ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

Hits:1324

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...

อ่านต่อ ...

NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…

Hits:861

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...

อ่านต่อ ...

17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”

Hits:566

จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...

อ่านต่อ ...

กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”

Hits:1592

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...

อ่านต่อ ...

ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…

Hits:1509

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...

อ่านต่อ ...

นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…

Hits:4597

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวดาราศาสตร์ทั้งหมด
 
 
  1. บทความดาราศาสตร์
  2. บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
  3. จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
  4. จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
  5. Download

การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…

Hits:3781

เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap  เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...

อ่านต่อ ...

โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์

Hits:2711

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...

อ่านต่อ ...

วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย

Hits:2202

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...

อ่านต่อ ...

ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป

Hits:9330

[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

Hits:21795

ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...

อ่านต่อ ...

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

Hits:15108

ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...

อ่านต่อ ...

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

Hits:15645

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...

อ่านต่อ ...

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

Hits:17123

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี

Hits:4772

00 001

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series

บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น

จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ

Hits:4749

00 001

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)

NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ

สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight  มีเนื้อหา  6 ตอน ได้แก่

หนังสือ

Hits:4473

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์  ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต

ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2563  “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้

ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้

astronomy book 01 01 astronomy book 01 02

next
prev
 
 
  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
  3. ข่าวรับสมัครงาน
  4. รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
  5. NARIT INTERNSHIP PROGRAM
  6. รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
  7. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  8. ข่าว อว

12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่

Hits:560

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...

อ่านต่อ ...

12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…

Hits:719

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...

อ่านต่อ ...

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…

Hits:2391

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...

อ่านต่อ ...

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…

Hits:520

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
อ่านข่าวจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
next
prev
 
 

หอดูดาวภูมิภาค

nma icon     cco icon     ska icon     

 

2019

หน้าแรก

caas 2024 banner

ข่าวสาร

  • 1 มีนาคม 2567 / เปิดลงทะเบียนเข้าร่วมนำเสนอผลงาน งานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์
    ระดับโรงเรียน ครั้งที่ 5 (คลิ๊ก)
  • 1 มีนาคม 2567 / ยินดีต้อนรับสู่ งานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ครั้งที่ 5
    ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2567 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร จ.ปทุมธานี


กำหนดการ

รูปแบบที่ 1 : ผู้นำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”
ลงทะเบียน ส่งผลงานกิจกรรมดาราศาสตร์ จนถึงวันที่ 28 เม.ย. 2567
ประกาศผลการคัดเลือก 1 พฤษภาคม 2567
ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ 26 พฤษภาคม 2567

รูปแบบที่ 2 : ผู้นำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”
ลงทะเบียน กิจกรรมการอบรมฯ จนถึงวันที่ 28 เม.ย. 2567
คัดเลือกและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 29 เม.ย. - 15 พฤษภาคม 2567
ประกาศผลการคัดเลือก 21 พฤษภาคม 2567

รูปแบบที่ 3 : ผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน (แบบไม่นำเสนอผลงาน)
ลงทะเบียน                                                    วันที่ 1 - 20 พฤษภาคม 2567

* คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกหัวข้อนำเสนอผลงาน (รูปแบบที่ 1) โดยคัดเลือกจากกิจกรรมดาราศาสตร์ที่ส่งมา และจะประกาศผล ใน วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เพื่อแจ้งให้กับผู้ผ่านการคัดเลือกส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป

** ดาวโหลดเอกสารโครงการ “งานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ครั้งที่ 5”

ติดต่อ

ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ 
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) 

อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เลขที่ 260 หมู่ 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
เบอร์โทร : 053-121268, 053-121269 ต่อ 305, 306  (วันและเวลาทำการ)
ติดต่อ : คุณเจษฏา, คุณคมสันต์, คุณศวัสกมล
โทรสาร : 053-121250

ดาวน์โหลด

Logo CAAS

 



60

 

Artwork Logo MHESI final 27 04 2564 01 400px   logo PNG2


  • โครงการและกำหนดการงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับ
    โรงเรียน (CAAS) ครั้งที่ 5 Download
  • เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ CAAS#3 Download
  • เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ CAAS#4 Download
  • รูปแบบ รายงานฉบับสมบูรณ์ Download
  • รูปแบบ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ Download
  • การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) Download

สถานที่และการเดินทาง

       การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน ครั้งที่ 5 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2567 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมสัมนาได้หลายรูปแบบ พร้อมที่พักและพื้นที่บริการโดยรอบอย่างสมบูรณ์  โดยการประชุมแบบบรรยายจัดขึ้น ณ ห้อง Auditorium และการนำเสนอแบบโปสเตอร์จัดขึ้นบริเวณโดยรอบเช่นกัน

 สถานที่จัดประชุม

4

3

บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ตั้งอยู่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ตั้งอยู่เลขที่ 111 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 มีพื้นที่เพียบพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน มีห้องประชุมพร้อมรองรับผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,000 คน มีห้องพักสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 200 คน มีห้องทดลองสำหรับจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

การเดินทาง

          เนื่องจากบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีรถขนส่งสาธรณะหรือรถบัสผ่าน มีพียงรถบัสเพียงสายเดียววิ่งผ่านสถานที่ใกล้เคียง นั่นก็คือ รถบัสสาย 510 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ถนนพหลโยธิน - ถนนวิภาวดีรังสิต - สนามบินดอนเมือง - ม.ธรรมศาสตร์(รังสิต)) แต่จุดจอดจะอยู่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) หากเดินทางด้วยวิธีนี้ ท่านจะต้องเดินเท้าจากมหาวิทยาลัยฯ มายังบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (ซึ่งอยู่ใกล้กัน) ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้น การเดินทางด้วยรถส่วนตัว Taxi หรือ Grab Car น่าจะสะดวกที่สุด

แผนที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

2

Google map : https://goo.gl/maps/ZTBfjDQtc2tdLNSA7

ที่อยู่ : ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 130 พหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 0 2590 7100
อัตราค่าห้องพัก
ห้องพัก 2 เตียง ราคา 800 บาท (ค่าห้องพัก) หรือ 1,000 บาท (ค่าห้องพัก+อาหารเช้า)

ห้องพัก 4 เตียง ราคา 1,200 บาท (ค่าห้องพัก) หรือ 1,500 บาท (ค่าห้องพัก+อาหารเช้า)
Website : http://www.nstda.or.th/tcc

โรงแรมข้างเคียง

  1. โรงแรมดีลักซ์ ธรรมศาสตร์ อพาร์ตเมนท์ อัตราค่าที่พัก ~900 บาท

    โทรศัพท์ : 02 151 4000

    แผนที่ : https://g.page/DLUXXTU?share

    1

  2. โรงแรม : iRESIDENCE HOTEL PATHUMTHANI อัตราค่าที่พัก 900 - 1,200 บาท
    โทรศัพท์ : 090 052 6666
    แผนที่ : https://g.page/iResidenceHotel?share

    5

ลงทะบียน

สำคัญ

  1. ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน เฉพาะรูปแบบที่ 1 และ รูปแบบที่ 2 จะได้รับเกียรติบัตรเพื่อแสดงว่าท่านได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงาน “การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน” และการสนับสนุน อาหารว่าง อาหารกลางวัน อาหารเย็น และที่พัก(ผู้จัดประชุมจัดหาให้) ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร  ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2567 (2 คืน) ยกเว้น ค่าเดินทางจากภูมิลำเนามายังสถานที่จัดประชุม จะต้อง   รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหรือเบิกจ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด

  2. ผู้เข้าร่วมฟังการประชุม รูปแบบที่ 3 แบบไม่นำเสนอผลงาน สามารถเข้าร่วมการประชุมได้โดย ไม่เสีย ค่าลงทะเบียน และได้รับการสนับสนุนเฉพาะอาหารว่าง และอาหารกลางวัน ระหว่างการประชุม สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนของ ค่าอาหารเย็น ค่าที่พัก และค่าเดินทางจากภูมิลำเนา ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหรือเบิกจ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด



ลงทะเบียนเข้าร่วมนำเสนอผลงาน และงานประชุมฯ

รูปแบบที่ 1 : การนำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน” ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่

  1. กิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน
  2. กิจกรรมดาราศาสตร์สู่ชุมชน
  3. กิจกรรมศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ลิ้งก์ลงทะเบียน ด้านล่าง

BTN CAAS 01

                                                           

รูปแบบที่ 2 : การนำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”

BTN CAAS 02

 

รูปแบบที่ 3 : ผู้เข้าร่วมนำฟังการนำเสนอผลงาน (แบบไม่นำเสนอผลงาน)

BTN CAAS 03

 

รูปแบบการจัดประชุม

       การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน หรือที่รู้จักกันในชื่อ CAAS แบ่งรูปแบบการเข้าร่วมประชุมเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 : ผู้นำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”

เป็นการเข้าร่วมนำเสนอผลงานของครูผู้สอนดาราศาสตร์ที่มีผลงาน มีกิจกรรมดาราศาสตร์ ที่เคยสอนหรือเคยจัดกิจกรรมมาก่อนหน้านี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมที่ตนเคยจัดกิจกรรมสู่เพื่อนครู และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนครูผู้สอนดาราศาสตร์ เพื่อนำกิจกรรมไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนต่อไป

รูปแบบที่ 2 : ผู้นำเสนอกิจกรรมการอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่จะนำเสนอกิจกรรมในห้องเรียนที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นต้นแบบและเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดาราศาสตร์ในห้องเรียนต่อครูผู้สอนท่านอื่นที่ร่วมการประชุม โดยคณะกรรมการจะดำเนินการคัดเลือกตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้กิจกรรม Workshop ที่มีความโดดเด่น  และสามารถเป็นต้นแบบกิจกรรมในอนาคตที่ดีต่อไป

รูปแบบที่ 3 : ผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน (แบบไม่นำเสนอผลงาน)

เป็นการเข้าร่วมแบบรับฟังการประชุมอย่างเดียว รูปแบบนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการประชุม เพื่อรับแนวคิดในการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในห้องเรียน แต่การเข้าร่วมในรูปแบบนี้จะมีข้อจำกัดในการสนับสนุนการเข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดที่ทางสถาบันฯ กำหนด

*** การให้การสนับสนุน

  1. ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน เฉพาะรูปแบบที่ 1 และ รูปแบบที่ 2 จะได้รับเกียรติบัตรเพื่อแสดงว่าท่านได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงาน “การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน” และการสนับสนุน อาหารว่าง อาหารกลางวัน อาหารเย็น และที่พัก(ผู้จัดประชุมจัดหาให้) ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2567 (2 คืน) ยกเว้น ค่าเดินทางจากภูมิลำเนามายังสถานที่จัดประชุม จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหรือเบิกจ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด
  2. ผู้เข้าร่วมฟังการประชุม รูปแบบที่ 3: แบบไม่นำเสนอผลงาน สามารถเข้าร่วมการประชุมได้โดยไม่เสีย       ค่าลงทะเบียน และได้รับการสนับสนุนเฉพาะอาหารว่าง และอาหารกลางวัน ระหว่างการประชุม สำหรับ    ค่าใช้จ่ายในส่วนของ ค่าอาหารเย็น ค่าที่พัก และค่าเดินทางจากภูมิลำเนา ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหรือเบิกจ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด



ขอบเขตและการพิจารณาเข้าร่วมการประชุม

รูปแบบที่ 1 : การนำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน” จำนวน 60 ผลงาน

1.1 กิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

- กิจกรรมดาราศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดย ครู นักเรียน หรือสมาชิกในชมรมดาราศาสตร์
- มุ่งเน้นพัฒนาความรู้ และความเข้าใจทางดาราศาสตร์ แก่ นักเรียนในโรงเรียน/ต่างโรงเรียน
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การสร้างสื่อ/อุปกรณ์ดาราศาสตร์, งานวันวิทยาศาสตร์, ค่ายดาราศาสตร์, กิจกรรมดูดาว, การสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน, หรือการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในรูปแบบอื่นๆ

การนำเสนอ 

- เลือกนำเสนอ กิจกรรมเด่นหรือกิจกรรมที่น่าสนใจเพียง 1 กิจกรรม ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม, วัตถุประสงค์, ผู้เข้าร่วมกิจกรรม, รูปแบบ/เนื้อหากิจกรรม, ผลที่ได้รับ, จุดเด่น,    ผลการดำเนินกิจกรรม, ความแปลกใหม่, ความน่าสนใจ และอื่นๆ
- กิจกรรในภาพรวมตลอด 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา (พ.ค. 66 - เม.ย. 67)

1.2 กิจกรรมดาราศาสตร์สู่ชุมชน

- กิจกรรมดาราศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดย ครู นักเรียน หรือสมาชิกในชมรมดาราศาสตร์
- เปิดโอกาสและกระตุ้นความสนใจดาราศาสตร์ แก่ ประชาชนทั่วไป/คนในชุมชน ได้มีส่วนร่วม 

ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์, กิจกรรมตามปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์สำคัญ ในพื้นที่ชุมชน/พื้นที่ห่างไกล, จัดกิจกรรมดูดาวในช่วงเทศกาลต่างๆ, กิจกรรมดาราศาตร์สู่ชุมชน หรือการจัดนิทรรศการดาราศาสตร์

การนำเสนอ 

- เลือกนำเสนอ กิจกรรมเด่นหรือกิจกรรมที่น่าสนใจเพียง 1 กิจกรรม ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม, วัตถุประสงค์, รูปแบบกิจกรรม, จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม, ผลการดำเนินกิจกรรม, วัตถุท้องฟ้า, จุดเด่น, ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าสนใจของกิจกรรม
-  กิจกรรในภาพรวมตลอด 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา (พ.ค. 66 - เม.ย. 67)

1.3 กิจกรรมศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน

- กิจกรรมการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบโครงงานดาราศาสตร์ โดยที่
- ครู ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาโครงงาน แก้ปัญหาหรือ  ข้อสงสัยของนักเรียน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การนำเสนอ 

- นำเสนอ แผนการดำเนินโครงงานดาราศาสตร์ ในช่วง 1 ปีการศึกษา ที่ผ่านมา (พ.ค. 66 - เม.ย. 67)
- นำ ตัวอย่างโครงงานที่น่าสนใจมาช่วยอธิบายถึง ภาพรวมของการดำเนินงาน และผลที่นักเรียนได้รับจากการศึกษาโครงงาน ตัวอย่างเนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น บทบาทของครูที่ปรึกษาโครงงาน, การกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ, แนวทางการศึกษาโครงงาน การวางแผนการศึกษาโครงงาน, ปัญหา/อุปสรรค, และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาโครงงาน

รูปแบบที่ 2 : นำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”  จำนวน  3-5 กิจกรรม

คือการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้แนวทางการสอนดาราศาสตร์สำหรับครู ด้วยกิจกรรมเชิงปฎิบัติการทางดาราศาสตร์ เช่น STEM, Active learning หรือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนดาราศาสตร์อื่นๆ            ในห้องเรียน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์มากขึ้น

การนำเสนอ 

- ต้องนำเสนอ และสาธิตกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในแก่ผู้เข้ารวมกิจกรรม
- อธิบายขั้นตอน หรือกระบวนการของกิจกรรมโดยละเอียด ประกอบด้วย
- ชื่อกิจกรรม, วัตถุประสงค์กิจกรรม, อุปกรณ์, ระยะเวลากิจกรรม, กลุ่มเป้าหมาย, ขั้นตอนการเรียนรู้ ฯลฯ

รูปแบบที่ 3 : เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน (แบบไม่นำเสนอผลงาน) จำนวน 40 คน

* การประชุมนี้เปิดโอกาสให้ครูที่สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนต่อไป

การนำเสนอ / การพิจารณาผลงานเด่น

รูปแบบที่ 1 : การนำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”  ผู้เข้าร่วมต้องจัดเตรียมการนำเสนอผลงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1  การลงทะเบียน
      ผู้ลงทะเบียน ต้องส่งข้อมูลกิจกรรมเด่น และ กิจกรรในภาพรวมตลอด 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา ในห้วข้อที่เข้าร่วมนำเสนองาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ "รูปแบบการจัดประชุม"

1.2 รายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)

       ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จะต้องจัดทำรายงานการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ เพื่อยืนยันการเข้าร่วมการนำผลงานเข้าร่วมการประชุม โดยรายงานฉบับสมบูรณ์จะเป็นการอธิบายรายละเอียดกิจกรรมให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น รูปแบบ ขั้นตอน ผลการดำเนินกิจกรรม และการอภิปรายผล เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นและเข้าใจภาพรวมของการจัดกิจกรรม สามารถต่อยอดและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมของตนเองได้ โดยมีรูปแบบการเขียนรายงาน ดังนี้

1.2.1 จำนวนรายงาน ไม่เกิน 4 หน้า (ขนาด A4)
1.2.2 รูปแบบรายงานฯ และการตั้งค่าหน้ากระดาษ (คลิ๊ก)

1.3  การนำเสนอผลงาน

1.3.1 การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentaion) จัดเตรียมสไลด์สำหรับนำเสนอกิจรรมดาราศาสตร์ เช่น ชื่อกิจกรรม บทนำ/แนวคิด/ที่มาของกิจกรรม วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน/รายละเอียดกิจกรรม ผลการดำเนินกิจกรรม ฯลฯ (เวลานำเสนอ 5 นาที)  (คลิ๊ก)

1.3.2 การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) จัดเตรียมข้อมูลโปสเตอร์นำเสนอกิจกรรมดาราศาสตร์     (ผู้นำเสนอต้องจัดเตรียมมาเอง) โดยมีรายละเอียดดังนี้

- ความกว้าง x ความยาว (90 x 120 เซนติเมตร)
- ตัวอักษร/รูปภาพไม่เล็กเกินไป และไม่กลืนไปกับพื้นหลัง สามารถอ่านได้ง่าย เน้นรูปประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจกรรม

Poster

ตัวอย่างรูปแบบโปสเตอร์นำเสนอผลงาน

2. การนำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”

2.1.  ลงทะเบียน

ส่งข้อมูลและอธิบายขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน เช่น วัตถุประสงค์ อุปกรณ์ ระยะเวลากิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย และขั้นตอนการเรียนรู้ เป็นต้น

2.2.  การคัดเลือก และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

คณะกรรมการจะมีการคัดเลือก สัมภาษณ์ และสอบถามเกี่ยวกับ กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมฯ

2.3 การนำเสนอ

ผู้นำเสนอเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมมอบรม (Workshop) การนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียนให้กับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยมีเวลานำเสนอและดำเนินกิจกรรม 1 ชั่วโมง/กิจกรรม โดยทีมงานจากสถาบันฯ จะเป็นผู้ร่วมจัดเตรียมและสนับสนุนการนำเสนอผลงานดังกล่าว



เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีความโดดเด่น

ผลงานกิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ที่มีความโดนเด่นและได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการ และได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตามเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

    1. ความชัดเจนในการนำเสนอ เช่น การนำเสนอครอบคลุมเนื้อหา, การนำเสนอถูกต้อง ตรง/ครบประเด็น         ที่กำหนด
    2. ความหลากหลายของกิจกรรม หรือโครงงานฯ ที่นำเสนอ เช่น วิธีการ รูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์      ความแปลกใหม่
    3. ความต่อเนื่อง และจำนวนกิจกรรม/โครงงานดาราศาสตร์
    4. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตลอด 1 ปีการศึกษา รวมถึงประโยชน์ของที่เกิดขึ้นต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือชุมชน
    5. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เช่น การนำเสนอ เผยแพร่กิจกรรม และโครงงานดาราศาสตร์, การเป็นวิทยากร, การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก

เกี่ยวกับโครงการ

logo PNG2 Logo CAAS


การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน
The Conference on Astronomical Activities in School

       สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานด้านดาราศาสตร์และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย มีพันธกิจหลักสำคัญประการคือการให้บริการวิชาการ สร้างนวัตกรรม การเรียนรู้ และสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านดาราศาสตร์ให้กับครู นักเรียน เยาวชน และบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง     ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สดร. มุ่งเน้นส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้เกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมและสร้างความตระหนักในด้านดาราศาสตร์ อันเป็นประตูสู่การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

       จากโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัด เปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า ในปีงบประมาณ 2558 - 2566 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้กับโรงเรียนในเครือข่ายทั่วประเทศ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 610 โรงเรียน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ให้เกิดขึ้นในระดับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียนขึ้น เพื่อให้โรงเรียนเครือข่ายจากทั่วประเทศได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ชุมชน รวมถึงการพัฒนาโครงงานวิจัยทางดาราศาสตร์ในระดับ   พื้นฐานหรือยุววิจัยในโรงเรียน

       การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ของครู ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในห้องเรียน การจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในโรงเรียน ขยายผลไปยังชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ รวมถึงการเรียนรู้ในรูปแบบชมรมดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมครูและนักเรียนที่มีความชอบและใจรักในดาราศาสตร์ โดยอาศัยกิจกรรมดาราศาสตร์เป็นสื่อนำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบชมรม จนถึงการศึกษาที่ลึกขึ้นจนก้าวไปสู่การศึกษาในรูปแบบโครงงานหรือยุววิจัยดาราศาสตร์ เกิดการเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ กว่า 610 โรงเรียน ทั่วประเทศ

       สำหรับการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ประจำปี 2567 จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 โดยในปีนี้ มีการขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมที่อยู่นอกเหนือกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ จำนวน 610 โรงเรียน รวมถึงมีการเพิ่มกิจกรรมการนำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียนจากครูผู้ที่จัดกิจกรรมอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง ทำให้ครูที่เข้าร่วมการประชุมได้รับแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของตนต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การจัดกิจกรรมดาราศาสตร์
  2. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในระดับโรงเรียน
  3. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในโรงเรียนและชุมชนอย่างแพร่หลาย
  4. เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายดาราศาสตร์ในระดับโรงเรียนเกิดความตื่นตัว และเกิดการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ชุมชน อย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อส่งเสริมและต่อยอดให้เกิดการเรียนรู้และศึกษาดาราศาสตร์ในรูปแบบโครงงาน

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ครู และผู้ดำเนินกิจกรรมดาราศาสตร์ จากโรงเรียนเครือข่ายโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ (ได้รับมอบกล้องฯ ในปี พ.ศ. 2558 - 2566 จำนวน 610 โรงเรียน)
  2. ครู และผู้ดำเนินกิจกรรมดาราศาสตร์ ที่สนใจแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในโรงเรียน

กิจกรรมดาราศาสตร์


outreach student          outreach teacher          outreach public                    

 

 
กิจกรรมที่ผ่านมา งานอบรม/สัมมนา
NARIT Social Media
     

 

       

 

 banner download     banner service download 03    banner media download 02
 

EIT ITA 2024  ETDA Banner 2567 

Citizen Portal 3 years plan 1200 x 800   E SDG logo

pdpa link
 

ITA 2567 banner 

                  qr code traffy fondue        feedback banner
               Traffy Fondue

E Learning Oic jahh banner
duga banner

researchexpo2023

 

event banner 

    virtualtour