การให้บริการภายในพื้นที่หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา
การให้บริการภาคกลางวัน
การให้บริการภาคกลางคืน
การให้บริการภายนอกพื้นที่หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา
การให้บริการภาคกลางวัน
การให้บริการภาคกลางคืน
Hits:1324
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...
อ่านต่อ ...Hits:861
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...
อ่านต่อ ...Hits:566
จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...
อ่านต่อ ...Hits:1592
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...
อ่านต่อ ...Hits:1509
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...
อ่านต่อ ...Hits:4597
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...
อ่านต่อ ...Hits:3781
เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...
อ่านต่อ ...Hits:2711
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...
อ่านต่อ ...Hits:2202
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...
อ่านต่อ ...Hits:9330
[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...
อ่านต่อ ...Hits:21795
ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...
อ่านต่อ ...Hits:15108
ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...
อ่านต่อ ...Hits:15645
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...
อ่านต่อ ...Hits:17123
ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...
อ่านต่อ ...Hits:4772
ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series
บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น
Hits:4749
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)
NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ
สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight มีเนื้อหา 6 ตอน ได้แก่
Hits:4473
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์ ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก
ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต
ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2563 “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้
ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้
Hits:560
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...
อ่านต่อ ...Hits:719
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...
อ่านต่อ ...Hits:2391
ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...
อ่านต่อ ...Hits:520
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อ่านต่อ ...Hits:6
...
อ่านต่อ ...Hits:7
...
อ่านต่อ ...Hits:66
...
อ่านต่อ ...Hits:55
...
อ่านต่อ ...การให้บริการภายในพื้นที่หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา
การให้บริการภาคกลางวัน
การให้บริการภาคกลางคืน
การให้บริการภายนอกพื้นที่หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา
การให้บริการภาคกลางวัน
การให้บริการภาคกลางคืน
เป็นที่ปรึกษาโครงงาน งานวิจัย รวมถึงให้บริการอุปกรณ์ดาราศาสตร์ในการเก็บข้อมูล สร้างเครือข่ายการวิจัยและวิชาการ
ตัวอย่างงานวิจัยที่ได้รับความร่วมมือและใช้อุปกรณ์จากหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา
การจัดกิจกรรมภายใต้โครงการของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา
เพื่อสร้างความตระหนักและความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์ กระจายโอกาสในการเข้าถึงดาราศาสตร์สำหรับประชาชนและสถานศึกษาในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและทัดเทียม โดยตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายหลักของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คือ เยาวชน ครู ประชาชนและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น
กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน
กิจกรรมวันเด็ก
เน้นกิจกรรมที่น้อง ๆ เยาวชน สามารถสนุกคิด สนุกเรียนรู้ดาราศาสตร์ได้ง่าย รูปแบบกิจกรรมเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในแต่ละปี
กิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร
ส่งเสริมกระบวนการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ไปยังโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากที่ตั้งของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา รูปแบบกิจกรรม เน้นกิจกรรมฐาน การบรรยายความรู้ดาราศาสตร์ในหลักสูตรการเรียนดาราศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการสังเกตวัตถุท้องฟ้าในตอนกลางคืน
กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์
เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา จึงจะได้จัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้น รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชมท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการดาราศาสตร์ 14 ฐานกิจกรรม และสังเกตวัตถุท้องฟ้าในตอนกลางคืน
อบรมเยาวชนคนดูดาวภาคอีสาน
ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ เยาวชนแลกเปลี่ยนความรู้ดาราศาสตร์กับเพื่อนต่างโรงเรียนผ่านกิจกรรมค่ายเยาวชนฯ โดยเน้นเยาวชนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมในโรงเรียนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุระหว่าง 15 - 19 ปี จำนวน 40 คน รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมฐานดาราศาสตร์เน้นการทำงานเป็นทีม การบรรยายให้ความรู้เชิงวิชาการ นำเสนอผลงานแบบกลุ่มเน้นความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมสันทนาการ
อบรมชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน
การสร้างเครือข่ายชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการจัดกิจกรรมชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน รับสมัครคุณครู 1 ท่าน และนักเรียน 3 คน ที่มีใจรักในการเรียนรู้และจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ รูปแบบกิจกรรม การสร้างและดูแลรักษาอุปกรณ์ดาราศาสตร์ แนวทางการจัดกิจกรรมวิชาการ การสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมของชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน
กลุ่มเป้าหมาย : ครู
อบรมการทำโครงงานและสื่อดาราศาสตร์
เผยแพร่ความรู้และเทคนิคการปฏิบัติการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ดาราศาสตร์ให้กับคุณครูที่สังกัดโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบกิจกรรม ออกแบบ พัฒนาสื่อการสอนและเพิ่มทักษะการใช้อุปกรณ์ดาราศาสตร์ แลกเปลี่ยนแนวคิดการสอนดาราศาสตร์ระหว่างคุณครูผู้เข้าอบรม
กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชน
กิจกรรมดาราศาสตร์เพื่อชุมชน
กระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมดาราศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น และประชาสัมพันธ์หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมาให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รูปแบบกิจกรรม จัดกิจกรรมในสถานที่ชุมชนที่มีประชาชนพลุกพล่าน สังเกตุวัตถุท้องฟ้า จัดแสดงภาพถ่ายดาราศาสตร์ที่ถ่ายโดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์และใช้อุปกรณ์ของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา ตอบคำถามดาราศาสตร์อย่างง่ายเพื่อรับของที่ระลึก
ครอบครัวดูดาว
กิจกรรมต้อนรับปิดเทอมสำหรับครอบครัว เปิดโอกาสให้ครอบครัวที่มีสมาชิกตั้งแต่ 3- 5 คนและมีเด็กอายุระหว่าง 5-12 ปี อย่างน้อย 1 คน สมัครเข้าร่วมกิจกรรม รับจำกัดปีละ 15 ครอบครัวหรือไม่เกิน 60 คน รูปแบบกิจกรรม เป็นกิจกรรมฐานดาราศาสตร์สำหรับเด็ก เน้นการเล่นสนุกและความร่วมมือในครอบครัว มีทั้งกิจกรรมภาคกลางวันและดูดาวภาคกลางคืน
สังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์
ในแต่ละปีมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย เพื่อให้ประชาชนได้ชมปรากฏการณ์ผ่านอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่ทันสมัย และได้รับความรู้ที่ถูกต้อง รูปแบบกิจกรรม เปิดกล้องสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจและสามารถสังเกตได้ในประเทศไทย มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ รวมถึงการแจกใบความรู้และสื่อของทางสถาบันฯ
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน มีนาคม พ.ศ. 2559
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกสุดในรอบปี พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกสุดในรอบปี กรกฎาคม พ.ศ. 2562
กลุ่มเป้าหมาย : นักดาราศาสตร์สมัครเล่น
อบรมการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์
เพื่อให้กลุ่มคนที่สนใจการถ่ายภาพดาราศาสตร์ได้รับความรู้ เทคนิควิธี รวมถึงการใช้อุปกรณ์การถ่ายภาพและอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ รูปแบบกิจกรรม เปิดรับสมัครประชาชนทั่วไปที่สนใจและรักในการถ่ายภาพเข้าร่วมกิจกรรม มีเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์บรรยายให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติ พร้อมรับคำแนะนำการถ่ายภาพและการใช้งานอุปกรณ์จริงที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพดาราศาสตร์
การจัดกิจกรรมและให้ความรู้ดาราศาสตร์นอกสถานที่
จัดนิทรรศการและบรรยายให้ความรู้นอกสถานที่ตามที่หน่วยงานภายนอกหรือสถานศึกษาร้องขอ โดยจะนำอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมาออกไปให้บริการนอกสถานที่
บริการดูดาวทุกคืนวันเสาร์ กิจกรรม NARIT PUBLIC NIGHT
เปิดกล้องโทรทรรศน์ให้บริการประชาชนทั่วไปที่สนใจในการดูดาว เข้าใช้บริการได้ทุกคืนวันเสาร์ มีเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าและอำนวยความสะดวกในการดูดาว วัตถุท้องฟ้าที่สามารถสังเกตเห็นจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
ฐานกิจกรรมดาราศาสตร์
มุ่งเน้นการศึกษาดาราศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมฐานในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เน้นให้ผู้เรียนรู้ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตัวเองและฝึกลงมือปฏิบัติจริง
การสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย
เรียนรู้การทำงานและส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้คือชุดกล้องโทรทรรศน์ที่ทำจากท่อ PVC เป็นส่วนประกอบหลัก และวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านศึกษาภัณฑ์
การสังเกตดวงอาทิตย์
เรียนรู้ปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงบนดวงอาทิตย์ สังเกตจุดบน เปลวสุริยะบนดวงอาทิตย์ผ่านกล้องสำหรับสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์โอยเฉพาะ และคำนวณความเร็วการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
การสร้างแบบจำลองระบบสุริยะ
เรียนรู้ขนาดและระยะทางของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะตามอัตราส่วนที่ถูกต้องทั้งระยะทางและขนาดเทียบจากของจริง
การศึกษาหลุมดวงจันทร์
คำนวณหาเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมบนดวงจันทร์โดยใช้คณิตศาสตร์พื้นฐาน
ฐานการบรรยายดาราศาสตร์
การให้ความรู้ดาราศาสตร์เชิงวิชาการ มุ้งเน้นให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาการบรรยายและสามารถนำไปปรับใช้กับตัวผู้เรียนรู้ได้
เรียนรู้กลุ่มดาวต่าง ๆ ผ่านการใช้แผนที่ดาว กลุ่มดาวที่สามารถบอกทิศทาง การวัดมุมดาว กลุ่มดาวเด่นประจำฤดู รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
ความรู้เรื่องดาราศาสตร์นอกโลกเกี่ยวกับวัตถุอื่น ๆ บนท้องฟ้าที่น่าสนใจ
เรื่องดาราศาสตร์ใกล้ตัวที่สามารถเห็นหรือใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นตกของดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ ปฏิทินมาจากไหน? ทำไมต้องมี 12 เดือน? ฤดูกาล เป็นต้น
|
|
โครงสร้างหลักของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา ได้แก่ อาคารนิทรรศการ อาคารหอดูดาวและอาคารสำนักงาน
อาคารนิทรรศการ : ภายในอาคารมีการจัดแสดง 14 ฐานนิทรรศการดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ มุ่งเน้นการเรียนรู้นิทรรศการผ่านประสบการณ์ของผู้เข้าชมเอง
" บริเวณนิทรรศการดาราศาสตร์ 14 ฐานกิจกรรม "
ตัวอาคารเชื่อมต่อไปยังส่วนฉายดาว ประกอบด้วยนิทรรศการดาราศาสตร์แบบหมุนเวียน ที่จัดแสดงเรื่องดาราศาสตร์ที่ใกล้ตัวและน่าสนใจ ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องระบบสุริยะ ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย และ 10 เรื่องปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ด้านในสุดของอาคารคือส่วนฉายดาว ติดตั้งโดมฉายดาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร พร้อมเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียดมากกว่า 12 ล้านพิกเซล
" ภาพถ่ายภายในห้องฉายดาว "
อาคารหอดูดาว : เป็นอาคาร 2 ชั้น บริเวณด้านหน้าเป็นลานเปิดโล่งใช้สำหรับตั้งกล้องโทรทรรศน์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้หรือเป็นลานสำหรับรองรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก
ชั้นที่ 2 ของอาคารติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ความละเอียดสูง จำนวน 5 ตัว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 5 นิ้ว ถึง 14 นิ้ว คลุมด้วยหลังคาแบบเลื่อนเปิด - ปิด ด้านข้างเป็นลานโล่ง สำหรับรองรับผู้เข้าชมที่ขึ้นมาสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าด้านบน ความจุประมาณ 200 คน
อีกด้านหนึ่งของอาคารหอดูดาวเป็นโดมไฟเบอร์กลาสทรงเปลือกหอย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต สามารถเปิดออกได้ 180 องศา สังเกตท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน อันดับสามของประเทศ ถือเป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูงทันสมัยที่สุดอีกแห่งในไทยที่ใช้สำหรับบริการประชาชนเป็นหลัก สามารถสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจได้หลากหลาย อาทิ ดาวพฤหัสบดี (ดาวเคราะห์ใหญ่อันดับหนึ่งในระบบสุริยะ) ดาวเสาร์ (ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนใหญ่และสวยงามที่สุดในระบบสุริยะ) กาแล็กซี่แอนโครเมดา (กาแล็กซี่อื่นที่ใกล้กาแล็กซี่ทางช้างเผือกมากที่สุด) เนบิลานายพราน (เนบิวลาสว่างใหญ่) เป็นต้น
" หอดูดาวและกล้องโทรทรรศน์ 0.7 เมตร "
อาคารสำนักงาน : เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรภายในหอดูดาวภูมิภาค
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร |
เป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ และเป็นกล้องหลักของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ติดตั้งบนฐานแบบ German Equatorial สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ และการควบคุม ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติดตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูงขนาด 9.3 ล้านพิกเซล พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และฟิลเตอร์ชนิด narrow band filter เพื่อใช้เก็บข้อมูลงานวิจัย และบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์สำคัญ ๆ ได้ มีช่องสำหรับใส่เลนส์ใกล้ตาแยกต่างหาก โดยไม่ต้องถอด CCD Camera ออก ทำให้มีความ สะดวกในการใช้งาน ทั้งการสังเกตด้วยตาเปล่า และการถ่ายภาพผ่าน CCD Camera รองรับการทำงานวิจัย ทั้งระดับเบื้องต้น และระดับสูง คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว |
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ นครราชสีมา มีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว จำนวน 2 ตัว เพื่อใช้บริการ และจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีระบบค้นหา และติดตามการเคลื่อนที่ ของดาวอัตโนมัติ สามารถสั่งงานจากรีโมทควบคุมเพื่อให้กล้องปรับไปยังตำแหน่งดาวที่ต้องการได้ ด้วยระบบรับแสง แบบ Advanced Coma-Free ช่วยให้ภาพคมชัดตั้งแต่กลางภาพถึงขอบภาพ สามารถใช้ในการศึกษา และถ่ายภาพการเกิดพายุบนดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี ศึกษาหลุมบนดาวอังคาร การเก็บข้อมูลงานวิจัยของวัตถุจำพวก Deep-Sky ได้ คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง 150 มม. |
กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม. มีระบบรับแสงแบบ Apochromatic ซึ่งให้ภาพที่คมชัด สามารถศึกษารายละเอียดของหลุมบนดวงจันทร์ การเกิดอุปราคาบนดาวพฤหัสบดี รองรับงานวิจัย ในระดับพื้นฐาน สามารถติดตั้ง CCD Camera เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัยได้ คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องสองตาขนาดใหญ่ 125 มม. |
กล้องสองตาขนาด 125 มม. เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สังเกตจะสามารถเห็นความลึกตื้นของหลุม ดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน สามารถเห็นความเป็นมิติ ลึก-ตื้น สูง-ต่ำ ของหลุมบนดวงจันทร์ได้ และยังสามารถศึกษาวัตถุ ท้องฟ้าจำพวก Deep-Sky อื่น ๆ ได้ ซึ่งมิติภาพที่ได้แตกต่างนี้จากกล้องโทรทรรศน์โดยทั่วไปเนื่องจากภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์นั้นจะดูเรียบแบนเกินไป คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องที่ออกแบบสำหรับศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อสายตาของผู้สังเกต โดยหอดูดาวมีกล้องดูดวงอาทิตย์ใน 2 ช่วงคลื่นคือ ช่วงคลื่นไฮโดรเจน-อัลฟา (656.28 นาโนเมตร) และช่วงคลื่น แคลเซียมเคลายน์ (393.4 นาโนเมตร) ซึ่งผู้สังเกตจะเห็นเปลวสุริยะ และพื้นผิวดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน เหมาะกับการเฝ้าสังเกต และทำนายการเกิดลมสุริยะ/พายุสุริยะ |
คุณลักษณะเฉพาะ 1) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น H-alpha
2) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น Cal-K
|
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร |
เป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ และเป็นกล้องหลักของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ติดตั้งบนฐานแบบ German Equatorial สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ และการควบคุม ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติดตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูงขนาด 9.3 ล้านพิกเซล พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และฟิลเตอร์ชนิด narrow band filter เพื่อใช้เก็บข้อมูลงานวิจัย และบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์สำคัญ ๆ ได้ มีช่องสำหรับใส่เลนส์ใกล้ตาแยกต่างหาก โดยไม่ต้องถอด CCD Camera ออก ทำให้มีความ สะดวกในการใช้งาน ทั้งการสังเกตด้วยตาเปล่า และการถ่ายภาพผ่าน CCD Camera รองรับการทำงานวิจัย ทั้งระดับเบื้องต้น และระดับสูง คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว |
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ นครราชสีมา มีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว จำนวน 2 ตัว เพื่อใช้บริการ และจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีระบบค้นหา และติดตามการเคลื่อนที่ ของดาวอัตโนมัติ สามารถสั่งงานจากรีโมทควบคุมเพื่อให้กล้องปรับไปยังตำแหน่งดาวที่ต้องการได้ ด้วยระบบรับแสง แบบ Advanced Coma-Free ช่วยให้ภาพคมชัดตั้งแต่กลางภาพถึงขอบภาพ สามารถใช้ในการศึกษา และถ่ายภาพการเกิดพายุบนดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี ศึกษาหลุมบนดาวอังคาร การเก็บข้อมูลงานวิจัยของวัตถุจำพวก Deep-Sky ได้ คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง 150 มม. |
กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม. มีระบบรับแสงแบบ Apochromatic ซึ่งให้ภาพที่คมชัด สามารถศึกษารายละเอียดของหลุมบนดวงจันทร์ การเกิดอุปราคาบนดาวพฤหัสบดี รองรับงานวิจัย ในระดับพื้นฐาน สามารถติดตั้ง CCD Camera เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัยได้ คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องสองตาขนาดใหญ่ 125 มม. |
กล้องสองตาขนาด 125 มม. เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สังเกตจะสามารถเห็นความลึกตื้นของหลุม ดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน สามารถเห็นความเป็นมิติ ลึก-ตื้น สูง-ต่ำ ของหลุมบนดวงจันทร์ได้ และยังสามารถศึกษาวัตถุ ท้องฟ้าจำพวก Deep-Sky อื่น ๆ ได้ ซึ่งมิติภาพที่ได้แตกต่างนี้จากกล้องโทรทรรศน์โดยทั่วไปเนื่องจากภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์นั้นจะดูเรียบแบนเกินไป คุณลักษณะเฉพาะ
|
กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องที่ออกแบบสำหรับศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อสายตาของผู้สังเกต โดยหอดูดาวมีกล้องดูดวงอาทิตย์ใน 2 ช่วงคลื่นคือ ช่วงคลื่นไฮโดรเจน-อัลฟา (656.28 นาโนเมตร) และช่วงคลื่น แคลเซียมเคลายน์ (393.4 นาโนเมตร) ซึ่งผู้สังเกตจะเห็นเปลวสุริยะ และพื้นผิวดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน เหมาะกับการเฝ้าสังเกต และทำนายการเกิดลมสุริยะ/พายุสุริยะ |
คุณลักษณะเฉพาะ 1) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น H-alpha
2) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น Cal-K
|
หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา เป็น 1 ใน 5 แห่งหอดูดาวสำหรับประชาชน แหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์เต็มรูปแบบส่วนภูมิภาคแห่งแรกในประเทศไทยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้บริการวิชาการด้านดาราศาสตร์แก่ประชาชนในท้องถิ่นและใกล้เคียง สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา และค้นคว้าวิจัยระดับพื้นฐาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาค
ระบบการทำงานภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา
การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนักและความเข้าใจดาราศาสตร์สู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค รูปแบบกิจกรรมมีทั้งการจัดกิจกรรมดูดาวสังเกตวัตถุท้องฟ้า การบรรยายเชิงวิชาการ การจัดกิจกรรมฐานดาราศาสตร์ รวมถึงให้คำปรึกษาและให้บริการอุปกรณ์ในการทำโครงงานหรือการวิจัยทางดาราศาสตร์
|
|
หยุดทุกวันจันทร์ |
การให้บริการเข้าชมท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการดาราศาสตร์และเปิดกล้องดูดาว
|
รอบที่ 1 11:00 – 12:00 น. รอบที่ 2 15:00 – 16:00 น. |
|
|
|
เปิดกล้องเวลา 18:00 – 22:00 น. |
|
รอบเช้า 09:00 – 11:00 น. |
การให้บริการท้องฟ้าจำลอง มีทั้งรอบฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์และรอบบรรยายสดโดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา รอบบรรยายสดอรรถรสในการรับชมจะแตกต่างกันออกไปตามเอกลักษณ์ ลูกเล่นของเจ้าหน้าที่ผู้บรรยายแต่ละท่าน และถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจผู้เข้าชมของที่นี่