8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
Hits:1324
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...
อ่านต่อ ...NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…
Hits:861
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...
อ่านต่อ ...17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”
Hits:566
จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...
อ่านต่อ ...กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”
Hits:1592
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...
อ่านต่อ ...ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…
Hits:1509
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...
อ่านต่อ ...นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…
Hits:4597
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...
อ่านต่อ ...- บทความดาราศาสตร์
- บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
- จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
- จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
- Download
การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…
Hits:3781
เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...
อ่านต่อ ...โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์
Hits:2711
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...
อ่านต่อ ...วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย
Hits:2202
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...
อ่านต่อ ...ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป
Hits:9330
[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...
อ่านต่อ ...27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี
Hits:21795
ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...
อ่านต่อ ...ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก
Hits:15108
ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...
อ่านต่อ ...แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563
Hits:15645
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...
อ่านต่อ ...คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์
Hits:17123
ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...
อ่านต่อ ...จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
Hits:4772
ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series
บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น
จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
Hits:4749
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)
NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ
สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight มีเนื้อหา 6 ตอน ได้แก่
หนังสือ
Hits:4473
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์ ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก
ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต
ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2563 “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้
ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
- ข่าวรับสมัครงาน
- รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
- NARIT INTERNSHIP PROGRAM
- รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
- ข่าว อว
12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่
Hits:560
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...
อ่านต่อ ...12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…
Hits:719
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...
อ่านต่อ ...ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…
Hits:2391
ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...
อ่านต่อ ...การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…
Hits:520
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อ่านต่อ ...ประกาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อสื่อการเรียนรู้สำหรับกิจกรรมทางดาราศาสตร์ จำนวน 2 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
Hits:6
...
อ่านต่อ ...ประกาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการติดตั้งฟิล์มกรองแสง จำนวน 1 งาน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
Hits:7
...
อ่านต่อ ...ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกลูกจ้างโครงการ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 1 อัตรา
Hits:66
...
อ่านต่อ ...ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่เทคนิคสารสนเทศ จำนวน 1 อัตรา
Hits:55
...
อ่านต่อ ...หอดูดาว
หอดูดาว
หอดูดาวควบคุมระยะไกล
ประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 5 ถึง 20 องศาเหนือ ท้องฟ้าที่ทำการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์ต่างๆ ในประเทศไทยนั้น จะเป็นท้องฟ้าในซีกฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) ทั้งหมด และท้องฟ้าในซีกโลกใต้ (Southern Hemisphere) บางส่วนเท่านั้น อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการศึกษาใจกลางของแกแล็คซีทางช้างเผือก ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ และมีวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจจำนวนมากรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาใจกลางทางช้างเผือกนี้ จะเป็นช่วงเวลาประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคมทุกปีซึ่งตรงกับฤดูฝนในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว สดร. จึงได้ทำการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 - 0.7 เมตร ที่มีกล้องถ่ายภาพ (CCD) คุณภาพสูง สามารถควบคุมระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไว้ ณ สถานที่ต่างๆ รวม 4 แห่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ของนักวิจัย รวมถึงการให้บริการแก่โรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยที่ต้องการทำการศึกษา หรือสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า ซึ่งการที่มีเครือข่ายดังกล่าว จะทำให้นักดาราศาสตร์ไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลา ทั้งซีกฟ้าเหนือ และซีกฟ้าใต้
สดร. มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 - 0.7 เมตร ณ หอดูดาวในประเทศต่างๆ ประกอบด้วย
- หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี
- หอดูดาว Gao Mei Gu มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
- หอดูดาว Sierra Remote มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
- หอดูดาว SpringBrook นิวเซาว์เวลล์ (NWS) ออสเตรเลีย
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติของประเทศไทย
1. หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี สดร.ได้ร่วมมือกับ University of North Carolina ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ภายใต้โครงการ PROMPT (Panchromatic Robotic Optical Monitoring and Polarimetry Telescopes) ซึ่งประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล โดยสถานที่ที่ติดตั้ง คือ หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี (ซีกฟ้าใต้) ซึ่งการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าว ทำให้จำนวนคืนที่สังเกตการณ์ได้ในแถบนี้มีมากกว่า 300 คืนต่อปีนอกจากนี้ ยังมีข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ สามารถใช้กล้องสนับสนุนการเรียนการสอนหรือใช้สังเกตการณ์วัตถุ ท้องฟ้าในซีกฟ้าใต้ได้ในเวลากลางวันขอประเทศไทย เนื่องจาก ในเวลาช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลากลางคืนที่หอดูดาว CTIO พอดี โดยสดร.เริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา สำหรับผลการใช้งานของกล้อง PROMPT 8 ณ หอดูดาว CTIO สาธารณรัฐชิลี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560) รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 400.43 ชั่วโมง และเดือนที่มีผลการใช้งานสูงที่สุด คือ เดือนมิถุนายน 2560 มีปริมาณการใช้งานถึง 68.35 ชั่วโมง รายละเอียดตามกราฟแสดงสถิติการใช้งานข้างล่างนี้ |
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ภายใต้โครงการ PROMPT ณ Cerro Tololo ประเทศชิลี |
2. หอดูดาว Gao Mei Gu สาธารณรัฐประชาชนจีน สดร. ลงนามความเข้าใจด้านความร่วมมือกับหอดูดาวยูนนานสาธารณ สำหรับผลการใช้งานของกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ณ หอดูดาว Gao Mei Gu สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีงบประ |
|
3. หอดูดาว Sierra Remote สหรัฐอเมริกา สดร.ได้ดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาว Sierra Remote Observatories (SRO) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตป่าสน บนภูเขาสูง อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ไม่มีแสงรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สภาพท้องฟ้าและอากาศเหมาะสมต่อการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ตลอดทั้งปี กล้องโทรทรรศน์ฯ ตัวนี้ ทำหน้าที่ในการติดตามวัตถุต่างๆ ในซีกฟ้าเหนือ ซึ่งสามารถรองรับการทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังรองรับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เพื่อความสวยงามได้อีกด้วย นอกจากการติดตั้งกล้องฯ 0.7 เมตรแล้ว สดร. ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มอรรถประโยชน์ในการใช้งาน คือ
จุดเด่นของกล้องโทรทรรศน์ฯ ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาว SRO คือ นักวิจัยหรือผู้ที่ใช้งาน สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลความต้องการบนหน้าเว็ปไซด์ของระบบ AstroNet โดยไม่ต้องอยู่ควบคุมตลอดเวลา นอกจากนี้ นักวิจัย ยังสามารถติดตามวัตถุบนท้องฟ้าได้ในเวลากลางวันของประเทศไทย เนื่องจาก เวลาของประเทศไทย กับ หอดูดาว Sierra Remote Observatories (SRO) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างกันประมาณ 14 ชั่วโมง ทำให้นักวิจัยสามารถลงรายละเอียดการติดตามวัตถุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสดร.ได้เริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 สำหรับการใช้งานกล้องฯ 0.7 เมตร ณ หอดูดาว SRO หลังจากการที่มีติดตั้งและทดสอบแล้ว สดร.ได้แบ่งการใช้งานกล้องให้กับกลุ่มนักวิจัย และกลุ่มงานวิศวกรรมของสดร. โดยแบ่งให้นักวิจัย ใช้ในการติดตามวัตถุต่างๆ ในซีกฟ้าเหนือ ผ่านการรีโมทควบคุมการทำงานของกล้องระยะไกลจากประเทศไทย เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้น จึงให้กลุ่มงานวิศวกรรม ใช้ในการพัฒนาระบบ AstroNet ให้ครบทุกฟังก์ชั้นการใช้งาน เพื่อเตรียมรองรับการใช้งานของนักวิจัยในลำดับต่อไป |
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาว Sierra Remote Observatories (SRO) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา |
4. หอดูดาว SpringBrook เครือรัฐออสเตรเลีย โครงการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ CDK700 และ CDK17 ณ หอดูดาว SpringBrook, Coonabarabran, NSW, Australia นั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลของประเทศไทย (Thai Robotic Telescope Network, TRT” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ที่จะติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบ CDK700 ตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีท้องฟ้าเหมาะสมสำหรับการติดตามวัตถุบนท้องฟ้า และพัฒนาให้กล้องทำงานในโหมดควบคุมระยะไกล (remote mode) และโหมดหุ่นยนต์ (robotic mode) เพื่อให้เครือข่าย TRT สามารถสนับสนุนงานวิจัยและงานบริการวิชาการให้กับสดร. หอดูดาว SpringBrook, Coonabarabran, NSW, Australia เป็นหอดูดาวที่ดำเนินการโดยเอกชน ที่มีทำเลที่ตั้งดีที่สุดแห่งหนึ่งในซีกฟ้าใต้ อยู่ติดกับหอดูดาว Siding Spring ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งชาติเครือรัฐออสเตรเลีย ดังนั้นจึงสามารถมั่นใจได้ว่า หอดูดาวดังกล่าว เป็นหอดูดาวที่มีสภาพท้องฟ้าเหมาะสม และจะไม่ถูกรบกวนทางแสงจากชุมชน เนื่องจากมีการจัดการโดยรัฐบาลเพื่อปกป้องผลกระทบต่อหอดูดาวแห่งชาติ โดยได้เริ่มดำเนิน โครงการตั้งแต่ปี 2559 และได้ดำเนินการติดตั้งกล้องพร้อมทดสอบเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 |
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาว SpringBrook, Coonabarabran, NSW, Australia |
|
5. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก “หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ” ตั้งอยู่บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ภายใต้ “โครงการเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศ” ดำเนินการร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงานภาครัฐ คือ (1) สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนกล้องโทรทรรศน์อุปกรณ์เก็บข้อมูล โดม และกิจกรรมพัฒนาบุคลากร (2) กองทัพอากาศ สนับสนุนสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวฯ ในพื้นที่ของกองทัพอากาศดอยอินทนนท์ และ (3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยโครงการดังอยู่ในระหว่างการลงทะเบียนกับ Minor Planet Centers ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) และได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) และศูนย์เฝ้าระวังภัยอวกาศประเทศญี่ปุ่น (Japan Spaceguard Assocasiaiton) มีวัตถุประสงค์หลักในการเฝ้าติดตามและศึกษาวงโคจรของวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศ เก็บรวบรวมและสร้างฐานข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาวิจัยและต่อยอดองค์ความรู้ เป็นศูนย์ข้อมูลการเตือนภัย รวมทั้งสร้างความตระหนัก ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยคุกคามจากวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศให้กับสาธารณชน |
หอดูดาวควบคุมระยะไกล
ประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 5 ถึง 20 องศาเหนือ ท้องฟ้าที่ทำการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์ต่างๆ ในประเทศไทยนั้น จะเป็นท้องฟ้าในซีกฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) ทั้งหมด และท้องฟ้าในซีกโลกใต้ (Southern Hemisphere) บางส่วนเท่านั้น อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการศึกษาใจกลางของแกแล็คซีทางช้างเผือก ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ และมีวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจจำนวนมากรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาใจกลางทางช้างเผือกนี้ จะเป็นช่วงเวลาประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคมทุกปีซึ่งตรงกับฤดูฝนในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว สดร. จึงได้ทำการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 - 0.7 เมตร ที่มีกล้องถ่ายภาพ (CCD) คุณภาพสูง สามารถควบคุมระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไว้ ณ สถานที่ต่างๆ รวม 4 แห่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ของนักวิจัย รวมถึงการให้บริการแก่โรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยที่ต้องการทำการศึกษา หรือสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า ซึ่งการที่มีเครือข่ายดังกล่าว จะทำให้นักดาราศาสตร์ไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลา ทั้งซีกฟ้าเหนือ และซีกฟ้าใต้