ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

Hits:1324

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...

อ่านต่อ ...

NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…

Hits:861

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...

อ่านต่อ ...

17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”

Hits:566

จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...

อ่านต่อ ...

กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”

Hits:1592

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...

อ่านต่อ ...

ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…

Hits:1509

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...

อ่านต่อ ...

นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…

Hits:4597

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวดาราศาสตร์ทั้งหมด
 
 
  1. บทความดาราศาสตร์
  2. บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
  3. จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
  4. จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
  5. Download

การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…

Hits:3781

เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap  เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...

อ่านต่อ ...

โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์

Hits:2711

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...

อ่านต่อ ...

วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย

Hits:2202

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...

อ่านต่อ ...

ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป

Hits:9330

[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

Hits:21795

ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...

อ่านต่อ ...

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

Hits:15108

ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...

อ่านต่อ ...

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

Hits:15645

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...

อ่านต่อ ...

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

Hits:17123

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี

Hits:4772

00 001

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series

บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น

จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ

Hits:4749

00 001

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)

NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ

สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight  มีเนื้อหา  6 ตอน ได้แก่

หนังสือ

Hits:4473

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์  ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต

ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2563  “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้

ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้

astronomy book 01 01 astronomy book 01 02

next
prev
 
 
  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
  3. ข่าวรับสมัครงาน
  4. รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
  5. NARIT INTERNSHIP PROGRAM
  6. รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
  7. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  8. ข่าว อว

12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่

Hits:560

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...

อ่านต่อ ...

12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…

Hits:719

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...

อ่านต่อ ...

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…

Hits:2391

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...

อ่านต่อ ...

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…

Hits:520

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
อ่านข่าวจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
next
prev
 
 

หอดูดาวภูมิภาค

nma icon     cco icon     ska icon     

 

ขั้นกลาง

ประกาศ

logo ipst mini   narit logo s astropark icon

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก

เข้าร่วมโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563

    ตามที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ จัดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในการติดตั้งและใช้งานกล้องโ?รทรรศน์เพื่อสังเกตการณ์วัตถท้องฟ้า สามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ทางาดราศาสตร์ และวางแผนการจัดกิจกรรมดูดาวได้ กำหนดจัดกิกจรรมอบรม ระหว่างวันที่ 24 - 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (กม.31) อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

    บัดนี้ สถาบันฯ ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้เพื่อเข้าร่วมการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางสถาบันฯ จึงขอประกาศรายชื่อครูที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ จำนวน 35 ท่าน ตามรายละเอียดดังนี้

 

ดาวน์โหลด

>> 1.ประกาศผลการคัดเลือกอบรมครูขั้นกลาง 2563

>> 2.โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง 2563

>> 3.กำหนดการ อบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง 2563

>> 4.ข้อควรปฏิบัติในการเข้าร่วมอบรม

 

สมัครเข้าร่วมโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ ขั้นกลาง

จัดโดย : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน )
ที่อยู่ : 260 อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร หมู่ 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ : 053-121268 ต่อ 305
อีเมลล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
สถานที่จัดอบรม : ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
วันที่จัดอบรม : 4 - 8 กุมภาพันธ์ 2562
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 35 คน
หมดเขตรับสมัคร : 6 มกราคม 2562
ประกาศผลการคัดเลือก : 11 มกราคม 2562
ยืนยันเข้าร่วมอบรม : 11 - 14 มกราคม 2562
เรียกตัวสำรอง : 15 - 17 มกราคม 2562
ประกาศรายชื่อ ( ผู้ยืนยัน ) : 18 มกราคม 2562

คุณสมบัติผู้สมัคร

1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่สอนในโรงเรียน สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งภาครัฐและเอกชน
3. ผ่านการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น หรือมีความรู้ความเข้าใจทางด้านดาราศาสตร์เบื้องต้นเป็นอย่างดี
4. มีประสบการณ์การจัดกิจกรรมทางด้านดาราศาสตร์
5. เป็นผู้ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง หรือเคยเข้าร่วมการอบรมฯ  มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
6. มีสภาพร่างกายแข็งแรง พร้อมทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศหนาวเย็นที่ระดับ “0” องศาเซลเซียสได้

เอกสารหลักฐานการสมัคร

1. ใบสมัครโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลางประจำปี 2562 จำนวน 1 ชุด
     ( กรอกใบสมัครโครงการฯ บน Google Form )
2. แบบเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมอบรม จำนวน 1 ชุด
3. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาดไม่เกิน 5 Mb ( อัพรูปบน Google Form ) จำนวน 1 รูป
4. เอกสารประกอบการสมัคร ( แนบไฟล์บน Google Form ) จำนวน 1 ชุด

- สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรแสดงตนที่ทางราชการออกให้
- สำเนาเอกสารหลักฐานผลงานทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ ( ถ้ามี )
- สำเนาเอกสารหลักฐานการจัดกิจกรรมทางด้านดาราศาสตร์ ( ถ้ามี )
- สำเนาประกาศนียบัตรการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น
  ( สำหรับครูที่ผ่านการอบรมครูฯ ขั้นต้น )

***** หมายเหตุ เอกสารหมายเลข 4 จะต้องรวมเอกสารประกอบการสมัครทุกฉบับอยู่ในไฟล์เดียวกัน *****

คลิกที่นี่เพื่อสมัครเข้าร่วม

step

สำคัญ : หากผู้สมัครส่งเอกสารไม่ครบ ทางสถาบันฯขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับพิจารณาเข้าร่วมโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2562


 หมายเหตุ

1. ทางสถาบันฯ ไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินในการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ
2. ทางสถาบันฯ จะดูแลค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่ายานพาหนะในระหว่างการกิจกรรมโครงการอบรมครูฯ ขั้นกลาง ประจำปี 2562 ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากภูมิลำเนามายังอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมอบรมเบิกจ่ายจากต้นสังกัด
3. ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมครูฯ ขั้นกลาง ประจำปี 2562 จะอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันฯ ต่อเมื่อเดินทางมาถึง ณ จุดลงทะเบียนและระหว่างดำเนินกิจกรรมอบรมจนถึงวันสุดท้ายเท่านั้น
4. สิทธิ์ในการอบรมนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวเท่านั้น โดยไม่สามารถนำผู้ติดตามไปได้ และไม่สามารถโอนสิทธิให้สมาชิกอื่นหรือบุคคลอื่นใช้สิทธิแทนกันได้
5. สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของโครงการอบรมครูฯ ขั้นกลางประจำปี 2562 ผ่านทางเว็ปไซต์ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/intermediate และทาง www.facebook.com  ( กลุ่มเครือข่ายครูแกนนำดาราศาสตร์ )


การพิจารณาคัดเลือก

หลังจากหมดเขตรับสมัครแล้ว คณะกรรมการจะดำเนินการรวบรวมใบสมัครทั้งหมดเพื่อพิจารณาคัดเลือก     ผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 35ท่านโดยมีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ดังนี้

            1.   ความรู้พื้นฐานและประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมอบรม โดยพิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรอบรมครู เชิงปฏิบติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ที่ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจัดขึ้น หรือการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมด้านดาราศาสตร์ที่หน่วยงานอื่นจัดขึ้น

            2. ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดาราศาสตร์ทั้งในและนอกห้องเรียน

            3. ความสนใจในด้านดาราศาสตร์ โดยเฉพาะความสนใจในการเข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์  การสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

            4. ความสามารถในการนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์นอกห้องเรียน


การประกาศผลการคัดเลือกและการยืนยันการเข้าร่วมอบรม

        คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จำนวน 35คนและรายชื่อสำรอง จำนวน 5คน ใน วันอังคาร ที่ 28 มกราคม 2563 ทางเว็ปไซต์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (อบรมครูดาราศาสตร์ขั้นกลาง) ที่ลิงค์ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/intermediate และทาง www.facebook.com(เครือข่ายครูแกนนำดาราศาสตร์) ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

        ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก (35ท่านแรก) จะต้องดำเนินการยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมทางโทรศัพท์ ระหว่างวันที่ 28 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2563โดยสามารถติดต่อเพื่อยืนยันการเข้ารวมกิจกรรมอบรมได้ที่ โทรศัพท์ 053-121-268ต่อ 305หรือ 083-465-1926 (คุณธนกฤต)ในวันและเวลาราชการเท่านั้น

        หากไม่ได้รับการยืนยันการเข้าร่วมจากผู้ผ่านการคัดเลือก (35ท่านแรก) ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าท่านสละสิทธิ์การเข้าร่วม คณะกรรมการจะดำเนินการเรียกลำดับรายชื่อสำรอง เพื่อยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมต่อไป


สิ่งของจำเป็นต้องใช้ในการอบรม

          1. อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

- กล้องถ่ายรูปดิจิตอล DSLR

- ขาตั้งกล้องถ่ายรูป

- สายลั่นชัตเตอร์

- Memory Card ที่มีความจุมากกว่า 16GB

          2. คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ( Laptop )

          3. HDD สำหรับเก็บข้อมูลความจุ ไม่น้อยกว่า 80GB

          4. เตรียมเครื่องนุ่งห่มและอุปกรณ์กันหนาวมาให้เพียงพอ เนื่องจากยอดดอยอินทนนท์อากาศหนาวเย็นมาก

          ( ใกล้เคียง 0 องศา ) จึงให้เตรียมเครื่องนุ่งห่ม ดังนี้

- เสื้อกันหนาวและกางเกงแบบหนา

- ถุงเท้าและถุงมือแบบหนา

- หมวกกันหนาว

- ผ้าพันคอ

          5. ยาสำหรับโรคประจำตัว ( ถ้ามี )

 

กำหนดการโครงการอบรมครูดาราศาสตร์ ขั้นกลาง

logo ipst mini   narit logo s astropark icon intanon

กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม
โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563
ระหว่างวันที่ 24 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
และศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ (กม.31)
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่


 วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563

08:00 – 09:00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม/ พร้อมรับอาหารว่าง
ณ อาคารนิทรรศการ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
09:00 – 10:30 น. พิธีกรแจ้งกำหนดการ และกิจกรรมแนะนำตัว
10:30 – 11:15 น. ทำแบบทดสอบก่อนรับการฝึกอบรม
11:15 – 12:00 น. เยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์ และหอดูดาวภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30 น. บรรยายเรื่อง “ทรงกลมท้องฟ้าและระบบพิกัดท้องฟ้าเชิงลึก”
โดย นายเจษฎา กีรติภารัตน์   เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
14:30 – 15:00 น. เตรียมตัวเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
15:00 – 17:00 น. เดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
17:00 – 18:00 น. รับประทานอาหารเย็น
18:00 – 22:00 น. การสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงเบื้องต้นด้วยตาเปล่ากล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตา
โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
22:00 – 22:30 น. พักรับประทานอาหารว่าง/เดินทางกลับที่พัก
22:30 – 23:30 น. ลงทะเบียนเข้าที่พัก/ พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563

07:30 – 08:30 น. รับประทานอาหารเช้า
08:30 – 09:00 น. เดินทางสู่ ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ (กม.31)
09:00 – 12:00 น. บรรยายเรื่อง “การติดตั้งและการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ระบบศูนย์สูตรฟ้า”
  โดย นายธนกฤต สันติคุณาภรต์   เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ
10:00 – 12:00 น. การฝึกปฏิบัติ “การติดตั้งและใช้งานกล้องโทรทรรศน์ระบบศูนย์สูตรฟ้า”
  โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. การฝึกปฏิบัติ “เทคนิคการติดตั้งกล้องเพื่อสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าในช่วงเวลากลางวัน”
  โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
15:30 – 16:00 น. เดินทางสู่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ 7รอบพระชนมพรรษา
16:00 – 18:00 น. การฝึกปฏิบัติ “ศึกษาการทำงานของนักวิจัย และเยี่ยมชมหอดูดาวฯ”
  โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
18:00 – 19:00 น. รับประทานอาหารเย็น
19:00 – 23:30 น. การสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงเบื้องต้นด้วยตาเปล่ากล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตา
  โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
23:30 – 00:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง/เดินทางกลับที่พัก

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563

07:30 – 08:30 น. รับประทานอาหารเช้า
08:30 – 09:00 น. เดินทางสู่ ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ (กม.31)
09:00 – 12:00 น. บรรยายเรื่อง “การวัดระยะทางทางดาราศาสตร์”
โดย นายคมสันต์ ธุรี   เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30 น. การฝึกปฏิบัติ “กิจกรรมโครงงานดาราศาสตร์”
กิจกรรมที่ 1   การหาระยะทางวัตถุท้องฟ้าด้วยเรขาคณิตเบื้องต้น
กิจกรรมที่ 2   การทดลองการเกิดหลุมอุกกาบาต
14:30 – 15:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15:00 – 16:30 น. การฝึกปฏิบัติ “กิจกรรมโครงงานดาราศาสตร์” (ต่อ)
กิจกรรมที่ 1   การหาระยะทางวัตถุท้องฟ้าด้วยเรขาคณิตเบื้องต้น
กิจกรรมที่ 2   การทดลองการเกิดหลุมอุกกาบาต
16:30 – 18:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 – 19:00 น. รับประทานอาหารเย็น
19:00 – 23:30 น การฝึกปฏิบัติ “ตั้งกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ และถ่ายภาพดาราศาสตร์ อย่างง่าย”
  โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
  พักรับประทานอาหารว่าง/เดินทางกลับที่พัก

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563

07:30 – 08:30 น. รับประทานอาหารเช้า
08:30 – 09:00 น. เดินทางสู่ ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ (กม.31)
09:00 – 10:30 น. บรรยายเรื่อง “การประมวลผลภาพถ่ายทางดาราศาสตร์”
  โดย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์   หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์
10:30 – 12:00 น. การฝึกปฏิบัติ “กิจกรรมโครงงานดาราศาสตร์”
  กิจกรรมที่ 3   กฏการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
  กิจกรรมที่ 4   การหามวลของดาวเคราะห์ด้วยกฏของเคปเลอร์
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30 น. การฝึกปฏิบัติ “กิจกรรมโครงงานดาราศาสตร์” (ต่อ)
  กิจกรรมที่ 3   กฏการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
  กิจกรรมที่ 4   การหามวลของดาวเคราะห์ด้วยกฏของเคปเลอร์
14:30 – 15:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15:00 – 16:30 น. บรรยายเรื่อง “การสืบค้นข้อมูลทางดาราศาสตร์สำหรับการวางแผนการดูดาว”
  โดย นายธฤษพงศ์ ศิริบูรณ์   เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ
16:00 – 18:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 – 19:00 น. รับประทานอาหารเย็น
19:00 – 23:30 น. ทดสอบภาคสังเกตการณ์
  โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
23:30 – 00:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง/เดินทางกลับที่พัก

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563

05:00 – 07:00 น. กิจกรรมสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าช่วงเช้ามืด
ณ พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
โดย คณะวิทยากร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
07:00 – 08:00 น. รับประทานอาหารเช้า
08:00 – 08.30 น. ทำแบบทดสอบหลังรับการฝึกอบรม
08:30 – 12:00 น. ทัศนศึกษา สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ มูลนิธิโครงการหลวง
12:00 – 13:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:00 น. พิธีมอบใบประกาศนียบัตร
14:00 – 16:30 น. เดินทางกลับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

กำหนดการโครงการอบรมครูดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563

หลักสูตรในการอบรม

        ในการจัดกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาตร์ขั้นกลาง เป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ครูเกิดทักษะการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์เกิดการเรียนรู้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เน้นให้มีการจัดอบรมสัมนาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ

ภาคบรรยาย  

        ให้ความรู้แก่ครูในหัวข้อที่กำหนด ภาพเคลื่อนไหว ซอฟ์แวร์ทางดาราศาสตร์และข้อมูลใหม่ๆทางด้านดาราศาสตร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ส่งเสริมให้ครูสามารสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ และจัดการเรียนการสอนด้วยตัวเอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ดาราศาสตร์


ภาคปฏิบัติ    

        แบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ซอฟ์แวร์ดาราศาสตร์ สืบค้นข้อมูลวัตถุท้องฟ้า วางแผนการทำกิจกรรมบรรยายสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ภาคกลางคืน การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เพื่อประกอบสื่อการสอน การใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อการสังเกตการณ์ และเพื่อประกอบกิจกรรมดูดาวภาคกลางคืน การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ การตั้งกล้องโทรทรรศน์ด้วยตนเอง การหาวัตถุท้องฟ้า การทดลองทำโครงงานดาราศาสตร์ตัวอย่าง ทักษะและเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การสรุปอธิปรายผลของแต่ละกลุ่ม


หัวข้อในการอบรม

หน่วยที่ 1
ทรงกลมท้องฟ้า

1

ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะทรงกลมท้องฟ้า ระบบพิกัดทางดาราศาสตร์ ระบบฐานกล้องโทรทรรศน์ ระบบเวลาทางดาราศาสตร์ ลักษณะการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ ระบุตำแหน่งของจุดอิควินอกซ์ จุดโซลติส การระบุขอบเขตกลุ่มดาว กลุ่มดาวจักราศี การเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอภิปราย การอธิบายและสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนต่อได้
 
หน่วยที่ 2
การใช้กล้องโทรทรรศน์และฝึกสังเกตการณ์ท้องฟ้า

2

การหาทิศ การบอกระยะทางเชิงมุม เข้าใจหลักการทำงาน คุณสมบัติ กำลังรวมแสง กำลังการแยกภาพ กำลังขยาย ทางยาวโฟกัส อัตราส่วนทางยาวโฟกัส ขอบเขตของภาพ ระบบฐานยึดกล้องโทรทรรศน์ เลนส์ตา และการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ในระบบต่าง ๆ การปรับระดับฐานยึดกล้องโทรทรรศน์ การทำ Polar Alignment การใช้ Setting Circle การปรับกล้องเล็งและกล้องหลัก และเทคนิคการหาวัตถุท้องฟ้า เช่น  Star Hopping เป็นต้น รวมไปถึงการเลือกซื้อกล้องโทรทรรศน์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
 
หน่วยที่  3
การเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์และการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์

3

แนะนำการใช้งานอุปกรณ์การถ่ายภาพดาราศาสตร์อย่างง่าย อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (Charge-Coupled Device; CCD) อุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างง่าย เช่น กล้องเว็ปแคม และกล้องดิจิตอล D-SLR เพื่อถ่ายภาพดาราศาสตร์ในความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยดวงตามนุษย์ โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายถ่ายภาพเก็บข้อมูลเชิงดาราศาสตร์ การถ่ายภาพเพื่อนำไปทำสื่อการสอน การประมวลผลภาพถ่ายทางดาราศาสตร์โดย การต่อเส้นแสงดาว ไปจนถึงการถ่ายภาพดาราศาสตร์เพื่อนำไปสู่การทำโครงงานดาราศาสตร์
 
หน่วยที่ 4
การวางแผนการดูดาว ปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ และการสืบค้นข้อมูลทางดาราศาสตร์

4

ศึกษาและวางแผนการดูดาว ตรวจสอบเวลาการ ขึ้น-ตก ของวัตถุท้องฟ้า เฟสของดวงจันทร์และเวลาขึ้นและตก ทดลองการวางแผนทำกิจกรรมดูดาว เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ หาวัตถุที่น่าสนใจ คำนึงถึงปัจจัยจ่างๆ ที่ส่งผลต่อการจัดเตรียมกิจกรรมดูดาวอย่างประสบผลสำเร็จ เฟสของดวงจันทร์ ความสว่าง สถานที่ ลมฟ้าอากาศ แสงจากเมือง อายุและพื้นฐานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อุปกรณ์ วัตถุที่สามารถสังเกตได้ รวมไปถึงแนะนำแหล่งข้อมูลความรู้ทางดาราศาสตร์ ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ  เช่น เว็บไซต์องค์กร NASA ในส่วนของการการเรียนการสอน , ESA ,ESO ฯลฯ เพื่อนำไปประกอบการเรียนการสอนหรือวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
 
หน่วยที่ 5 
การทำโครงงานทางดาราศาสตร์

5

แนะนำแนวทางในการนำไปสู่การเป็นที่ปรึกษา และจัดให้เกิดการทำโครงงานดาราศาสตร์ในโรงเรียน สาธิต และทดลองการทำโครงงานดาราศาสตร์ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง กิจกรรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งขั้นตอนการเก็บข้อมูล การทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการตั้งคำถาม และทดสอบสมมติฐานตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ และสาธิตโครงงานดาราศาตร์ ที่เป็นลักษณะทั้งการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บข้อมูล การทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์

เกี่ยวกับโครงการอบรมครูดาราศาสตร์ ขั้นกลาง

logo ipst mini   narit logo s astropark icon intanon

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง  ประจำปี 2563

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีพันธกิจในการ พัฒนาองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ ถ่ายทอดความรู้ทางดาราศาสตร์ของประเทศ รวมถึงการส่งเสริมบรรยากาศและ ความตื่นตัวทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจของทางสถาบันฯ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรทางด้านดาราศาสตร์ เช่น ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ และส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องจัดโครงการเพื่อรองรับบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการแสวงหาความก้าวหน้าและเพิ่มพูนกระบวนการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติ

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจึงได้มีการจัดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลางขึ้น เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการจัดอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้นที่จัดมาแล้วก่อนหน้านี้ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านดาราศาสตร์ของครูให้สูงขึ้นเพื่อนำไปสู่การอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูงต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายวิชาการทางด้านดาราศาสตร์ในระดับชาติกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความเข้มแข็ง

        สำหรับการจัดอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนด้านงบประมาณจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)กระทรวงศึกษาธิการเพื่อดำเนินกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ในทุกระดับ ทั้งการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น การอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง และการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงานด้านคุรุวิจัย และยุววิจัยในอนาคตต่อไป

 

หนังสือประชาสัมพันธ์สมัครเข้าร่วมโครงการ
โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563

กำหนดการโครงการอบรมครูดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563
แบบแสดงความเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมอบรม

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ ขั้นกลาง

ข่าวสาร

-  7 ก.พ. 2563 / ประกาศการคัดเลือกและชื่อชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรม โครงการอบรมครูดาราศาสตร์ขั้นสูง ปี 2563 

-  28 ม.ค. 2563 / ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563

-  1 ธ.ค. 2562 / เปิดรับสมัคร โครรงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563

-  1 ธ.ค. 2562 / ยินดีต้อนรับ “โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ประจำปี 2563” 


กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม

ระหว่างวันที่ 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2563


กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม

กิจกรรมอบรมภาคบรรยาย : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 
กิจกรรมอบรมภาคสังเกตการณ์ : ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ ( กองทัพอากาศ )
  พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตนภพลภูมิสิริ
ที่พัก : สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ มูลนิธิโครงการหลวง

กำหนดการรับสมัคร

หมดเขตรับสมัคร : วันที่ 20 มกราคม 2562
ประกาศผลการคัดเลือก : วันที่ 28 มกราคม 2563
ยืนยันการเข้าร่วมอบรม : วันที่ 28 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2563
เรียกตัวสำรอง : วันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2563
ประกาศรายชื่อ (ผู้ยืนยัน) : วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563

                             

.............คัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม เพียง 35 ท่าน เท่านั้น.............

กิจกรรมดาราศาสตร์


outreach student          outreach teacher          outreach public                    

 

 
กิจกรรมที่ผ่านมา งานอบรม/สัมมนา
NARIT Social Media
     

 

       

 

 banner download     banner service download 03    banner media download 02
 

EIT ITA 2024  ETDA Banner 2567 

Citizen Portal 3 years plan 1200 x 800   E SDG logo

pdpa link
 

ITA 2567 banner 

                  qr code traffy fondue        feedback banner
               Traffy Fondue

E Learning Oic jahh banner
duga banner

researchexpo2023

 

event banner 

    virtualtour