|
|
8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
Hits:1324
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...
อ่านต่อ ...NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…
Hits:861
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...
อ่านต่อ ...17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”
Hits:566
จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...
อ่านต่อ ...กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”
Hits:1592
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...
อ่านต่อ ...ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…
Hits:1509
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...
อ่านต่อ ...นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…
Hits:4597
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...
อ่านต่อ ...- บทความดาราศาสตร์
- บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
- จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
- จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
- Download
การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…
Hits:3781
เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...
อ่านต่อ ...โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์
Hits:2711
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...
อ่านต่อ ...วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย
Hits:2202
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...
อ่านต่อ ...ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป
Hits:9330
[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...
อ่านต่อ ...27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี
Hits:21795
ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...
อ่านต่อ ...ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก
Hits:15108
ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...
อ่านต่อ ...แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563
Hits:15645
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...
อ่านต่อ ...คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์
Hits:17123
ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...
อ่านต่อ ...จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
Hits:4772
ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series
บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น
จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
Hits:4749
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)
NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ
สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight มีเนื้อหา 6 ตอน ได้แก่
หนังสือ
Hits:4473
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์ ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก
ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต
ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2563 “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้
ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
- ข่าวรับสมัครงาน
- รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
- NARIT INTERNSHIP PROGRAM
- รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
- ข่าว อว
12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่
Hits:560
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...
อ่านต่อ ...12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…
Hits:719
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...
อ่านต่อ ...ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…
Hits:2391
ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...
อ่านต่อ ...การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…
Hits:520
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อ่านต่อ ...ประกาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อสื่อการเรียนรู้สำหรับกิจกรรมทางดาราศาสตร์ จำนวน 2 รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
Hits:6
...
อ่านต่อ ...ประกาศ เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการติดตั้งฟิล์มกรองแสง จำนวน 1 งาน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
Hits:7
...
อ่านต่อ ...ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกลูกจ้างโครงการ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 1 อัตรา
Hits:66
...
อ่านต่อ ...ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่เทคนิคสารสนเทศ จำนวน 1 อัตรา
Hits:55
...
อ่านต่อ ...หอดูดาวฯ ฉะเชิงเทรา
ติดต่อเรา
บุคคลากร
การจัดการกระบวนการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมเน้นให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 กลุ่ม คือ
1. ประชาชนทั่วไป
2. เด็กและเยาวชน
3. ครูอาจารย์
4. นักดาราศาสตร์สมัครเล่น
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจ ยกระดับและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ละกิจกรรม ที่จัดขึ้นได้คำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาสมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้
[ 1 ] กิจกรรมสำหรับประชาชน กิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับประชาชนทั่วไป เช่น กิจกรรมดูดาวตามสถานที่ต่าง ๆ กิจกรรม Public Night ทุกคืนวันเสาร์ การสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เช่น จันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ค่ายครอบครัวดาราศาสตร์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำหรับประชาชน ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมุ่งเน้นให้สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคม อันเป็นรากฐานในการสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็งต่อไป มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยผ่านสื่อและอุปกรณ์ทางดาราสาตร์ โครงสร้างพื้นฐานของหอดูดาว
[ 2 ] กิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน การจัดกิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชน หอดูดาวภูมิภาค ฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินกิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับเยาวชนในหลากหลายรูปแบบ เช่น ค่ายดาราศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ให้เยาวชนได้สัมผัสประสบการณ์ตรงกับกิจกรรมดูดาว ฝึกใช้งานกล้องโทรทรรศน์ แลเครื่องมือ/อุปกรณ์ดาราศาสตร์อื่นๆ ค่ายชุมนุมดาราศาสตร์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถกลับไปสร้างชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน จัดกิจกรรมดาราศาสตร์ภายในโรงเรียน อบรมนักสื่อสารดาราศาสตร์น้อย เพื่อฝึกนักเรียนและเยาวชนสามารถถ่ายทอดและสื่อสารความรู้ดาราศาสตร์ไปสู่ ชุมชน และมาเป็นกำลังสำคัญช่วยเจ้าหน้าที่ หอดูดาวภูมิภาค ฉะเชิงเทรา ในการให้บริการประชาชน
นอกจากนี้เด็กและเยาวชนปกติ หอดูดาวภูมิภาค ฉะเชิงเทรา ยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กกลุ่มพิเศษ เช่น เด็กออทิสติกส์ ด้วย โดยนำนักเรียนจากโรงเรียนปัญญานุกูล ในกรุงเทพฯและฉะเชิงเทรามาจัดกิจกรรมที่หอดูดาว ให้ได้เรียนรู้ดาราศาสตร์ผ่านโครงสร้างพื้นฐานของหอดูดาว และปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มของน้องๆ
[ 3 ] กิจกรรมสำหรับครู อาจารย์ หอดูดาวภูมิภาค ฉะเชิงเทรา ได้ให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้แก่ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากจะเป็นสื่อกลางสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้ดาราศาสตร์ไปสู่นักเรียนใน วงกว้าง โดยจัดกิจกรรมปูความรู้พื้นฐานดาราศาสตร์ ส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนดาราศาสตร์ และจะส่งต่อความรู้ดาราศาสตร์สู่นักเรียนต่อไป
[ 4 ] กิจกรรมสำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจดาราศาสตร์หรือนักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานของหอดูดาวและมีเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์สำหรับนักดาราศาสตร์ด้วยกัน ตลอดจนสร้างเครือข่ายทางดาราศาสตร์ของ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นได้
เนื่องจากตอนนี้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ในอนาคตหอดูดาวภูมิภาค ฉะเชิงเทรา จึงได้วางกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยมากขึ้น เพื่อสร้างความสุขให้กับผู้สูงวัยได้
การจัดเนื้อหาภายในหอดูดาว
ภายในหอดูดาว มีการให้บริการความรู้ดาราศาสตร์หลายส่วน ประกอบด้วย
นิทรรศการดาราศาสตร์ จัดแสดงในรูปแบบชุดการเรียนรู้ดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ 14 เรื่องทางดาราศาสตร์ ที่เจ้าหน้าที่ของสถาบันฯคิดและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง จับต้อง ทดลอง เห็นผลการทดลอง และเข้าใจด้วยตนเอง
อาคารฉายดาว / ท้องฟ้าจำลอง ใช้อธิบายเรื่องท้องฟ้า ดวงดาว ทรงกลมท้องฟ้าให้เป็นรูปธรรม ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจดาราศาสตร์ได้ง่ายขึ้น และท้องฟ้าจำลองสามารถให้บริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกช่วงวัย ทุกช่วงเวลา และทุกสถานที่ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจกับภาพดวงดาวบนท้องฟ้า ดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ กาแล็กซี เนบิวลา กระจุกดาว ดาวเคราะห์ วัตถุในห้วงอวกาศลึก จากภาพยนตร์ทางดาราศาสตร์ด้วย
นอกจากเจ้าหน้าที่เราจะบรรยายให้กับผู้เข้ามาใช้บริการแล้ว ทางหอดูดาวยังเปิดโอกาสให้ ครู อาจารย์ นักศึกษา สามารถใช้ท้องฟ้าจำลองบรรยายให้กับนักเรียนประกอบการเรียนการสอนดาราศาสตร์ด้วยตนเอง เพื่อเชื่อมโยงการบรรยายไปสู่หลักสูตรการศึกษาในห้องเรียนได้อีกด้วย
การให้บริการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
การให้บริการวิชาการ เน้นสร้างความตระหนักและสื่อสารดาราศาสตร์ไปสู่สาธารณะชน ครอบคลุมกลุ่ม เป้าหมายทุกระดับ ทั้งเด็กและเยาวชน ครูอาจารย์ ประชาชนทั่วไป และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เพื่อสร้าง แรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจ ยกระดับและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ละกิจกรรม ที่จัดขึ้นได้คำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาสมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น
• ให้บริการถ่ายทอดความรู้ทางดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
• จัดค่ายดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษา
• สนับสนุนการทำงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษา
• จัดอบรมครูดาราศาสตร์
• จัดกิจกรรมดูดาว สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า
วัน – เวลา เปิดบริการ
กิจกรรมและการให้บริการ |
|
|
เปิดบริการ อังคาร - อาทิตย์ ( หยุดทุกวันจันทร์ ) |
อังคาร - ศุกร์ |
11.00 - 12.00 น. และ 15.00 - 16.00 น. |
อัตราเข้าชมท้องฟ้าจำลอง |
|
|
บุคคลทั่วไป 50 บาท |
|
|
ทุกวันเสาร์ |
18.00 - 22.00 น. *** ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย *** |
กล้องโทรทรรศน์ชนิดต่างๆ สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์
[ 1 ] กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว กล้องโทรทรรศน์พื้นฐานที่ใช้ในการจัด กิจกรรมให้กับเด็กและนักเรียนที่มาเยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว
[ 2 ] กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และ 5 นิ้ว กล้องโทรทรรศน์สำหรับใช้ในการอมรมโครงการต่างๆ ในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว
[ 3 ] ชุดประกอบกล้องโทรทรรศน์ เพื่อเรียนรู้การประกอบกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง
ชุดประกอบกล้องโทรทรรศน์
กล้องโทรทรรศน์ชนิดต่างๆ สำหรับให้บริการสังเกตวัตถุท้องฟ้า
[ 1 ] กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัย มีระบบค้นหาและติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติพร้อมกล้องติดตามวัตถุท้องฟ้า (Guider Scope) ที่ช่วยให้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ามีความคมชัดมากขึ้น
Celestron EdgeHD 1400 , EdgeHD 9.25
Optical System : Advanced Coma-Free Telescope
Telescope Aperture : 14 inch (365 mm.) , 9.25 inch (234.95 mm)
Focal Length : 3910 mm. , 2350 mm.
Focal Ratio : F/11 , F/10
Mounting System : Equatorial Mount (CGE PRO , CGE)
[ 2 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง สามารถเห็นขอบหลุมบนดวงจันทร์ รายละเอียดบนแถบเมฆ และพายุสีแดงบนดาวพฤหัสบดี รวมถึงหุบเหว และปากปล่องภูเขาไฟบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน
Takahashi TOA-150
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 6 inch (150 mm.)
Focal Length : 1100 mm.
Focal Ratio : F/7.33
Mounting System : Equatorial Mount (EM-400)
[ 3 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 130 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง เปิดให้ประชาชนหรือผู้ที่สนใจ นำกล้องถ่ายรูปมาต่อกับกล้องโทรทรรศน์ เพื่อถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าในทุกคืนวันเสาร์ด้วย
Takahashi TOA-130
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 5.11 inch (130 mm.)
Focal Length : 1000 mm.
Focal Ratio : F/7.7
Mounting System : Equatorial Mount (EM-200)
[ 4 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 106 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับดูวัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่ และอื่นๆ
Takahashi FSQ-106
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 4.2 inch (106 mm.)
Focal Length : 530 mm.
Focal Ratio : F/5
Mounting System : Equatorial Mount (EM-200)
[ 5 ] กล้องสองตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 125 มิลลิเมตร เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ เหมาะกับการสังเกตดาวเคราะห์ กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) และดวงจันทร์ ผู้เข้าชมจะเห็นภาพที่เป็นมิติมากกว่ากล้องโทรทรรศน์ทั่วไป
Vixen BT126ss-A
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 4.9 inch (126 mm.)
Focal Length : 625 mm.
Focal Ratio : F/5
Mounting System : Equatorial Mount (Sirius) (astrotech)
[ 6 ] กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกต สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น
Coronado 90 mm.
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 3.5 inch (90 mm.)
Focal Length : 792 mm.
Focal Ratio : F/8.8
Filter : Hydrogen - Alpha
Mounting System : Equatorial Mount (Sirius,astrotech)
โครงสร้างพื้นฐานภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
1.2 อาคารนิทรรศการดาราศาสตร์ จัดแสดงในรูปแบบชุดการเรียนรู้ดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ เสมือนจริง ประกอบด้วยนิทรรศการทั้งหมด 14 โซน ได้แก่
- สเปกตรัมกับการค้นพบทางดาราศาสตร์ | - การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ |
- การรวมแสงของกล้องโทรทรรศน์ | - น้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ |
- การหักเหของแสง | - แสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์ |
- การรวมสีของแสง | - อุกกาบาต |
- การเกิดเฟสของดวงจันทร์ | - ความสำคัญของขนาดรูรับแสงของกล้องโทรทรรศน์ |
- การหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส | - การสำรวจดวงจันทร์ |
- หลุมดวงจันทร์ | - ฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ |
1.3 อาคารหอดูดาว ประกอบด้วยโดมไฟเบอร์กลาสทรงคล้ายเปลือกหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์หลักสำหรับงานวิจัยทางดาราศาสตร์ ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบซีซีดีสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลทางดาราศาสตร์เพี่อใช้ในการศึกษาวิจัย และมีช่องมองภาพเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ส่องดูวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยทางดาราศาสตร์ อาทิ สเปกโทรกราฟ และเครื่องมือทาง ดาราศาสตร์อื่น ๆ เป็นต้น
1.4 อาคารศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ อาคารสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อบรม บรรยาย จัดค่ายดาราศาสตร์ และจัดแสดงนิทรรศการดาราศาสตร์
1.5 แบบจำลองวงโคจรของระบบสุริยะ ( Planet Walk ) แนวคิดการออกแบบต้องการให้เกิดการเรียนรู้ดาราศาสตร์ระหว่างการเดินชมบริเวณโดยรอบและเนื่องจากระบบสุริยะเป็นพื้นฐานของดาราศาสตร์เป็นสิ่งที่ผู้คนคุ้นเคย จึงนำระบบสุริยะมาผนวกเข้ากับส่วนต่าง ๆ ของหอดูดาวฯ เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของพื้นที่ได้ง่ายขึ้น
อาคารฉายดาวเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ เป็นจุดศูนย์กลางถ่ายทอดเรื่องราวของดาราศาสตร์ให้กับผู้สนใจ และรายล้อมด้วยดาวเคราะห์ดวงต่างๆ
1.6 สโตนเฮนจ์จำลอง สโตนเฮนจ์ เป็นวงกลมที่ใช้ในการสังเกตตำแหน่ง ขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ในวันครีษมายันที่กลางวันยาวที่สุด ดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าบริเวณที่แนวเกือกม้าหันไปพอดี และในวันเหมายันที่กลางวันสั้นที่สุด ดวงอาทิตย์จะตกบริเวณกึ่งกลางผ่านช่องของเกือกม้าพอดี การสังเกตตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นจากกึ่งกลางสโตนเฮนจ์นี้ จึงทำให้มนุษย์ยุคโบราณสามารถคำนวณได้ว่าหนึ่งปีมี 365 วัน และทำนายได้ว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
สำหรับสโตนเฮนจ์จำลองนี้ เป็นสโตนเฮนจ์ที่ย่อส่วนลงมาเหลือเพียงหนึ่งในสาม แล้วหันทิศทางให้สอดคล้องกับ ละติจูด 13.6°N ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดฉะเชิงเทรา
1.7 สัมราฏยันตระจำลอง สัมราฏยันตระ ( Samrat Yantra ) ที่นำมาจำลองในที่นี้ เป็นหอสังเกตการณ์เก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์ เครื่องมือนี้ทำหน้าที่เป็นนาฬิกาแดดเพื่อบอกเวลา เป็นหนึ่งในอนุสรณ์จากอนุสรณ์สถานยันตระมันตรา (Jantar Mantar) ซึ่งเป็นบริเวณรวบรวมสถาปัตยกรรม ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ สร้างโดยมหาราชสะหวายจัย สิงห์ เสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1738 ตั้งอยู่ที่เมืองชัยปุระ (Jaipur) ประเทศอินเดีย
การทำงานของนาฬิกาแดดทั่วไป ประกอบด้วยตัวเข็ม (gnomon) เพื่อทอดเงาลงบนฉาก มีขีดบอกเวลา สำหรับสัมราฏยันตระจำลองนี้ ตัวเข็มทำขึ้นจากพื้นลาดเอียง เป็นมุมเท่ากับละติจูดของผู้สังเกต (13.6°N สำหรับ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดฉะเชิงเทรา) ชี้ไปยังทางทิศเหนือ มีฉากรับเป็นวงกลมเอียงตามกับเข็ม การที่เข็มเอียงเท่ากับละติจูดนี้ ทำให้พื้นลาดชี้ไปในทิศทางที่ขนานกับแกนหมุนของโลก เงาของดวงอาทิตย์จะทอดไปเป็นวงกลมรอบๆ พื้นเอียงนี้ ไม่ว่าดวงอาทิตย์จะอยู่ในพิกัดใดๆ ก็ตามบนท้องฟ้า
เวลาที่นาฬิกาแดดบอกได้ ก็คือเวลาสุริยคติท้องถิ่น เช่น ณ เวลาสุริยคติท้องถิ่น 12.00 น. ดวงอาทิตย์ จะอยู่บริเวณเส้นเมอริเดียนพอดี และเงาของสัมราฏยันตระจะหดสั้นที่สุดและไม่ทอดลงบนฉากรับ แต่อย่างไรก็ตาม เวลาบนนาฬิกาที่เราใช้นั้นเป็นเวลามาตรฐานประเทศไทย เป็นการเทียบเวลาสุริยคติท้องถิ่นเฉลี่ยที่เส้นลองจิจูด 105° (บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี) และยังไม่ได้คำนึงถึงวงโคจรที่เป็นวงรีของโลกที่ทำให้เวลาสุริยคติ คลาดเคลื่อนกับเวลามาตรฐานบ้างเล็กน้อยตามรอบของปี
1.7 กำแพงภาพวาดดาราศาสตร์
1.8 ลานดูดาวสำหรับจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ ลานดูดาวสำหรับจัดกิจกรรมสังเกตวัตถุท้องฟ้า หรือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ ความจุประมาณ 1,500 คน
1.9 ลานกางเต็นท์ ลานกว้างสำหรับให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกางเต็นท์พักค้างแรม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์และ กิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
1.10 สวนพฤกษศาสตร์หอดูดาว หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกจำกัด (มหาชน) จัดสร้างสวน พฤกษศาสตร์บริเวณรอบหอดูดาว ทั้งสวนพฤกษศาสตร์พันธุ์พืชกินได้ และสวนพฤกษศาสตร์พันธุ์พืชทางศาสนา พร้อมระบบท่อส่งน้ำ ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิสันติธรรมมาธร เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา หรือหอดูดาวภูมิภาค ฉะเชิงเทราเป็นหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 999 ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา บนพื้นที่ 36 ไร่ ที่วัดวังเย็นมอบให้จัดสร้างหอดูดาวฯ มีเป้าหมายหลักให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ดาราศาศาตร์สำหรับประชาชนและสถานศึกษาในท้องถิ่น สนับสนุนการบริการวิชาการด้านดาราศาสตร์แก่ชุมชน สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาค อีกด้วย