8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
Hits:1324
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...
อ่านต่อ ...NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…
Hits:861
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...
อ่านต่อ ...17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”
Hits:566
จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...
อ่านต่อ ...กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”
Hits:1592
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...
อ่านต่อ ...ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…
Hits:1509
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...
อ่านต่อ ...นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…
Hits:4597
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...
อ่านต่อ ...- บทความดาราศาสตร์
- บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
- จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
- จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
- Download
การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…
Hits:3781
เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...
อ่านต่อ ...โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์
Hits:2711
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...
อ่านต่อ ...วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย
Hits:2202
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...
อ่านต่อ ...ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป
Hits:9330
[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...
อ่านต่อ ...27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี
Hits:21795
ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...
อ่านต่อ ...ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก
Hits:15108
ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...
อ่านต่อ ...แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563
Hits:15645
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...
อ่านต่อ ...คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์
Hits:17123
ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...
อ่านต่อ ...จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
Hits:4772
ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series
บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น
จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
Hits:4749
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)
NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ
สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight มีเนื้อหา 6 ตอน ได้แก่
หนังสือ
Hits:4473
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์ ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก
ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต
ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2563 “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้
ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
- ข่าวรับสมัครงาน
- รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
- NARIT INTERNSHIP PROGRAM
- รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
- ข่าว อว
12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่
Hits:560
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...
อ่านต่อ ...12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…
Hits:719
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...
อ่านต่อ ...ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…
Hits:2391
ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...
อ่านต่อ ...การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…
Hits:520
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อ่านต่อ ...ประกาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อสื่อการเรียนรู้สำหรับกิจกรรมทางดาราศาสตร์ จำนวน 2 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
Hits:6
...
อ่านต่อ ...ประกาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการติดตั้งฟิล์มกรองแสง จำนวน 1 งาน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
Hits:7
...
อ่านต่อ ...ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกลูกจ้างโครงการ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 1 อัตรา
Hits:66
...
อ่านต่อ ...ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่เทคนิคสารสนเทศ จำนวน 1 อัตรา
Hits:55
...
อ่านต่อ ...การพัฒนาเทคโนโลยี
เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์แบบโรโบติกของประเทศไทย
การสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติ
กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผิวกระจกเคลือบด้วยฟิล์มบางอลูมิเนียม มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้สามารถบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ในระยะไกลมากๆ และมีความสว่างน้อยได้ดี เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งฟิล์มบางอลูมิเนียมที่เคลือบอยู่บริเวณผิวกระจกจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพการสะท้อนแสงของกระจกลดลง ส่งผลให้ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์มีคุณภาพลดลงไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการลอกฟิล์มอลูมิเนียมเก่าออกและทำการเคลือบใหม่ (เรียกกระบวนการนี้ว่า Re-Aluminization) อย่างน้อยทุกๆ 2 ปี เพื่อให้คงประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงได้ดี
แต่เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีเครื่องเคลือบกระจกที่จะสามารถรองรับกระจกขนาดใหญ่ถึง 2.4 เมตร และหากสั่งซื้อจากต่างประเทศจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติขึ้น เพื่อผลิตเครื่องเคลือบกระจกขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่ทันสมัยและคุณภาพดีทัดเทียมกับการนำเข้าจากต่างประเทศและจะเป็นเครื่องเคลือบกระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจะใช้เคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์หอดูดาวแห่งชาติแล้ว ยังสามารถนำมาให้บริการเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.4 เมตร ที่มีอยู่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วย
เครื่องเคลือบกระจกนี้สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบางได้ในระดับนาโนเมตรถึงไมโครเมตรโดยมีความเรียบสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสมบัติการสะท้อนแสงที่ดีตามหลักทัศนศาสตร์ (ตามทฤษฏี การสะท้อนแสงของฟิล์มบางอลูมิเนียมเท่ากับ 90 เปอร์เซนต์)
กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร |
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา |
กระบวนการล้างและเคลือบฟิล์มบนผิวกระจก
ขั้นตอนที่ 1 : การลอกฟิล์มเก่าและทำความสะอาดผิวกระจก
กระจกจะถูกยกไปวางบนอ่างล้างกระจกเพื่อทำการลอกฟิล์มอลูมิเนียมที่เสื่อมสภาพออกให้หมดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (NaOH) ซี่งกระบวนการล้างเป็นดังนี้
ตัวอย่าง กระจกที่สภาพของฟิล์มที่เคลือบผิวกระจกเสื่อมสภาพ |
ให้ติดเทปกาวที่ขอบกระจกทั้งขอบนอกและใน ก่อนที่จะใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (NaOH) ค่อยๆเทลงบนผิวกระจก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 นาที จะสังเกตเห็นสารละลายทำปฏิกิริยากับฟิล์มอลูมิเนียม จะเห็นฟิล์มถูกลอกออกอย่างช้าๆ รอจนฟิล์มลอกออกจนหมด
หลังจากฟิล์มอลูมิเนียมลอกออกจนหมด แกะเทปกาวที่ติดขอบกระจกออก และล้างสารเคมีออกด้วยน้ำกลั่นจนหมด ให้เป่าน้ำออกจากผิวกระจกด้วยไนโตรเจนบริสุทธิ์ทันที ไม่ควรตั้งทิ้งไว้จนน้ำแห้งเอง เพราะจะเกิดคราบที่ผิวกระจก
รูปแสดง ตัวอย่างกระจกที่ที่ผ่านการลอกฟิล์มอลูมิเนียมและ |
หลังจากกระจกแห้งแล้วให้ทำความสะอาดผิวกระจก โดยใช้สารขัดผิวกระจกหยดลงบนกระจก จากนั้นให้เกลี่ยสารจนทั่วกระจก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 นาที จะสังเกตเห็นน้ำยาที่เกลี่ยไว้แห้งจนเป็นคราบสีขาว ก่อนที่จะเช็ดออกด้วยผ้าสะอาด
รูปแสดง การใช้สารขัดผิวกระจกและสภาพภายหลังการใช้สารขัดผิวกระจก |
ภายหลังจากลอกฟิล์มผิวกระจกและทำความสะอาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงยกกระจกวางบนฝาล่างของห้องเคลือบกระจก ก่อนที่จะนำฝาล่างไปประกบกับฝาบนแล้วทำการยกฝาล่างให้ประกบกับฝาบนด้วยระบบไฮดรอลิก
รูปแสดง ตัวอย่างกระจกติดตั้งบนฝาล่างของห้องเคลือบกระจก |
ขั้นตอนที่ 2 : การเคลือบกระจก
เริ่มจากการดูดอากาศภายในห้องเคลือบกลายเป็นสุญญากาศ โดยอาศัยปั๊มดูดอากาศ 2 ตัวหลักคือ โรตารี่ปั๊ม และ เทอร์โบปั๊ม โดยปั๊มทั้งสองตัวจะช่วยกันการดูดอากาศจนทำให้ห้องเคลือบมีค่าแรงดันต่ำกว่า 1x10e-5 torr ซึ่งถือเป็นสภาวะที่สามารถเริ่มทำการเคลือบกระจกได้ จากนั้นจึงทำปรับค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความถี่ที่เหมาะสมให้กับหัว magnetron รวมทั้งปรับปริมาณอากาศและแก๊สอาร์กอนให้เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดสภาวะที่อลูมิเนียมสามารถแตกตัวเป็นอิออน จากนั้นจึงเริ่มทำการเคลือบกระจกได้ โดยค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญที่ใช้ในการเคลือบฟิล์มผิวกระจกเป็นดังนี้
- ความต่างศักย์ที่จ่ายให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น โวลท์
- กระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น แอมป์
- พลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น กิโลวัตต์
- ความถี่การจ่ายไฟฟ้าให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น กิโลเฮิร์ท
- ความถี่ที่จ่ายให้กับมอเตอร์ที่หมุนกระจก (เพื่อกำหนดความเร็วในการเคลือบ) หน่วยเป็น เฮิร์ท
- ปริมาณแก๊สอาร์กอนที่ป้อนเข้าสู่ห้องเคลือบ หน่วยเป็น sccm
รูปแสดง ระหว่างการเคลือบฟิล์มบนผิวกระจกภายในห้องเคลือบผ่านกล้องวงจรปิด (ซ้าย) และ ลักษณะผิวกระจกที่อยู่ระหว่างการเคลือบมองผ่านช่อง View port (ขวา) |
รูปแสดง เปรียบเทียบลักษณะกระจกก่อนการล้างและเคลือบฟิล์มอลูมิเนียม (ซ้าย) |
ขั้นตอนที่ 3 : การวัดประสิทธิภาพการสะท้อนแสง
ภายหลังจากเคลือบฟิล์มเสร็จและนำออกมาจากห้องเคลือบแล้ว นำกระจกไปวัดประสิทธิภาพการสะท้อนแสง ซึ่งผลของการวัดค่าการสะท้อนแสงของกระจกตัวอย่าง ได้ค่าเฉลี่ย 88% (ตามทฤษฏี การสะท้อนแสงของฟิล์มบางอลูมิเนียมมีค่าประมาณ 90 เปอร์เซนต์)
รูปแสดง การวัดประสิทธิภาพการสะท้อนแสง |
ลักษณะของเครื่องเคลือบกระจก
- เป็นเครื่องเคลือบกระจกระบบสูญญากาศที่ใช้เทคนิค Sputtering ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเคลือบผิววัตถุ โดยสามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบางและมีความเรียบสม่ำเสมอ ความหนาของฟิล์มบางสามารถควบคุมได้ในระดับนาโนเมตร ถึง ระดับไมโครเมตร โดยมีค่าความเรียบดีมาก
- สามารถนำไปประยุกต์ในการเคลือบโลหะอื่นๆ ในงานอุตสาหกรรมได้ เช่น การเคลือบทองคำ ทองแดง สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ความเร็วในการเคลือบครบ 1 กระบวนการ ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าห้องเคลือบจะมีขนาดใหญ่มากก็ตาม
งบประมาณ
- ผลิตขึ้นเองด้วยงบประมาณ 14 ล้านบาท หากนำเข้าราคาจะมีราคาสูงถึง 35 ล้านบาท
ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง
ปัจจุบันเครื่องมือทางด้านวิทยาศาตร์ดาราศาสตร์การแพทย์ และวิศวกรรม ถูกพัฒนาให้มีความ แม่นยำในการทำงานในระดับสูงมาก โดยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เครื่องมือเหล่านั้นมีความแม่นยำ สูงก็คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีของการออกแบบและขึ้นรูปชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงในระดับไมครอน โดยเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการผลักดันให้ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การสร้างนวัตกรรมใหม่ และการผลิตทางอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการสร้างผลงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ให้ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งในการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวได้ ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ 2 ด้านคือ ความสามารถของนักวิจัยและความสามารถของเครื่องมือและเทคโนโลยีดังนั้นสถาบันฯ จึงให้ความสำคัญ อย่างมากในการออกแบบและสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะเป็นการยกระดับ งานวิจัยและวิศวกรรม จากการเป็นผู้ซื้อและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ให้สามารถเป็นผู้ออกแบบและ สร้างอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ระดับสูงเพื่อผลักดันให้งานวิจัยของสถาบันฯ ได้รับการยอมรับในระดับโลก
ดังนั้น สถาบันฯ จึงได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการออกแบบและขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง เพื่อใช้เป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำมาประดิษฐ์อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีความซับซ้อนและมีความแม่นยำสูง เพื่อสนับสนุนงานวิจัยให้ได้รับการยอมในระดับโลก และห้องปฏิบัติการดังกล่าวยังมีความสามารถสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ในการออกแบบและผลิต ชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและการศึกษาเพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ออกแบบผลิตสินค้าทางด้านเทคโนโลยีออกสู่ตลาดโลก
ขีดความสามารถห้องปฏิบัติการดังกล่าวมีดังนี้
- สามารถขึ้นรูปชิ้นงานโดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 35 ไมครอน (ในอีก 2 ปีข้างหน้า จะสามาถลดความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 30 ไมครอน)
- สามารถออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงทางวิศวกรรมของชิ้นงาน (Part or Assembly) เพื่อช่วยในการประเมินคุณภาพของชิ้นงาน ช่วยปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน ก่อนการผลิตจริง
- มีเครื่อง CMM (Coordinate Measuring Machine) สำหรับใช้วัดชิ้นงานและตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน
- มีระบบการจัดการเอกสารของชิ้นงาน เช่น part number, drawing number เป็นต้น
- สามารถทำการ finishing ชิ้นงานได้หลายเทคนิค เช่น aluminum anodizing, power coating เป็นต้น
เครื่องกลึงและเครื่องมิลลิ่ง CNC ความละเอียดสูง |
ออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงทางวิศวกรรมของชิ้นงาน (Part or Assembly) เพื่อช่วยในการ ประเมินคุณภาพของชิ้นงาน ช่วยปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน ก่อนการผลิตจริง |
|
Laser marking ใช้สำหรับพิมพ์ serial tracking number บนชิ้นงาน โลหะทุกชนิดเป็นระบบการจัดการเอกสารของชิ้นงาน |
เครื่องเชื่อมอลูมิเนียมสำหรับงานเชื่อมคุณภาพสูง |
โครงการยกระดับระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ
ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.4 เมตร ของประเทศไทย ที่ให้บริการแก่นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศแต่ละปีไม่น้อยกว่า 215 คืน มีอายุการใช้งานมาแล้วเกือบ 4 ปี ซึ่งส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์บางอย่างหมดอายุจนไม่สามารถทำงานอย่างปกติได้ เช่น บอร์ดควบคุมมอเตอร์ บอร์ดควบคุมการสื่อสารแบบ CAN bus เป็นต้น ซึ่งทางสถาบันฯ ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการจัดซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุดังกล่าวเพื่อนำไปทดแทนของเดิมที่เสีย เพื่อให้กล้องโทรทรรศน์สามารถใช้งานได้เป็นปกติ
แต่เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างเฉพาะและมีความซับซ้อน บางอุปกรณ์หาซื้อได้ยากในปัจจุบันเนื่องจากยกเลิกการผลิตไปแล้ว บางอุปกรณ์ถูกผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตซึ่งได้เลิกกิจการไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ซึ่งสองสาเหตุที่กล่าวมาเป็นปัญหาและความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์
ดังนั้นการยกระดับระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ จึงเป็นโครงการเร่งด่วนและสำคัญของสถาบันฯ ในการยืดอายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ให้ใช้งานได้มากกว่า 30 ปี เหมือนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ทั่วโลก และยังทำให้กล้องโทรทรรศน์มีความทันสมัยยิ่งขึ้นทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ซึ่งปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ยังคงทำงานระบบปฏิบัติการ Windows XP ที่ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกการสนับสนุนจากบริษัท Microsoft แล้ว นอกจากนั้นยังทำให้วิศวกรและช่างเทคนิคของสถาบันฯ ได้ศึกษาเรียนรู้การออกแบบและผลิตระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสถาบันฯ และประเทศไทย
ในโครงการนี้ นอกจากสถาบันฯ ยังได้มีความร่วมมือกับประเทศอังกฤษภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน Newton และสถาบันไทย-เยอรมัน มาร่วมกันศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของกล้องโทรทรรศน์ เพื่อทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
แผนโครงการ
ปีที่ |
แผน |
รายละเอียด |
2560 |
ศึกษาและออกแบบ |
|
2561 |
พัฒนาระบบควบคุมใหม่ |
|
2562 |
ทดสอบและปรับแก้ |
|
กล้องโทรทรรศน์ | โดม |
แสดงส่วนประกอบของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์และโดม ที่ต้องมีการออกแบบและพัฒนาระบบใหม่ตามโครงการ
แผนภาพแสดงการโมดูลฮาร์ดแวร์ต่างๆของกล้องโทรทรรศน์ในปัจจุบัน |
|||
แผนภาพแสดงการโมดูลฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ได้จากการออกแบบเพื่อปรับปรุงระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ |
แผนภาพแสดงโมดูลซอฟท์แวร์ต่างๆ ที่ได้จากการออกแบบเพื่อปรับปรุงระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ |
เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์แบบโรโบติกของประเทศไทย
Thai Robotic Telescope Network
(เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์แบบโรโบติกของประเทศไทย)
Thai Robotic Telescope Network คือระบบเครือข่ายของกล้องโทรทรรศน์แบบโรโบติกของประเทศ ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้ออกแบบ พัฒนา และทำการติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย รวมทั้งประชาชนที่มีความรักในดาราศาสตร์ ได้มีโอกาสได้ใช้กล้องโทรทรรศน์จากโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งที่บ้านของตนเอง สำหรับการศึกษา การวิจัย หรือแม้กระทั่งการใช้สำหรับสร้างแรงบัลดาลใจให้เยาชนรักในวิชาวิทยาศาสตร์
ในการออกแบบและพัฒนา Thai Robotic Telescope Network ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทางด้าน วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ดาราศาตร์์ ทัศนศาสตร์ มาประยุกต์ใช้งานร่วมกันอย่างลงตัว โดยมีรายละเอียดของระบบดังต่อไปนี้
สถานที่ติดตั้ง |
|
กล้องโทรทรรศน์ |
|
ซอฟท์แวร์ควบคุม |
|
ซีซีดี |
|
เป้าหมายการให้บริการ |
|
ถึงแม้ระบบ Thai Robotic Telescope Network จะไม่ได้เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบแรกของโลก แต่ก็ถือเป็นระบบที่สร้างก้าวย่างอันสำคัญที่จะเป็นการบูรณาการเอาเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และ ยังจะช่วยเป็นการจุดประกายความรักในการคิดค้นเทคโนโลยีให้กับคนไทยรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจในการเป็นนักประดิษฐ์ มากกว่าเป็นเพียงผู้ใช้งานที่คอยตามเทคโนโลยีและตกเป็นทาสของเทคโนโลยีนั้นอยู่แต่ฝ่ายเพียงเดียว
การสร้างและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติ
กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผิวกระจกเคลือบด้วยฟิล์มบางอลูมิเนียม มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้สามารถบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ในระยะไกลมากๆ และมีความสว่างน้อยได้ดี เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งฟิล์มบางอลูมิเนียมที่เคลือบอยู่บริเวณผิวกระจกจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพการสะท้อนแสงของกระจกลดลง ส่งผลให้ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์มีคุณภาพลดลงไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการลอกฟิล์มอลูมิเนียมเก่าออกและทำการเคลือบใหม่ (เรียกกระบวนการนี้ว่า Re-Aluminization) อย่างน้อยทุกๆ 2 ปี เพื่อให้คงประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงได้ดี
แต่เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีเครื่องเคลือบกระจกที่จะสามารถรองรับกระจกขนาดใหญ่ถึง 2.4 เมตร และหากสั่งซื้อจากต่างประเทศจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติขึ้น เพื่อผลิตเครื่องเคลือบกระจกขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่ทันสมัยและคุณภาพดีทัดเทียมกับการนำเข้าจากต่างประเทศและจะเป็นเครื่องเคลือบกระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจะใช้เคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์หอดูดาวแห่งชาติแล้ว ยังสามารถนำมาให้บริการเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.4 เมตร ที่มีอยู่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วย
เครื่องเคลือบกระจกนี้สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบางได้ในระดับนาโนเมตรถึงไมโครเมตรโดยมีความเรียบสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสมบัติการสะท้อนแสงที่ดีตามหลักทัศนศาสตร์ (ตามทฤษฏี การสะท้อนแสงของฟิล์มบางอลูมิเนียมเท่ากับ 90 เปอร์เซนต์)
กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร |
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตั้งอยู่บริเวณ กม.ที่ 44.4 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ |
กระบวนการล้างและเคลือบฟิล์มบนผิวกระจก
ขั้นตอนที่ 1 : การลอกฟิล์มเก่าและทำความสะอาดผิวกระจก
กระจกจะถูกยกไปวางบนอ่างล้างกระจกเพื่อทำการลอกฟิล์มอลูมิเนียมที่เสื่อมสภาพออกให้หมดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (NaOH) ซี่งกระบวนการล้างเป็นดังนี้
ตัวอย่างกระจกที่สภาพของฟิล์มที่เคลือบผิวกระจกเสื่อมสภาพ
ให้ติดเทปกาวที่ขอบกระจกทั้งขอบนอกและใน ก่อนที่จะใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (NaOH) ค่อยๆเทลงบนผิวกระจก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 นาที จะสังเกตเห็นสารละลายทำปฏิกิริยากับฟิล์มอลูมิเนียม จะเห็นฟิล์มถูกลอกออกอย่างช้าๆ รอจนฟิล์มลอกออกจนหมด
หลังจากฟิล์มอลูมิเนียมลอกออกจนหมด แกะเทปกาวที่ติดขอบกระจกออก และล้างสารเคมีออกด้วยน้ำกลั่นจนหมด ให้เป่าน้ำออกจากผิวกระจกด้วยไนโตรเจนบริสุทธิ์ทันที ไม่ควรตั้งทิ้งไว้จนน้ำแห้งเอง เพราะจะเกิดคราบที่ผิวกระจก
รูปแสดง ตัวอย่างกระจกที่ที่ผ่านการลอกฟิล์มอลูมิเนียมและล้างน้ำกลั่นแล้ว ก่อนที่จะเป่าให้แห้งด้วยไนโตรเจนบริสุทธิ์
หลังจากกระจกแห้งแล้วให้ทำความสะอาดผิวกระจก โดยใช้สารขัดผิวกระจกหยดลงบนกระจก จากนั้นให้เกลี่ยสารจนทั่วกระจก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 นาที จะสังเกตเห็นน้ำยาที่เกลี่ยไว้แห้งจนเป็นคราบสีขาว ก่อนที่จะเช็ดออกด้วยผ้าสะอาด
รูปแสดง การใช้สารขัดผิวกระจกและสภาพภายหลังการใช้สารขัดผิวกระจก
ภายหลังจากลอกฟิล์มผิวกระจกและทำความสะอาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงยกกระจกวางบนฝาล่างของห้องเคลือบกระจก ก่อนที่จะนำฝาล่างไปประกบกับฝาบนแล้วทำการยกฝาล่างให้ประกบกับฝาบนด้วยระบบไฮดรอลิก
รูปแสดง ตัวอย่างกระจกติดตั้งบนฝาล่างของห้องเคลือบกระจก ก่อนถูกยกด้วยระบบไฮดรอลิกเพื่อประกบกับฝาบน
ขั้นตอนที่ 2 : การเคลือบกระจก
เริ่มจากการดูดอากาศภายในห้องเคลือบกลายเป็นสุญญากาศ โดยอาศัยปั๊มดูดอากาศ 2 ตัวหลักคือ โรตารี่ปั๊ม และ เทอร์โบปั๊ม โดยปั๊มทั้งสองตัวจะช่วยกันการดูดอากาศจนทำให้ห้องเคลือบมีค่าแรงดันต่ำกว่า 1x10e-5 torr ซึ่งถือเป็นสภาวะที่สามารถเริ่มทำการเคลือบกระจกได้ จากนั้นจึงทำปรับค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความถี่ที่เหมาะสมให้กับหัว magnetron รวมทั้งปรับปริมาณอากาศและแก๊สอาร์กอนให้เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดสภาวะที่อลูมิเนียมสามารถแตกตัวเป็นอิออน จากนั้นจึงเริ่มทำการเคลือบกระจกได้ โดยค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญที่ใช้ในการเคลือบฟิล์มผิวกระจกเป็นดังนี้
- ความต่างศักย์ที่จ่ายให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น โวลท์
- กระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น แอมป์
- พลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น กิโลวัตต์
- ความถี่การจ่ายไฟฟ้าให้กับหัว magnetron หน่วยเป็น กิโลเฮิร์ท
- ความถี่ที่จ่ายให้กับมอเตอร์ที่หมุนกระจก (เพื่อกำหนดความเร็วในการเคลือบ) หน่วยเป็น เฮิร์ท
- ปริมาณแก๊สอาร์กอนที่ป้อนเข้าสู่ห้องเคลือบ หน่วยเป็น sccm
รูปแสดง ระหว่างการเคลือบฟิล์มบนผิวกระจกภายในห้องเคลือบผ่านกล้องวงจรปิด (ซ้าย) และ ลักษณะผิวกระจกที่อยู่ระหว่างการเคลือบมองผ่านช่อง View port (ขวา)
รูปแสดง เปรียบเทียบลักษณะกระจกก่อนการล้างและเคลือบฟิล์มอลูมิเนียม (ซ้าย) และภายหลังการล้างและเคลือบฟิล์มอลูมิเนียม (ขวา)
ขั้นตอนที่ 3 : การวัดประสิทธิภาพการสะท้อนแสง
ภายหลังจากเคลือบฟิล์มเสร็จและนำออกมาจากห้องเคลือบแล้ว นำกระจกไปวัดประสิทธิภาพการสะท้อนแสง ซึ่งผลของการวัดค่าการสะท้อนแสงของกระจกตัวอย่าง ได้ค่าเฉลี่ย 88% (ตามทฤษฏี การสะท้อนแสงของฟิล์มบางอลูมิเนียมมีค่าประมาณ 90 เปอร์เซนต์)
รูปแสดง การวัดประสิทธิภาพการสะท้อนแสง
ลักษณะของเครื่องเคลือบกระจก
- เป็นเครื่องเคลือบกระจกระบบสูญญากาศที่ใช้เทคนิค Sputtering ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเคลือบผิววัตถุ โดยสามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบางและมีความเรียบสม่ำเสมอ ความหนาของฟิล์มบางสามารถควบคุมได้ในระดับนาโนเมตร ถึง ระดับไมโครเมตร โดยมีค่าความเรียบดีมาก
- สามารถนำไปประยุกต์ในการเคลือบโลหะอื่นๆ ในงานอุตสาหกรรมได้ เช่น การเคลือบทองคำ ทองแดง สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ความเร็วในการเคลือบครบ 1 กระบวนการ ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าห้องเคลือบจะมีขนาดใหญ่มากก็ตาม
งบประมาณ
- ผลิตขึ้นเองด้วยงบประมาณ 14 ล้านบาท หากนำเข้าราคาจะมีราคาสูงถึง 35 ล้านบาท
อะแดปทีฟออปติกส์และโคโรนากราฟ (Adaptive Optics And Coronagraph)
1. อะแดปทีฟออปติกส์และโคโรนากราฟ (Adaptive Optics and Coronagraph)
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์อยู่ในระหว่างการพัฒนาโคโรนากราฟในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Evanescent Wave Coronagraph สำหรับการสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ในช่วงอินฟราเรดใกล้และช่วงแสงที่ตามองเห็น ใช้สำหรับการสังเกตการณ์ทั้งบนพื้นโลกและในอวกาศ อุปกรณ์นี้มีศักยภาพมากพอสำหรับการศึกษา การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ดาวฤกษ์ที่อยู่ติดกัน รวมไปถึงการสังเกตการณ์ของควาซาร์และใจกลางของกาแล็กซี
โคโรนากราฟนี้ ประกอบด้วยตัวบดบังรูปแบบใหม่สำหรับบดบังแสงของดาวฤกษ์ และระบบทัศนอุปกรณ์อะแดปทีฟออปติกส์สำหรับการแก้ไขผลกระทบจากการแปรปรวนของชั้นบรรยากาศโลก เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด ถูกจำกัดจากการเลี้ยวเบนของแสงเท่านั้น (Diffraction Limit) และข้อดีของระบบนี้คือ จะเกิดความคลาดสีเพียงบางส่วน และการรับแสงของดาวฤกษ์จะใช้อุปกรณ์วัดหน้าคลื่น (Wavefront) เพื่อปรับแก้หน้าคลื่นด้วยกระจกสะท้อนที่เปลี่ยนรูปร่างได้ที่ความถี่สูง
ปัจจุบันห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์ประสบความสำเร็จในการแยกแสง ที่มีความแตกต่างระหว่างความสว่างของดาวฤกษ์กับวัตถุที่ต้องการสังเกตการณ์อยู่ที่ประมาณ 10-6 เท่า (หนึ่งในล้านเท่า) ในช่วงระยะ 10-20 รัศมีแอรี (Airy radius) สำหรับแสงความยาวคลื่นเดียว ในช่วงอินฟราเรด ที่ไม่โพลาไรซ์ ขั้นต่อไปจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์อะแดปทีฟออปติกส์กับโคโรนากราฟ และทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อวัดประสิทธิภาพในการใช้ศึกษาสิ่งแวดล้อมของดวงดาว คาดการณ์ว่าจะสามารถใช้งานร่วมกับกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวแห่งชาติได้ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า หลังจากนั้นจะมีการพัฒนาและติดตั้งระบบโคโรนากราฟในรุ่นต่อไปสำหรับกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 เมตร) ร่วมกับองค์กรในต่างประเทศ
การพัฒนาทัศนอุปกรณ์อะแดปทีฟออปติกส์และโคโรนากราฟนั้นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะทางบางอย่าง อาทิ กระจกที่สามารถเปลี่ยนการโค้งงอได้ ตัวรับหน้าคลื่น และเครื่องคำนวณแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสามารถใช้ประยุกต์ในด้านเทคโนโลยีเลเซอร์ เทคโนโลยีทางทหาร วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการมองเห็น และการแยกภาพของกล้องจุลทรรศน์ได้อีกด้วย
รูปภาพที่ 2 : แผนภาพทางเดินแสงสำหรับ Evanescent Wave Coronagraph
รูปภาพที่ 3 : รูปภาพของดาวฤกษ์เมื่อไม่ได้ติดตั้งโคโรนากราฟ (ภาพด้านซ้าย) และหลังจากติดตั้งโคโรนากราฟ (ภาพด้านซ้าย) แสงจากดาวฤกษ์มีความเข้มมากจนตัวรับภาพอิ่มตัวและไม่สามารถตรวจจับวัตถุอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้ (ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะกลุ่มฝุ่นผง และอื่นๆ) หลังจากติดตั้งโคโรนากราฟทำให้ส่วนกลางของดาวฤกษ์และส่วนรัศมีมีความสว่างลดลง เราจึงสามารถสังเกตการณ์วัตถุอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงดาวฤกษ์ได้
การพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส (Focal Reducer)
3. การพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส (Focal Reducer)
โครงการนี้เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัสสำหรับกล้องโทรทรรศน์ที่หอดูดาวแห่งชาติ เพื่อให้ได้มุมมองภาพอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยใช้งานร่วมกับกล้องถ่ายภาพซีซีดีแบบ 4K อุปกรณ์นี้จะสามารถใช้ถ่ายภาพด้วยลำแสงที่ไม่ถูกบดบังที่มุมมองภาพ 15 ลิปดา (จากเดิมใช้ได้เพียง 7 ลิปดา) เมื่อใช้ร่วมกับกล้อง 4K ที่มีขนาด image scale 0.42 ฟิลิปดาต่อพิกเซล ทำให้มีกำลังการแยกภาพละเอียดอยู่ที่ 1.2 ฟิลิปดา ในช่วงความยาวคลื่น 400-800 นาโนเมตร ระบบนี้ประกอบด้วย ชุดเลนส์คู่ที่ติดตั้งบนรางไฟฟ้า อยู่บริเวณส่วนกลางของกล้องโทรทรรศน์ และชุดเลนส์สามชิ้นติดตั้งบริเวณส่วนหน้าของกล้อง 4K ห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์ได้ออกแบบระบบแสง ออกแบบโครงสร้าง รวมถึงการผลิตอุปกรณ์โครงสร้าง ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างของอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และวางแผนการติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติ และจะทำการทดสอบภายในปี 2560-2561 คาดว่าจะสามารถใช้งานจริงได้ภายในปี 2561-2562
รูปภาพที่ 6 : อุปกรณ์ลดระยะโฟกัส อันประกอบไปด้วย ชุดเลนส์คู่ L1 บริเวณช่องของกล้องดูดาแห่งชาติ และชุดเลนส์สามชิ้น L2 ยึดติดกับกล่องบริเวณด้านหน้าของกล้อง 4K และวงล้อฟิลเตอร์
รูปภาพที่ 7 : ภาพของรางไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ลดระยะโฟกัสที่ถูกติดตั้งบริเวณกึ่งกลางของกล้องดูดาวแห่งชาติ
รูปภาพที่ 8 : รางไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานของสถาบันวิจัย
การออกแบบและการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ขนาดกลาง
4. การออกแบบและการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ขนาดกลาง
สดร. อยู่ระหว่างการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ขนาดกลาง (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เมตร) เพื่อใช้สำหรับการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ในการประยุกต์ใช้ในทางวิทยาศาสต์ เราต้องการกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังการแยกภาพเชิงมุมสูง ที่ความยาวคลื่นช่วงปานกลางและต่ำ นักศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมออกแบบกล้องโทรทรรศน์ การออกแบบทางทัศนศาสตร์ เน้นการออกแบบระบบที่มีการบดบังบริเวณกึ่งกลาง (Central Obscuration) ที่เล็กมาก (น้อยกว่า 20%) และออกแบบร่วมกับอุปกรณ์อะแดปทีฟออปติกส์ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าภาพที่ได้จะไม่มีความคลาดทางทัศนศาสตร์ขณะทำการสังเกตการณ์
ขั้นตอนการออกแบบ ได้ใช้โปรแกรม ZEMAX ซึ่งมีการจำลองการทดสอบประสิทธิภาพของระบบทัศนศาสตร์ต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ โดยคำนึงถึงขั้นตอนการประกอบ การจัดวางชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ และความเสถียรของโครงสร้างกล้องโทรทรรศน์ระหว่างการใช้งานซึ่งอาจมีผลต่อความคมชัดของภาพ ขั้นต่อไปเป็นการจัดซื้อชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับการประกอบขึ้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ และคาดการณ์ว่าจะสามารถใช้งานได้ในปี 2563
วิธีการ ขั้นตอน และความรู้ที่ได้รับจากการทำงานนี้สามารถนำมาใช้ในการออกแบบกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ติดตั้งบนดาวเทียม หรือประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับสังเกตการณ์บนพื้นโลกได้ จากงานวิจัยนี้ ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัย การสังเกตการณ์ระยะไกล รวมทั้งคลื่นในบรรยากาศจากการสำรวจแบบ LIDAR อีกด้วย
รูปภาพที่ 9 : การออกแบบกล้องโทรทรรศน์เพื่อใช้สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ | รูปภาพที่ 10 : ระบบกระจกที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ ถูกติดตั้งไว้ ณ ตำแหน่งระนาบโฟกัสของกล้องโทรทรรศน์เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงสุด |
ศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ
ในปี 2560 สดร. ได้รับงบประมาณในโครงการพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุและยีออกเดซี่ จึงได้เดินหน้าขยายการศึกษาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งงานวิจัย เทคโนโลยีและวิศวกรรมด้านดาราศาสตร์วิทยุ จัดตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ ปฏิบัติหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยี เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์หลักที่สำคัญของประเทศ นอกจากกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ที่หอดูดาวแห่งชาติ เพื่อขยายขีดความสามารถเชิงสังเกตการณ์ด้านคลื่นวิทยุ ส่งเสริมการใช้ดาราศาสตร์เพื่อพัฒนาความรู้พื้นฐานซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) รวมถึงวิจัยด้านยีออเดซี่และวิทยาศาสตร์บรรยากาศ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ จะเป็นเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่สำคัญสำหรับสังเกตการณ์คลื่นวิทยุ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากเทหวัตถุนอกโลก สัญญาณต่าง ๆ บนชั้นบรรยากาศ หรือ ดาวเทียม เพื่อหาตำแหน่งบนพื้นผิวโลก
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ใช้ต้นแบบและพัฒนามาจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุเยเบส เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ที่สามารถขับเคลื่อนในแนวราบและแนวตั้ง (steerable) เป็นที่นิยมอย่างมากในงานดาราศาสตร์วิทยุและยีออเดซี่ ซึ่งใช้ช่วงความยาวคลื่นไมโครเวฟและมิลลิเมตร สามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุอื่น ๆ ทั่วโลก ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (very long baseline interferometry) และปรับปรุงคุณภาพสัญญาณที่ได้รับให้ดียิ่งขึ้น เทคนิคดังกล่าวต้องอาศัยการก่อสร้างจานพาราโบลาที่มีขนาดใหญ่เพื่อรับสัญญาณ รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่มีความแม่นยำสูง มีพื้นผิวที่เรียบมาก ตอบสนองต่อสัญญาณได้ดี และการใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนสูงมาก
การก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ จึงเกี่ยวเนื่องกับศาสตร์หลายแขนง อาทิ วิศวกรรมโยธา ทัศนศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล งานด้านคลื่นวิทยุและซอฟต์แวร์ เป็นต้น เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบ พัฒนาและตอบสนองการวิจัยทางดาราศาสตร์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ณ หอดูดาวเยเบส ประเทศสเปน ซึ่งเป็นหอดูดาวต้นแบบ ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ
1. การออกแบบเพื่อตอบสนองการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์วิทยุ
กล้องโทรรรศน์วิทยุที่ใช้รับสัญญาณจากแหล่งกำเนิดเทหวัตถุนอกโลก ซึ่งมีพลังงานน้อยมาก (น้อยกว่าสัญญาณโทรศัพท์ ประมาณล้านล้านเท่า) ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการออกแบบและผลิตส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
• จานรับสัญญาณสำหรับสังเกตการณ์ความยาวคลื่นวิทยุในหน่วยมิลลิเมตร ต้องมีความราบเรียบของผิวการสะท้อนสูง ประมาณหนึ่งล้านเท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรับสัญญาณไม่น้อยกว่า 50% ของสัญญาณที่ส่งมา
• ระบบทางกลสำหรับขับเคลื่อนกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีน้ำหนักกว่า 500 ตัน ต้องแม่นยำในระดับ 0.0003 องศา
• ต้องการบุคลากรที่มีทักษะและประสบการณ์ทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า (ทัศนศาสตร์และความถี่วิทยุ) ความเย็นยวดยิ่ง (cryogenics) ในระดับลบ 260 องศาเซลเซียส เพื่อออกแบบตัวรับสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูง
• การเขียนโปรแกรมคำสั่งที่มีความซับซ้อน เพื่อสื่อสารกับระบบควบคุมการทำงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ระบบการประมวลผลในความถี่ต่ำ (Backend) ฯลฯ
• ระบบเวลาและความถี่อ้างอิงที่มีความแม่นยำสูงเพื่อให้ทุกระบบทำงานได้อย่างพร้อมเพรียง มีค่าประมาณ 3 X 10-15 ใน 1 ส่วนโดยประมาณ
• การควบคุมอุณหภูมิของตัวอาคาร ฐานรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ห้องรับสัญญาณ ห้องควบคุมระบบเวลา ห้องประมวลผล โครงสร้างเหล็กรองรับจานรับสัญญาณ เพื่อป้องกันการบิดตัวของจานรับสัญญาณและการประมวลผลข้อมูลผิดพลาด ซึ่งต้องควบคุมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 0.2-2 องศาเซลเซียส
• เทคโนโลยีการออกแบบขั้นสูง (FEM) โดยการวิเคราะห์ความสามารถในการรับแรง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เพื่อนำมาประเมินผลกระทบต่อตัวอาคารและกล้องโทรทรรศน์วิทยุ เช่น การบิดตัวของอาคารยอมรับได้ที่ 0.001 องศา
• การออกแบบระบบไฟฟ้าเพื่อป้องกันการรบกวนสัญญาณในความถี่ต่าง ๆ
ภาพแสดงตัวอย่างผลการใช้เทคโนโลยีโฮโลกราฟฟี (Holography) วัดความราบเรียบของจานรับสัญญาณ ซึ่งมีความละเอียดในหน่วยไมโครเมตร ใช้หลักการทดลองสแกนรับสัญญาณจากดาวเทียมที่ตำแหน่ง 45 องศา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับเครื่องรับสัญญาณอ้างอิง จะได้ค่าข้อมูลเปรียบเทียบความราบเรียบของผิวจานรับสัญญาณ
นอกจากนี้ การออกแบบตัวอาคารและตัวกล้องโทรทรรศน์วิทยุนั้นจะต้องวิเคราะห์แบบและจำลองภาระสมมติต่างๆ โดยใช้เทคนิค Finite Element Analysis (FEM) เพื่อวิเคราะห์หาจุดที่รับภาระสูงสุดหรือความสามารถในการทนทานภาระในสภาวะต่างๆ เช่น น้ำหนัก แรงลมหรือแรงโน้มถ่วง เป็นต้น
ภาพแสดงผลการวิเคราะห์แบบโดยการจำลองภาระต่างๆ
2. การออกแบบทางทัศนศาสตร์ (Optic design)
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ มีจานรับสัญญาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ออกแบบให้รับสัญญาณทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ แผ่นสะท้อนรูปร่างไฮเปอร์โบลอยด์จะรวมสัญญาณจากจานรับสัญญาณหลักไปยังห้องอุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่งการวิเคราะห์ทางทัศนศาสตร์ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการออกแบบโดยใช้โปรแกรมแกรสพ์ (Grasp) ช่วยในการจำลองตำแหน่ง ส่วนห้องรับสัญญาณ เป็นระบบการสะท้อนสัญญาณแบบนาสมิทธ์ (Nasmyth) ใช้หลักการสะท้อนสัญญาณผ่านกระจกด้านซ้ายหรือขวา เพื่อให้สะดวกในการวางตำแหน่งเครื่องรับสัญญาณ
การออกแบบระบบทัศนศาสตร์โดยโปรแกรม Grasp ระบบสะท้อนสัญญาณแบบนาสมิทธ์
เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งอ้างอิงต่างๆ หอดูดาวเยเบส ประเทศสเปน
3. การก่อสร้างและการประกอบ
ฐานรากและโครงสร้างอาคารต้องรองรับการเคลื่อนที่ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร หนักประมาณ 500 ตัน ที่ความเร่งสูงสุดในแนวนอน 1 องศา/วินาที2 จึงต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยีในการเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่ โดยใช้รถเครนที่สามารถยกน้ำหนักได้ 800 ตันและเคลื่อนที่ได้ในขณะยก1 ดังนั้นการวางแผนการประกอบโครงสร้างต้องจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ก่อนดำเนินการติดตั้งจริง ซึ่งทางวิศวกรรมศาสตร์ ถือว่าเป็นงานพิเศษต้องอาศัยการคำนวณอย่างถูกต้องและแม่นยำสูง
ภาพการก่อสร้างและประกอบกล้องโทรทรรศน์เยเบส ณ หอดูดาวเยเบส ประเทศสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2549
4. เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาและติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ
1. ได้หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นวิทยุสำหรับการวิจัยขั้นสูงแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. สามารถนำมาพัฒนาเพื่อออกแบบและผลิตกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 เมตรได้เองหรือใหญ่กว่าในอนาคต โดยเฉพาะในย่านความถี่สูง 10-115 กิกะเฮิรตซ์ (GHz.) ซึ่งจะเป็นย่านความถี่สำหรับโทรคมนาคมในอนาคต
3. มีผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างระบบรับสัญญาณแบบเย็นยวดยิ่ง ผู้เชี่ยวชาญระบบวัดสัญญาณรบกวน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเสาอากาศและจานรับสัญญาณความถี่สูง เป็นต้น
4. เกิดห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถออกแบบ สร้าง วิจัยและถ่ายทอดความรู้ทางด้านอุปกรณ์ดาราศาสตร์วิทยุที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. การพัฒนาเครื่องรับสัญญาณในช่วงคลื่นวิทยุสำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ
5.1 การพัฒนาเครื่องรับสัญญาณวิทยุไมโครเวฟโฮโลกราฟฟี่ย่านเคยู
กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ที่ใช้ติดตามค้นหาสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุจากนอกโลก จำเป็นต้องตรวจสอบประสิทธิภาพหลังการติดตั้ง ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญอันดับแรกคือความสามารถในการรวมสัญญาณความถี่วิทยุของจานสะท้อนสัญญาณพาราโบลาตัวแรก โดยทั่วไปความสามารถในการรวมสัญญาณความถี่วิทยุจะสัมพันธ์โดยตรงกับความเที่ยงตรงของพื้นผิวพาราโบลาของตัวจานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานจริง แนวโน้มประสิทธิภาพของการรวมสัญญาณที่ได้จะแปรผกผันกับความถี่ของคลื่นวิทยุ ดังนั้นความเที่ยงตรงของพื้นผิวรูปทรงพาราโบลาของจานสะท้อนสัญญาณจึงเป็นปัจจัยหลักที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการใช้งานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุโดยรวม
ด้วยเหตุนี้ หลังการติดตั้งจึงจำเป็นต้องตรวจสอบโดยใช้เทคนิคไมโครเวฟโฮโลกราฟฟี่ ติดตั้งเครื่องรับสัญญาณนำร่องจากดาวเทียมสองตัวดังรูปที่ 1. เป็นตัวอ้างอิงและทดสอบ ซึ่งข้อมูลสัญญาณความถี่วิทยุที่รับได้จากดาวเทียมดวงเดียวกันสามารถนำมาคำนวณเปรียบเทียบแอมพลิจูดและเฟสของสัญญาณที่ต่างกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อแสดงออกมาเป็นภาพสองมิติที่มีเฉดสี ซึ่งเฉดสีจะแสดงผลความเที่ยงตรงของพื้นผิวรูปทรงพาราโบลาของจานสะท้อนสัญญาณตัวแรกดังรูปที่ 2. โครงการนี้จะเลือกรับสัญญาณความถี่นำร่องจากดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ในย่านความถี่ Ku ที่มีความถี่คลื่นวิทยุอยู่ในช่วง 10.7-12.75GHz
รูปที่ 1. ไดอะแกรมการติดตั้งฟีดและเครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุบนจานรับสัญญาณ
รูปที่ 2. ตัวอย่างที่ได้จากการวัดความเที่ยงตรงของพื้นผิวพาราโบลา
รูปที่ 3. ไดอะแกรมของระบบโดยรวม
กรอบแนวคิดในการพัฒนาจะเป็นไปตามไดอะแกรมในรูปที่ 3. โดยแบ่งออกเป็น
1) การออกแบบสายอากาศฟีดฮอร์นของเครื่องรับสัญญาณอ้างอิงและการออกแบบสายอากาศฟีดฮอร์นของเครื่องรับสัญญาณทดสอบ
โดยทางทฤษฎีนั้นสายอากาศฟีดฮอร์นทั้งสองแบบจะรับสัญญาณความถี่วิทยุย่านเคยูซึ่งเป็นสัญญาณนำร่องมาจากดาวเทียม จากนั้นส่งผ่านสัญญาณไปยังเครื่องรับสัญญาณชุดแรกคือ RF module สำหรับสายอากาศฟีดฮอร์นที่ไช้รับสัญญาณอ้างอิงนั้น ต้องออกออกแบบให้มีอัตราขยายสัญญาณของสายอากาศอยู่ที่ประมาณ 25dBi ถึง 36dBi โดยมี side lobe ที่ต่ำ ซึ่ง HPBW หรือ องศาความกว้างการแผ่กำลังงานครึ่งนึงต้องสัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างตำแหน่งจุดที่ใช้เก็บข้อมูลสองจุดที่อยู่ไกล้กัน (N และ N+1) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กล้องวิทยุจะชี้ไปเพื่อทำการเก็บข้อมูลดังรูปที่ 4. โดย HPBW ของสายอากาศฟีดฮอร์นที่ใช้รับสัญญาณอ้างอิงจะอยู่ที่ประมาณ 4 องศา
รูปที่ 4. แสดงตำแหน่งการเคลื่อนที่ของกล้องที่จะชี้ไปเพื่อทำการเก็บข้อมูลสำหรับการทำโฮโลกราฟฟี
ในส่วนของสายอากาศฟีดฮอร์นที่ใช้รับสัญญาณในการทดสอบจะถูกออกแบบให้มี HPBW ที่กว้างกว่าเนื่องจากต้องทำหน้าที่รวมสัญญาณทั้งหมดที่สะท้อนมาจากจานสะท้อนสัญญาณตัวแรก ณ ตำแหน่งโฟกัสแรก สัญญาณคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียมเป็นโพราไรซ์เซชั่นแบบวงกลม ดังนั้นสายอากาศฟีดฮอร์นที่ใช้รับสัญญาณจะต้องมีโพราไรซ์เซชั่นของสายอากาศที่ตรงกันกับโพราไรซ์เซชั่นที่ส่งมาจากดาวเทียม ซึ่งสัญญาณที่รับได้มานั้นจะถูกแปลงกลับให้มีโพราไรซ์เซชั่นเป็นแบบเชิงเส้นไปสู่วงจรภาคขยายสัญญาณรบกวนต่ำภาคแรกเนื่องจากทรานซิชั่นทางด้านอินพุทของวงจรภาคขยายเป็นแบบท่อนำคลื่นแปลงไปแบบไมโครสตริปหรือสตริปไลน์
2) ภาค RF ภาค IF ภาคปรับเทียบโฮโลกราฟฟี่ ภาคตรวจสอบ ภาคจ่ายไฟ ภาคควบคุม ภาคประมวลและแสดงผล
สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุที่ได้รับมาจากสายอากาศฟีดฮอร์นจะถูกส่งผ่านไปยังโพราไรเซอร์เพื่อทำการแปลงโพราไรซ์เซชั่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโพราไรซ์เซชั่นแบบวงกลมไปเป็นโพราไรซ์เซชั่นแบบเชิงเส้นจากนั้นจะส่งผ่านอุปกรณ์คัปเปอร์แบบมีทิศทางไปยังวงจรขยายสัญญาณวิทยุสัญญาณรบกวนต่ำภาคแรกเพื่อทำการขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้นจากนั้นจะถูกส่งผ่านไปยังวงจรกรองความถี่เพื่อกำจัดความถี่ที่ไม่ต้องออกและส่งไปยังวงจรแปรผันความถี่ลงไปที่ความถี่ IF โดย วงจรแปรผันความถี่ลงจะทำการผสมสัญญาณความถี่วิทยุย่านเคยูที่ได้รับมาจากดาวเทียมเข้ากับสัญญาณความถี่วิทยุพื้นฐาน (Local : LO) ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากวงจรสังเคราะห์ความถี่ ผลการแปลงความถี่ IF แรกที่ได้จะนำไปผ่านวงจจรกรองความถี่ IF ถัดไปเพื่อกำจัดความถี่แปลกปลอมที่ไม่ต้องการออก จากนั้นสัญญาณที่ถูกกรองความถี่แปลกปลอมออกไปแล้วจะถูกส่งผ่านไปยังวงจรแปรผันความถี่ IF ภาคที่สองและภาค IF ที่สาม ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคลึงกันโดยจุดประสงค์เพื่อทำการแปลผันความถี่ย่านเคยูที่รับมาลงไปที่ความถี่ต่ำที่อยู่ในช่วงความสามารถของวงจรแปลงอานาลอกไปเป็นดิจิตอล ADC สามารถทำการสุ่มสัญญาณได้ ซึ่งความถี่สัญญาณ IF ที่ได้จากภาค IF สุดท้ายจะอยู่ในช่วงระดับกิโลเฮิรตซ์ (kHz) ถึงระดับ เมกกะเฮิรตซ์ MHz หลังจากกระบวนการสุ่มสัญญาณจะได้ข้อมูลดิจิตอลที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลความต่างของแอมพลิจูดและเฟสของสัญญาณทดสอบและสัญญาณอ้างอิงโดยคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลวิเคราะห์โดยกระบวนการแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว (FFT) แล้วทำการแสดงผลให้อยู่ในรูปภาพสองมิติโดยมีเฉดสีบ่งบอกถึงปริมาณความเที่ยงตรงหรือความผิดพลาดของพื้นผิวจานสะท้อนสัญญาณพาราโบลาตัวแรก
5.2) การพัฒนาเครื่องรับสัญญาณวิทยุย่านแอล
รูปที่ 5. กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร
รูปที่ 6. ไดอะแกรมเครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุย่านแอลที่จะทำการพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยแมกซ์แพลงค์
คุณสมบัติของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ความถี่ต่ำขึ้นไปถึง 100 กิกะเฮิรตซ์ ภายในประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุหลายย่าน ในปี พ.ศ. 2561 สดร. จะพัฒนาเครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุย่านแอลเป็นย่านแรกร่วมกับสถาบันวิจัยแมกซ์แพลงค์ ณ เมืองบอนด์ ประเทศเยอรมนี โดยแสดงไดอะแกรมเครื่องรับวิทยุอย่างง่ายดังรูปที่ 6-7 เครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุย่านแอลดัง กล่าวจะถูกติดตั้งที่จุดโฟกัสแรกบนจานรับสัญญาณ ซึ่งระบบที่ร่วมกันพัฒนาจะประกอบด้วย สายอากาศฟีดฮอร์น ภาครับภาคแรก โพราไรเซอร์แบบท่อนำคลื่น วงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำแช่แข็ง แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน เครื่องทำความเย็น กล่องแช่แข็งแบบสุญญากาศ ระบบควบคุม แหล่งจ่ายไฟ ภาคประมวลผลความถี่วิทยุ ตัวสุ่มและประมวลสัญญาณดิจิตอล ตัวจัดการกลุ่มข้อมูลดิจิตอล ระบบส่งสัญญาณผ่านไฟเบอร์ออปติก ซึ่งหลักการทำงานทางไฟฟ้าจะคล้ายคลึงกับเครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุไมโครเวฟ โฮโลกราฟฟี่ย่านเคยู โดยมีฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างออกไปและมีระบบประมวลผลดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งเหมาะสำหรับสำหรับงานดาราศาสตร์วิทยุ
รูปที่ 7. ไดอะแกรมเครื่องรับสัญญาณความถี่วิทยุย่านแอลที่จะทำการพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยแมกซ์แพลงค์