ความรวมถึงผลการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นอันดับแรก ผลงานจากการอุทิศ ทุ่มเท เสียสละ เกิดประโยชน์ยิ่งกับส่วนรวมและสถาบัน ทั้งนี้
    อาจปรากฎเป็นผลงานด้านเอกสารที่สืบค้นได้เชิงประจักษ์ และ/หรือ ผลการปฏิบัติที่ไม่ปรากฎเป็นเอกสารแต่เป็นรูปธรรมที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

                   4.1 ผลงานที่ปรากฎเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบ

                             4.1.1 เอาใจใส่ ดูแล การบริการผู้ที่มาติดต่อขอรับบริการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

                             4.1.2 งานที่ปฏิบัติสำเร็จด้วยความเรียบร้อย

                             4.1.3 ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า ทันตามกำหนด

                   4.2 ผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสถาบัน

                             4.2.1 เป็นผลงานที่ทางสถาบันได้รับประโยชน์

                             4.2.2 เจ้าหน้าที่ของสถาบันได้รับประโยชน์จากผลงานที่ปฏิบัติ

                             4.2.3 ใช้งบประมาณของทางสถาบันน้อยแต่ได้รับประโยชน์มาก

                   4.3 เป็นผลงานการบริการที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นได้

                             4.3.1 ผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือแก่บุคคลอื่น

                             4.3.2 เป็นลักษณะผลงานที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน

                             4.3.3 บุคคลอื่นสามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างได้

                   4.4 ผลงานที่มีนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

                             4.4.1 มีความคิดริเริ่มในการพัฒนา ต่อยอดงาน ชิ้นงานที่เป็นสิ่งใหม่ ทันสมัย มีความท้าทาย

                                    หรือปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ กระบวนการที่ส่งผลให้เกิดสิ่งใหม่

                             4.4.2 นำเทคนิค วิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน

4.4.3 ผลการปฏิบัติงาน ชิ้นงานนั้น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณค่าการให้บริการ/การพัฒนาองค์กร สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีความคุ้มค่าในการลงทุน และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มงานและสถาบันที่ดีขึ้น

                   4.5 เป็นผลงานที่ต้องปฏิบัติด้วยความเสียสละ วิริยะ อุตสาหะ

                             4.5.1 ปฏิบัติงานในเวลาราชการโดยไม่บกพร่อง

                             4.5.2 อุทิศตนปฏิบัติงานนอกเหนือเวลาราชการ

                             4.5.3 มีความพากเพียรพยายามในการทำงาน

----------------------------------------------------

 

 

เอกสารประกอบการประเมินความประพฤติปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2563

 

คำชี้แจง ให้ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้ากลุ่มงานที่เสนอชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น เป็นผู้ประเมินจากประวัติและผลงาน โดยให้ทำเครื่องหมาย ü ลงในช่องคะแนนประเมิน โดยให้ค่าคะแนนตามรายการประเมิน ดังนี้

ดีเยี่ยม = 5 คะแนน, ดีมาก = 4 คะแนน, ดี = 3 คะแนน, ปานกลาง = 2 คะแนน, พอใช้ = 1 คะแนน

รายการประเมิน

ดีเยี่ยม

ดีมาก

ดี

ปานกลาง

พอใช้

1. การครองตน (25 คะแนน)

1.1 การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบ

1.1.1 มีความวิริยะ อุตสาหะ ในงานหน้าที่ความรับผิดชอบ

1.1.2 มีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ให้ได้รับความสำเร็จด้วยตนเอง

1.1.3 มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหา อุปสรรค

1.1.4 มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และผู้อื่น

แสดงออกถึงลักษณะ
การพึ่งตนเองขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

1.2 การประหยัดและเก็บออม

1.2.1 รู้จักใช้จ่ายตามควรแก่ฐานะ

1.2.2 รู้จักใช้ทรัพย์สินของสถาบันให้เป็นประโยชน์ ประหยัด อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

1.2.3 รู้จักมัธยัสถ์และเก็บออม เพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว

1.2.4 รู้จักดูแล บำรุง และรักษาทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม

แสดงออกถึงลักษณะการประหยัดและเก็บออมได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

1.3 การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย ตรงต่อเวลา ประพฤติและปฏิบัติตนอันเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร

1.3.1 เป็นผู้รักษาและปฏิบัติตนตามระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน

1.3.2 ประพฤติและปฏิบัติตน อันอาจเป็นตัวอย่างแก่บุคคลโดยทั่วไป

1.3.3 เชื่อฟังและให้ความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา

1.3.4 เป็นผู้ตรงต่อเวลา

แสดงออกถึงลักษณะการรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย ฯได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

1.4 การปฏิบัติตามคุณธรรมและศิลธรรมอันดี

1.4.1 ละเว้นต่อการประพฤติชั่วและไม่ลุ่มหลงอบายมุข

1.4.2 เอื้อเฟื้อ ซื่อสัตย์ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

1.4.3 มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น

1.4.4 มีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารีต่อบุคคลอื่นโดยทั่วไป

แสดงออกถึงลักษณะการปฏิบัติตามคุณธรรมและศิลธรรมอันดีได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

1.5 การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

1.5.1 ส่งเสริม สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และปฏิบัติตามนโยบายของสถาบันและรัฐบาล

1.5.2 เข้าร่วมในศาสนกิจและทำนุบำรุงศาสนา

1.5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี เช่น ป้องกันประเทศ เสียภาษี เคารพกฎหมาย
เป็นต้น

1.5.4 มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามพระบรมราโชวาท หรือเข้าร่วมพิธีในโอกาสสำคัญอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตรปกติ เป็นต้น

แสดงออกถึงลักษณะการมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

2. การครองคน (25 คะแนน)

2.1 ความสามารถในการประสานสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้บังคับบัญชา เพื่อร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่องาน

2.1.1 เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์

2.1.2 ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

2.1.3 กล้าและรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ

2.1.4 มีน้ำใจช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

แสดงออกถึงลักษณะความสามารถในการประสานสัมพันธ์ ฯได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

2.2 ความสามารถในการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือ

2.2.1 ให้ความเห็น ปรึกษา และเสนอแนะในงานที่ตนรับผิดชอบ

2.2.2 การมีส่วนร่วมในงานที่รับผิดชอบ

2.2.3 ยอมรับและฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานและเปิดโอกาสทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น

2.2.4 มีความสามารถในการคิดและเสนอเหตุผล

2.2.5 สามารถปฏิบัติงานเต็มที่ตามความรู้ ความสามารถ

แสดงออกถึงลักษณะความสามารถในการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม ฯได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

2.3 ให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเสมอภาค แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

2.3.1 มีความสำนึกและถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องให้บริการ

2.3.2 ช่วยเหลือ แนะนำในสิ่งที่ดี ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์

2.3.3 ให้บริการด้วยความเต็มใจ และเสมอภาคกันทุกระดับ

2.3.4 มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และสุภาพต่อทุกคน

แสดงออกถึงลักษณะให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเสมอภาค แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

2.4 การเป็นผู้มีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น

2.4.1 ประพฤติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ วิธีการที่กำหนด

2.4.2 ถือประโยชน์ของสถาบันหรือส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

2.4.3 ตัดสิน วินิจฉัย หรือแก้ปัญหา โดยใช้เหตุผล

แสดงออกถึงลักษณะ

การเป็นผู้มีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

2.5 การเสริมสร้างความสามัคคี และร่วมกิจกรรมของหมู่คณะ ทั้งในและนอกสถาบัน

2.5.1 การให้ความร่วมมือ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมที่สถาบันจัดขึ้น

2.5.2 เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่องาน

2.5.3 ให้ความสำคัญ ยกย่อง หรือให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน

แสดงออกถึงลักษณะการเสริมสร้างความสามัคคี และร่วมกิจกรรมของ

หมู่คณะ ทั้งในและ

นอกสถาบันได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

3. การครองงาน (25 คะแนน)

3.1 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

3.1.1. ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ

3.1.2 มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ได้รับความสำเร็จ

3.1.3 สนใจและเอาใจใส่งานที่รับผิดชอบ

3.1.4 ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบและที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

3.1.5 ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน

แสดงออกถึงลักษณะ

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

3.2 มีความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

3.2.1 มีความรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ มติ กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

3.2.2 มีความสามารถในการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

3.2.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีปฎิภาณไหวพริบ ในการปฏิบัติงาน

3.2.4 รักและชอบที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ หรืองานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ

แสดงออกถึงลักษณะ

มีความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

3.3 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงงาน

3.3.1 มีความสามารถในการคิดริเริ่ม หาหลักการ แนวทาง วิธีการใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

3.3.2 มีความสามารถในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.3.3 มีความสามารถในการทำงานที่ยาก หรืองานใหม่ให้สำเร็จเป็นผลดี

แสดงออกถึงลักษณะ

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงงานได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

3.4 ความพากเพียรในการทำงาน และมีผลงานเป็นที่น่าพอใจ

3.4.1 มีความกระตือรือร้น ต้องการที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

3.4.2 มีความขยันหมั่นเพียร เสียสละ และอุทิศเวลาให้แก่สถาบันหรืองานที่ได้รับผิดชอบ

3.4.3 ได้รับการยกย่องในความสำเร็จของงาน

3.4.4 สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่มีข้อจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์ หรือ อัตรากำลัง เป็นต้น

แสดงออกถึงลักษณะ

ความพากเพียรในการทำงาน และมีผลงานเป็นที่น่าพอใจได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

3.5 การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม

3.5.1 การปฏิบัติงานยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวม

3.5.2 การดำเนินงานสอดคล้องหรือเป็นไปตามความต้องการของส่วนรวม

3.5.3 ใช้วัสดุ อุปกรณ์และสาธารณูปโภคได้อย่างประหยัดและเหมาะะสม

3.5.4 ร่วมมือ ช่วยเหลือ และประสานงานระหว่างกลุ่มงานภายในสถาบัน

แสดงออกถึงลักษณะ

การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

4  ประเด็นขึ้นไป

4. ผลงานดีเด่น (25 คะแนน)

4.1 ผลงานที่ปรากฎเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบ

4.1.1 เอาใจใส่ ดูแล การบริการผู้ที่มาติดต่อขอรับบริการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

4.1.2 งานที่ปฏิบัติสำเร็จด้วยความเรียบร้อย

4.1.3 ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า ทันตามกำหนด

แสดงออกถึงลักษณะ

การผลงานที่ปรากฎเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

4.2 ผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสถาบัน

4.2.1 เป็นผลงานที่ทางสถาบันได้รับประโยชน์

4.2.2 เจ้าหน้าที่ของสถาบันได้รับประโยชน์จากผลงานที่ปฏิบัติ

4.2.3 ใช้งบประมาณของทางสถาบันน้อยแต่ได้รับประโยชน์มาก

แสดงออกถึงลักษณะผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสถาบัน

ได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

4.3 เป็นผลงานการบริการที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นได้

4.3.1 ผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือแก่บุคคลอื่น

4.3.2 เป็นลักษณะผลงานที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน

4.3.3 บุคคลอื่นสามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างได้

แสดงออกถึงลักษณะ

เป็นผลงานการบริการที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นได้

ได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

4.4 ผลงานที่มีนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.4.1 มีความคิดริเริ่มในการพัฒนา ต่อยอดงาน ชิ้นงานที่เป็นสิ่งใหม่ ทันสมัย มีความท้าทาย หรือปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ กระบวนการที่ส่งผลให้เกิดสิ่งใหม่

4.4.2 นำเทคนิค วิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน

4.4.3 ผลการปฏิบัติงาน ชิ้นงานนั้น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณค่าการให้บริการ/การพัฒนาองค์กร สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีความคุ้มค่าในการลงทุน และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มงานและสถาบันที่ดีขึ้น

แสดงออกถึงลักษณะ

ผลงานที่มีนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่

ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

4.5 เป็นผลงานที่ต้องปฏิบัติด้วยความเสียสละ วิริยะ อุตสาหะ

4.5.1 ปฏิบัติงานในเวลาราชการโดยไม่บกพร่อง

4.5.2 อุทิศตนปฏิบัติงานนอกเหนือเวลาราชการ

4.5.3 มีความพากเพียรพยายามในการทำงาน

แสดงออกถึงลักษณะ

เป็นผลงานที่ต้องปฏิบัติด้วยความเสียสละ วิริยะ อุตสาหะได้อย่างชัดเจนจนครบถ้วนทุกข้อ

มีครบแต่ไม่สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์

1 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

2 ประเด็น

ไม่สมบูรณ์

3 ประเด็น

-

--------------------------------------------

นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

        เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยึดหลักธรรมาภิบาล  ส่งเสริมให้มีผู้ปฏิบัติงานของสถาบัน
มีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานอย่างมืออาชีพ อันจะเป็นกำลังอันสำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และเป้าหมายของสถาบัน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จึงออกกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนี้

  1. ด้านการสรรหา (Recruitment)

              โดยผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ทุกส่วนงาน ร่วมกับงานบริหารงานบุคคล ดำเนินการวางแผนกำลังคน แสวงหาบุคคลตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของสถาบัน เพื่อเข้าปฏิบัติงานตามพันธกิจของสถาบัน

               แนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้

                    1.1 จัดทำแผนอัตรากำลังระยะสั้นและระยะยาว เพื่อใช้ในการกำหนดโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังที่รองรับต่อพันธกิจของสถาบัน

                    1.2 จัดทำและดำเนินการตามแผนสรรหาผู้ปฏิบัติงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสียกำลังคน โดยมุ่งเน้นให้มีอัตราว่างไม่เกินร้อยละ 5 ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด

                    1.3 การรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของสถาบัน ต้องประกาศทางเว็บไซต์ของสถาบัน และแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มแรงงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                    1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการในการสรรหาและคัดเลือกจากผู้แทนหน่วยงาน เพื่อให้สามารถคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นคนดีสอดคล้องตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน

 

  1. ด้านการพัฒนา (Development)

              โดยผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ทุกส่วนงาน ร่วมกับงานบริหารงานบุคคล ดำเนินการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน เตรียมความพร้อมเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีสมรรถนะสูงของสถาบัน พัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามเสนทางการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถรองรับภารกิจของสถาบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

                    2.1 จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีให้สอดคล้องตามความจำเป็น และความต้องการในการพัฒนาของผู้ปฏิบัติงานในทุกหน่วยงาน

                    2.2 จัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากร (Training and Development Roadmap) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่ง  

                    2.3 สร้างช่องทางการพัฒนาความรู้ตามสายงานที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัด

                    2.4 ผู้บังคับบัญชาต้องวางแผนและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                    2.5 จัดให้มีการประเมินผู้ปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่สถาบันกำหนด

 

  1. ด้านการรักษาไว้ (Retention)

              โดยผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ทุกส่วนงาน ร่วมกับงานบริหารงานบุคคล ดำเนินการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ แผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan) หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์และคุณภาพชีวิต เพื่อบุคลากรเกิดความผูกพันต่อสถาบัน

               แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

                   3.1 จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพและสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบ

                   3.2 ดำเนินโครงการนำร่องจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan) ในตำแหน่งผู้อำนวยการหอดูดาวภูมิภาค เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต

                   3.3 จัดกิจกรรมการยกย่อง ชมเชยผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับสถาบัน และหากผู้ปฏิบัติงานที่ประพฤติดีสมควรแก่การเป็นแบบอย่างให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้งานบริหารงานบุคคลรับทราบเพื่อเสนอผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติพิจารณาต่อไป

                   3.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์และความสามัคคีที่ดี ร่วมทั้งส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ

                   3.5 ควบคุมให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนด พร้อมทั้งให้การเลื่อนเงินเดือนของผู้ปฏิบัติงาน เป็นไปตามช่วงเวลาที่กำหนด หากมีผู้ปฏิบัติงานร้องขอความเป็นธรรมให้รวบรวมและรีบนำแสนอต่อผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติพิจารณาโดยด่วน

 

  1. ด้านการใช้ประโยชน์ (Utilization)

              โดยทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันในการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าถึงช่องทางการรับทราบข้อมูลด้านการบริหารทรัพยการบุคคล รวมทั้งควบคุม กำกับ ดูแลให้ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

               แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

                   4.1 ให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งควบคุม กำกับ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบ วินัย ประมวลจริยธรรมของสถาบัน หากผู้ใต้บังคับบัญชากระทำความผิด หรือทุจริตให้รายงานให้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติทราบโดยเร็ว

                   4.2 การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้ง (เลื่อน) ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นในตำแหน่งต่าง ๆ ต้องประกาศแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าถึงข้อมูลการคัดเลือกได้อย่างเท่าเทียม

                   4.3 การพิจารณาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นในตำแหน่งต่าง ๆ จะยึดถือความรู้ ความสามารถและประโยชน์สูงสุดที่สถาบันได้รับเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก   

 

นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาต

        เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยึดหลักธรรมาภิบาล  ส่งเสริมให้มีผู้ปฏิบัติงานของสถาบันมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานอย่างมืออาชีพ อันจะเป็นกำลังอันสำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และเป้าหมายของสถาบัน

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จึงออกกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนี้

 

ด้านการสรรหา (Recruitment)

              โดยผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ทุกส่วนงาน ร่วมกับงานบริหารงานบุคคล ดำเนินการวางแผนกำลังคน แสวงหาบุคคลตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของสถาบัน เพื่อเข้าปฏิบัติงานตามพันธกิจของสถาบัน

               แนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้

                    1.1 จัดทำแผนอัตรากำลังระยะสั้นและระยะยาว เพื่อใช้ในการกำหนดโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังที่รองรับต่อพันธกิจของสถาบัน

                    1.2 จัดทำและดำเนินการตามแผนสรรหาผู้ปฏิบัติงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสียกำลังคน โดยมุ่งเน้นให้มีอัตราว่างไม่เกินร้อยละ 5 ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด

                    1.3 การรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของสถาบัน ต้องประกาศทางเว็บไซต์ของสถาบัน และแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มแรงงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                    1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการในการสรรหาและคัดเลือกจากผู้แทนหน่วยงาน เพื่อให้สามารถคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นคนดีสอดคล้องตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน

 

ด้านการพัฒนา (Development)

              โดยผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ทุกส่วนงาน ร่วมกับงานบริหารงานบุคคล ดำเนินการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน เตรียมความพร้อมเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีสมรรถนะสูงของสถาบัน พัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามเสนทางการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถรองรับภารกิจของสถาบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

                    2.1 จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีให้สอดคล้องตามความจำเป็น และความต้องการในการพัฒนาของผู้ปฏิบัติงานในทุกหน่วยงาน

                    2.2 จัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากร (Training and Development Roadmap) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่ง 

                    2.3 สร้างช่องทางการพัฒนาความรู้ตามสายงานที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัด

                    2.4 ผู้บังคับบัญชาต้องวางแผนและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                    2.5 จัดให้มีการประเมินผู้ปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่สถาบันกำหนด

 

ด้านการรักษาไว้ (Retention)

              โดยผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ทุกส่วนงาน ร่วมกับงานบริหารงานบุคคล ดำเนินการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ แผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan) หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์และคุณภาพชีวิต เพื่อบุคลากรเกิดความผูกพันต่อสถาบัน

               แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

                   3.1 จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพและสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบ

                   3.2 ดำเนินโครงการนำร่องจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan) ในตำแหน่งระดับบังคับบัญชา และบริหารที่สำคัญ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต

                   3.3 จัดกิจกรรมการยกย่อง ชมเชยผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับสถาบัน และหากผู้ปฏิบัติงานที่ประพฤติดีสมควรแก่การเป็นแบบอย่างให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้งานบริหารงานบุคคลรับทราบเพื่อเสนอผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติพิจารณาต่อไป

                   3.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์และความสามัคคีที่ดี ร่วมทั้งส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ

                   3.5 ควบคุมให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถาบันกำหนด พร้อมทั้งให้การเลื่อนเงินเดือนของผู้ปฏิบัติงาน เป็นไปตามช่วงเวลาที่กำหนด หากมีผู้ปฏิบัติงานร้องขอความเป็นธรรมให้รวบรวมและรีบนำแสนอต่อผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติพิจารณาโดยด่วน

 

ด้านการใช้ประโยชน์ (Utilization)

              โดยทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันในการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าถึงช่องทางการรับทราบข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งควบคุม กำกับ ดูแลให้ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

               แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

                   4.1 ให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งควบคุม กำกับ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบ วินัย ประมวลจริยธรรมของสถาบัน หากผู้ใต้บังคับบัญชากระทำความผิด หรือทุจริตให้รายงานให้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติทราบโดยเร็ว

                   4.2 การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานที่จะเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้ง (เลื่อน) ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นในตำแหน่งต่าง ๆ ต้องประกาศแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าถึงข้อมูลการคัดเลือกได้อย่างเท่าเทียม

                   4.3 การพิจารณาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นในตำแหน่งต่าง ๆ จะยึดถือความรู้ ความสามารถและประโยชน์สูงสุดที่สถาบันได้รับเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก  

 

รายงานผลการบริหารบุคคลประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

รายงานผลการบริหารบุคคลประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

กิจกรรมดาราศาสตร์


outreach student          outreach teacher          outreach public                    

 

 
กิจกรรมที่ผ่านมา งานอบรม/สัมมนา
NARIT Social Media
     

 

       

 

 banner download     banner service download 03    banner media download 02
 

EIT ITA 2024  ETDA Banner 2567 

Citizen Portal 3 years plan 1200 x 800   E SDG logo

pdpa link
 

ITA 2567 banner 

                  qr code traffy fondue        feedback banner
               Traffy Fondue

E Learning Oic jahh banner
duga banner

researchexpo2023

 

event banner 

    virtualtour