ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

8 กันยายนนี้ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

Hits:1324

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผย 8 กันยายน 2567 “ดาวเสาร์ใกล...

อ่านต่อ ...

NARIT ชวนท่องอาณาจักรดวงจันทร์ พากลับไปสำรวจดวงจันทร์อีกครั้ง 16-25 สิ…

Hits:861

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนทุกคนทะยานสู่อวกาศ ท่องอาณาจั...

อ่านต่อ ...

17 สิงหาคมนี้ ชวนฟัง #เสวนาพิเศษ “ทิศทาง-อนาคต ดาราศาสตร์และอวกาศไทย”

Hits:566

จากการก่อตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium หรือ TSC) เพื่อสร้างดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย สู่โอกาสในการพัฒนาคน ตลอดจนเส้นทางต...

อ่านต่อ ...

กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี 21 มิถุนายนนี้ “วันครีษมายัน”

Hits:1592

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น ...

อ่านต่อ ...

ก้าวไปอีกขั้น! กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทย…

Hits:1509

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สถาบันดาราศาสตร์วิทยุมัก...

อ่านต่อ ...

นักดาราศาสตร์พบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำ M87 หลักฐานสำคัญบ่งชี้ว่าหลุมดำ…

Hits:4597

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบ...

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวดาราศาสตร์ทั้งหมด
 
 
  1. บทความดาราศาสตร์
  2. บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์
  3. จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี
  4. จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ
  5. Download

การสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.144…

Hits:3781

เนื่องจากวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajap  เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1444 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออ...

อ่านต่อ ...

โครงการ CPLS : เมื่อภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนมุ่งสำรวจดวงจันทร์

Hits:2711

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) กำลังดำเนินงานในแผนการพามนุษย์กลับไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ในปลายคริสต์ทศวรรษนี้ แต่ก่อนหน้าที่นักบินอว...

อ่านต่อ ...

วัตถุปริศนาเหนือท้องฟ้าเมียนมาคือจรวดขีปนาวุธของอินเดีย

Hits:2202

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลาประมาณ 18:30 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา (19:00 ตามเวลาประเทศไทย) มีรายงานผู้คนในประเทศเมียนมาและแถบภาคเหนือของประเทศ...

อ่านต่อ ...

ยาน JUICE ยานสำรวจเหล่าดวงจันทร์บริวารน้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีของยุโรป

Hits:9330

[ประเด็นสำคัญโดยสรุป] - องค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะส่งยานจูซ (JUICE) เพื่อศึกษาดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์น้ำแข็ง 3 ดวง ได้แก่ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

Hits:21795

ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาปร...

อ่านต่อ ...

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

Hits:15108

ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ...

อ่านต่อ ...

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

Hits:15645

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่...

อ่านต่อ ...

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

Hits:17123

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวล...

อ่านต่อ ...
อ่านบทความทั้งหมด

จากดาราศาสตร์สู่การพัฒนาเทคโนโลยี

Hits:4772

00 001

ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย : The Series

บทความชุด #ยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวหลังบ้าน เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ กว่าจะมาเป็นชิ้นงานเทคโนโลยีสุดล้ำ มีเส้นทางอย่างไร ผลงานวิจัยอาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด สิ่งสำคัญคือการสร้างเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้น

จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ

Hits:4749

00 001

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และสถาบันอุดมศึกษา รวม 12 แห่ง ภายใต้ #ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)

NARIT จึงจัดทำชุดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ชื่อ “จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ: To the Moon and back” ฉบับประชาชนแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกัน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ครับ

สำหรับบทความชุดแรกว่าด้วย Basics of Space Flight  มีเนื้อหา  6 ตอน ได้แก่

หนังสือ

Hits:4473

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (สดร.) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี สดร. ได้ดำเนินการตามภารกิจหลัก ทั้งงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้วิทยาศาสตร์  ทำให้วงการดาราศาสตร์ไทยเจริญรุดหน้า กลายเป็นดาวดวงใหม่เปล่งประกายเจิดจรัสในเวทีดาราศาสตร์โลก

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้ง สดร. ในปี 2562 สดร. ได้จัดทำหนังสือรวบรวมเรื่องราวตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ในชื่อ “ยืนมองท้องฟ้า ไม่เป็นเช่นเคย” บอกเล่าการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น พันธกิจ ผลงานโดดเด่นทั้งด้านการค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี และการสื่อสารดาราศาสตร์สู่สังคมไทย รวมถึงเป้าหมายต่อไปในอนาคต

ในทศวรรษที่ 2 สดร. มุ่งเป้าไปยังการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดาราศาสตร์ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ว่า ดาราศาสตร์มิใช่แค่เพียงการดูดาว หากแต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและยากที่สุด นอกจากนี้ดาราศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างตัวอย่างอันเป็นที่ประจักษ์ถึงการพัฒนานวัตกรรมด้วยการตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม

ในปี 2563  “บริบทใหม่ดาราศาสตร์ไทย” เป็นหนังสืออีกเล่มที่บอกเล่าเรื่องราวก้าวต่อไปของ สดร. ที่เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่องานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์และสร้างความตระหนักสู่สังคม และการใช้ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในมิติของความโดดเด่นของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาประเทศในอนาคตภายในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้านี้

ติดตามได้จากหนังสือทั้งสองเล่มนี้

astronomy book 01 01 astronomy book 01 02

next
prev
 
 
  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
  3. ข่าวรับสมัครงาน
  4. รับสมัครนักศึกษาช่วยงาน
  5. NARIT INTERNSHIP PROGRAM
  6. รับสมัครนักศึกษาฝึกงาน
  7. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  8. ข่าว อว

12 สิงหาคมนี้ ลุ้นชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” คืนวันแม่

Hits:560

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืนวันแม่ 12 สิงหาคม ถึงรุ่งเ...

อ่านต่อ ...

12-18 สิงหาคมนี้ ชวนเที่ยว “NARIT SCIENCE WEEK 2024” งานสัปดาห์วิทยาศา…

Hits:719

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเที่ยวงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห...

อ่านต่อ ...

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจ…

Hits:2391

ประกาศผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2567 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ...

อ่านต่อ ...

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการ…

Hits:520

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง การศึกษา และการสื่อสารดาราศาสตร์ ระดับนานาชาติ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ่านต่อ ...
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
อ่านข่าวจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
next
prev
 
 

หอดูดาวภูมิภาค

nma icon     cco icon     ska icon     

 

Exhibition

กล้องดาราศาสตร์ (Astronomical Telescope)

กล้องดาราศาสตร์ (Astronomical Telescope)

กล้องดาราศาสตร์ (Astronomical Telescope) โดย ระวี ภาวิไล

วิทยาศาสตร์

วารสารรายเดือน ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปีที่ 11 เล่มที่ 4 พ.ศ. 2500 หน้า 1 – หน้า 11

Read more ...

ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า : ลูกไฟอุกกาบาตเชียงคาน

ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า : ลูกไฟอุกกาบาตเชียงคาน

ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า :

ลูกไฟอุกกาบาตเชียงคาน

ระวี ภาวิไล

ราชบัณฑิตทางดาราศาสตร์

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

 

ข้อมูลอ้างอิง

ความรู้คือประทีป วารสารราย 3 เดือน

ฉบับเดือนกรกฎาคม – กันยายน ๓/๔๕ ISSN 0125-8583

จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่เป็นอภินันทนาการโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์

บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

Read more ...

สุริยุปราคาเต็มดวงกับวิทยาศาสตร์ไทย

สุริยุปราคาเต็มดวงกับวิทยาศาสตร์ไทย

คุณวิโรจน์  ประกอบพิบูล

อดีต ผู้อำนวยการฝ่าย ขึ้นตรงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท.

S 28680213

S 28680215

          ในปี 2538 มีปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ ครั้งสำคัญของประเทศ ที่สื่อมวลชน ถือว่าจะเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่อไปในอนาคต คือการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในตอนสายของวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์อย่างแม่นยำ ล่วงหน้านับปี ทำให้สื่อมวลชนมีเวลาที่จะเตรียมตัว และสื่อเดียวในขณะนั้นที่จะถ่ายทอดปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ได้ใกล้ชิดและทันท่วงทีคือสื่อโทรทัศน์ พร้อมทั้งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงของไทย ที่มีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ  พร้อมทั้งเป็นครั้งแรกเช่นกันที่คนไทย ได้รับชมการเกิดคราสครั้งแรก นับจากพื้นที่แรกของประเทศคือภาคตะวันออก จนกระทั่งออกจากประเทศไทย ทางภาคตะวันตก ช่อง 9 อสมท.ได้ทำหน้าที่นี้ ในหน้าที่สื่อ ทั้งยังได้รายงานการเกิดคราสจากภูมิภาคประเทศต่างๆ ที่เกิดคราส ด้วยเป้าหมายการทำหน้าที่สื่อที่รายงานเหตุการณ์สำคัญของโลกให้ผู้ชมไทยได้รับทราบ และสืบทอดปลูกฝังให้เยาวชนและสังคมไทย เป็นสังคมวิทยาศาสตร์และสนใจดาราศาสตร์ เฉกเช่นที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงคำนวณได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปีว่า จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ทำให้นานาชาติยอมรับ ความเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จนทุกวันนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

11 01

update 28 กันยายน 2563

 

ภูมิปัญญาและความเชื่อจากปรากฎการณ์บนท้องฟ้า

ภูมิปัญญาและความเชื่อจากปรากฎการณ์บนท้องฟ้า

บุญพีร์ พันธ์วร Think Earth: Think Sky

 img166

 10 01

พฤษภาคม 2537  โครงการ THINK EARTH ร่วมกับ ดร. ระวี ภาวิไล แถลงข่าวเปิดโครงการ THINK EARTH THINK SKY
นำคณะมวลชนร่วมแกะรอยความเป็นมาดาราศาสตร์ไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ จังหวัดลพบุรี

          ตรึกดิน ตรองฟ้า : ตรึกฟ้า ตรองดิน ปรากฎการณ์สุริยุปราคาบนฟากฟ้าที่ได้เกิดขึ้นอย่างเต็มดวงในประเทศไทย  เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สรรพคราสครั้งนี่นเคลื่อนผ่าน 11 จังหวัด ตั้งแต่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ถึงอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ซึ่งในวงการวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ทั่วไปถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่น่าชื่นชม คนสมัยใหม่โดยเฉพาะในต่างประเทศแทบจะไม่มีความเชื่อถือในเรื่องโชคลางที่จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับเหตุการณ์นี้ แต่สำหรับชาวไทยเองแล้วดูเหมือนจะมีความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องโชคลางและจักรวาลอยู่มากเพราะจักรวาลดูจะเป็นเรื่องที่ลี้ลับและซับซ้อน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุร้ายก็จะตีความว่าเป็นอิทธพลที่เกิดจากดวงดาว ต้นกำเนิดความเชื่อ ในสมัยก่อนปรากฎการณ์บนท้องฟ้าไม่ว่าจะเป็นดาวหาง ดาวตก ผีพุ่งใต้ สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา เป็นปรากฎการณ์ที่มนุษย์ในขณะนั้นยังไม่มีความรู้และวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ดีพอที่จะสามารถอธิบายถึงปรากฎการณ์เหล่านั้นได้ เพราะฉะนั้นนักคิด นักปราชญ์หรือผู้ปกครองตลอดจนผู้นำชุมชนพยายามค้นหาคำตอบ หรือสร้างนิยาย ตำนาน หรือจินตนาการ แล้วแต่ที่จะคิดขึ้นมา เพื่อจะอธิบายปรากฎการณ์นั้นในฐานะที่ตนเองเป็นผู้นำชุมชนที่ต้องรอบรู้ทั้งหมด ดังนั้นคำตอบในแต่ละพื้นที่ของแต่ละชนเผ่าหรือต่างศาสนา ย่อมมีความเชื่อที่มีความแตกต่างกันไป ถือเป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในการพยายามคิดหาคำตอบซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีวิชาดาราศาสตร์ แต่ก็สามารถทำให้คนในขณะนั้นมีทางออกในเรื่องนี้ได้ ล้วนมีความเชื่อที่ต่างเผ่าพันธุ์ต่างความคิดแล้วแต่สภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชน ในประเทศไทย มีเอกสารหลายชิ้นที่ค้นคว้ากันอยู่ หนึ่งในนั้นคือ “กำเนิดเทวะ” ของพระยาสัจจาภิรมณ์ หรือ โฉม ศรีเพ็ญ พบเรื่องตำนานเรื่องพระอาทิตย์ พระจันทร์และตำนานเรื่องราหูอมพระอาทิตย์ อมพระจันทร์ โดยในตำนานได้กล่าวถึงการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาว่าด้วยความเชื่อของชาวอินเดีย ตอนที่เหล่าเทวดา และยักษ์ช่วยกันกวนมหาสมุทรทำพิธีเสกน้ำอมฤตสำหรับดื่มให้เป็นอมตะ พิธีกวนเริ่มด้วยเทวดานำเอาบรรดาสมุนไพรมาโยนลงในมหาสมุทร แล้วยกเอา “ภูเขามันทระ” เป็นไม้กวนโดยใช้วิธีว่าไปจับเอาพญานาคมาทำเป็นเชือกพันรอบเขาแล้วเทวดา และยักษ์ก็เข้าแถวเรียงกันเป็น 2 แถว ผลัดกันชักเย่อไปมา ภูเขาก็หมุนตัว บรรดายาสมุนไพรในมหาสมุทรก็เกิดการหมุนเวียน และถูกบดละเอียดเข้าทุกทีจนข้นเป็นปลัก แต่มี “น้ำใสวิเศษ” ขึ้นตรงกลาง มีเทวแทตย์ทูนถ้วยน้ำโผล่ขึ้นมา แสดงว่าการกวนน้ำอมฤตประสบผลสำเร็จแล้ว แต่เทวดาคิดไม่ซื่อ เลือกจับพญานาคส่วนหาง ให้หัวพญานาคอยู่ด้านยักษ์ เวลาพญานาคบิดตัวจะคลายพิษ ทำให้ยักษ์อ่อนแรง ส่งผลทำให้เทวดาเป็นฝ่ายชนะ พญานาคได้ดื่มน้ำอมฤตเป็นรางวัล แต่ก็มียักษ์ราหู ชื่อ “อสุรินทราหู” แอบปลอมตัวเข้าไปปะปนกับเทวดาเพื่อดื่มน้ำอมฤตด้วย แต่อสุรินทราหูเป็นแทตย์ที่มีหางเหมือนมังกร เพราะเป็นบุตรท้าวเวปจิตติ กับนางสังหิกา จัดอยู่ในพวกอสูร เมื่อปลอมตัวเข้าไป จึงถูกพระอาทิตย์กับพระจันทร์จับได้ พระอาทิตย์กับพระจันทร์จึงได้นำความไปฟ้องพระนารายณ์ พระองค์จึงใช้จักรที่เป็นอาวุธประจำตัวของพระองค์ตัดคอยักษ์ราหู ซึ่งปกติแล้วยักษ์เมื่อต้องอาวุธของพระนารายณ์ก็จะตาย แต่เนื่องจากยักษ์ราหูไปดื่นน้ำอมฤตทำให้เป็นอมตะไม่ตายทำให้ร่างกายขาดเป็นสองท่อนส่วนล่างก็เป็น ดาวหาง ดาวเกตุ อีกส่วนหนึ่งก็เป็นราหูไป ด้วยความแค้นผูกพยาบาท ที่พระอาทิตย์และพระจันทร์นำความไปฟ้องพระนารายณ์ ยักษ์ราหูจึงคอยแก้แค้น หากเมื่อใดที่พบยักษ์ราหาก็จะจับมาหนีบรักแร้ให้ฉุนเล่น หรือไม่ก็อมแสงพระอาทิตย์กับแสงพระจันทร์ การอมมีอยู่สองอย่างคืออมแบบคลี่คือการอมแบบเต็มดวง และอมแบบคลายคือการอมแบบไม่เต็มดวง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกคนจะต้องช่วยพระอาทิตย์กับพระจันทร์ชาวบ้านจึงตีเกราะ เคาะไม้จุดประทัด ทำเสียงดังเพื่อไล่ยักษ์ราหูตนนี้ออกไป นี่คือความเชื่อของคนไทยมาแต่โบราณแต่สมัยนี้คงไม่ค่อยมีใครเคยได้ยินหรือ ทราบเรื่องเหล่านี้ เพียงแต่ทราบว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ต้องไปตีเกราะ เคาะไม้ จุดประทัดไล่เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีนิยายอยู่ในหนังสือเฉลิมไตรภพ แต่งเป็นกาพย์เกี่ยวกับเรื่องสุริยุปราคาอีกเรื่องหนึ่งมีเนื้อความคร่าวๆ ว่า มีพี่น้องซึ่งเป็นลูกเศรษฐีชื่อ “หัสวิโสย” อยู่ 3 คน คนโตชื่ออาทิตย์ คนรองชื่อจันทร์ คนสุดท้องชื่อราหู ต่อมาเศรษฐีตายไป ทั้งสามจึงได้ทำบุญตักบาตร อาทิตย์ใช้ขันทอง จันทร์ใช้ขันเงินและอธิษฐานขอให้เกิดเป็นพระอาทิตย์มีผิวพรรณเรืองรองเป็นทองอำไพ จากอานิสงส์ที่ตักบาตรด้วยขันทองและพระจันทร์มีผิวพรรณผุดผ่องเป็นสีเงินยวง ฝ่ายน้องราหูโกรธมากที่พี่ๆ เอาภาชนะดีๆ ไปใช้และอธิษฐานขอแต่สิ่งดีๆ ทั้งนั้น เลยคว้ากระบวยมาเป็นภาชนะตักบาตร และอธิษฐานว่าให้เกิดเป็นราหู มีร่างกายใหญ่โตสามารถบดบังรัศมีของพี่ๆ ทั้งสองคืออาทิตย์และจันทร์ได้ เมื่อตายไปพี่น้องทั้งสามได้เป็นดังอธิษฐาน ราหูนั้นยังมีใจเจ็บแค้นอยู่ เมื่อเห็นพระอาทิตย์และพระจันทร์เป็นต้องทำให้เกิดคราส ในความเชื่อของชาวกระเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่มเรียกว่า “ตาชื่อมื่อ” มีความเชื่อว่าแผ่นดินกินพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้นจะต้องช่วยพระอาทิตย์ โดยการตีเกราะ ตีกลอง การเป่าเขาควายเขาโค เพื่อจะไล่ตรงนี้ออกไป

          ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าความเชื่อถือเกี่ยวกับปรากฎการณ์นี้ของคนแต่ละเผ่าพันธุ์ จะแตกต่างกันไป บางเผ่าในทวีปอเมริกาใต้ที่รบราฆ่าฟันกันมาเป็นเวลานานก็เลิกรบกัน เพราะคิดว่าพระเจ้าพิโรธ ชนเผ่าเล็กๆ บางเผ่าจะมีพิธีบูชายันต์เมื่อเกิดปรากฎการณ์นี้ ส่วนในประเทศจีน มีคติความเชื่อเรื่องการเกิดสุริยุปราคาอยู่ในเรื่อง “ไคเภ็ค” อันเป็นพงศาวดารการสร้างโลกของจีนในพงศาวดารนั้นกล่าวว่า พระอาทิตย์ (เพศชาย) นั้นเป็นเทวดามีชื่อคัย แซ่ซึง ส่วนพระจันทร์ (เพศหญิง) เป็นเทพธิดาชื่อบี้ แซ่ถัง เป็นสามีภรรยาที่รักกันมากไม่ค่อยยอมจากกัน เมื่อไม่ยอมจากกันจึงทำให้ไม่ค่อยยอมทำหน้าที่ให้แสงสว่างแก่มนุษย์ แต่เกรงบารมีของคุณต่อเป็งชาน้าติอ่องสีฮ่องเต้ จึงต้องจำใจจากกันไปทำหน้าที่คนละเวลากัน เมื่อเวลาพระอาทิตย์โคจรเร็วพบกับพระจันทร์เข้าด้วยความรักก็ต้องมีการออดอ้อนกันตามประสาก็จะเกิดจันทรคราส แต่ถ้าพระจันทร์โคจรเร็วทันพระอาทิตย์ก็ทำให้เกิดสุริยคราส คนจีน จึงต้องจุดประทัด ตีม้า ตีฬ่อ ให้เกิดอาการตกใจจากกันไปทำหน้าที่ของตนหรืออีกความชื่อหนึ่งของจีนคือ การเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคานั้นอาจหมายถึงการที่มังกรกำลังกลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็มี จึงต้องทำให้เกิดเสียงดังเพื่อให้มังกรคลายดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ออกมา สร้างเป็นวัตถุมงคล สำหรับตำนานทางโหราศาสตร์ “ราหู” นับเป็นดาวที่มีคุณทางให้กำลังเมื่อเกิดราหูอมจันทร์คือ เงาของโลกไปบดบังทับดวงจันทร์ดำมืดนั้นเองจะมีคุณทางให้กำลังเพิ่มอานุภาพภายใน ผลักดันให้เกิดความเพียรพยายาม ขัดแข็ง ในขณะเดียวกันก็บาปที่จะทำให้เกิดความลุ่มหลงมัวเมา เช่น ผู้ใดมีราหูกุมลัคนาจะเป็นคนขยันมาก หมายถึงเป็นคนเอาจริงเอาจัง ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระราหูมีเพียงครึ่งตัว เนื่องจากถูกจักรของพระนารายณ์ตัดขาดเพราะปลอมเป็นเทวดาไปแอบดื่มน้ำอมฤต ขณะนั้นพระอาทิตย์และพระจันทร์ได้ไปพบเห็นเข้าจึงได้ไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงกริ้วเป็นเหตุให้ขว้างจักรไปต้องกายพระราหูขาดเป็นสองท่อน แต่ก็ไม่สามารถทำให้พระราหูตายได้ เนื่องจากความเป็นนิรันดร์ที่ได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไป ดังนั้นพระราหูจึงมีความแค้นเคืองพระอาทิตย์และพระจันทร์มาก จึงคอยเฝ้าจับกินพระอาทิตย์และพระจันทร์อยู่เสมอ อันเป็นที่มาของราหูอมพระอาทิตย์หรือราหูอมจันทร์ “จันทรคราส / สุริยคราส” นั้นเอง

          กำเนิดกะลาตาเดียว การสร้างสรรค์งานศิลปะพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นในทุกยุคทุกสมัยมักจะเกิดขึ้นจากความประทับใจ ความเชื่อในด้านต่างๆ และความต้องการเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นแรงดลใจ ไม่ว่า ณ แห่งหนตำบลใดในโลก เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีการพัฒนารูปแบบของศิลปะนั้นๆ ให้สวยและงดงามขึ้นตามลำดับด้วยภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่นตามสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีของแต่ละยุคสมัย เช่นเดียวกันกับศิลปะพื้นบ้าน “การแกะกะลาพระราหู” ศิลปินพื้นถิ่นผู้สร้างสรรค์งานก็ได้มีการพัฒนากระบวนการผลิตรูปแบบและองค์ประกอบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของงานศิลปะพื้นบ้าน โดยมีการฝึกฝนขึ้นภายในหมู่บ้าน มีการพัฒนารูปแบบให้สวยงามทั้งทางด้านองค์ประกอบและลวดลาย สุดแล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคลหรือช่างที่ทำการแกะ แรกๆ ก็ไม่ได้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน แต่มาสมัยหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง อำเภอนครไชยศรี จังหวัด
นครปฐม ผู้มีความสนใจทางตำราคาถาอาคมต่างๆ และมีความสนใจเรื่องกะลาตาเดียวนี้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากโยมบิดา เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสครองวัดก็ได้วางรากฐานและรูปแบบ ตลอดจนลวดลายการแกะสลักกะลาพระราหูให้เป็นมาตรฐาน โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ยุคนี้อาจถือได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปะการแกาะกะลาตาเดียวก็คงไม่ผิดนัก กะลาพระราหูกับความเชื่อพื้นบ้าน ตำนานการสร้าง “พระราหูอมจันทร์” นั้นมิได้เนื่องมาจากทางโหราศาสตร์ แต่เนื่องมาจากสิ่งเดียวเท่านั้นคือ “ความเป็นอมตะและเป็นนิรันดร์ของพระราหูที่ไม่รู้จักตาย” อันเป็นแนวทางความเชื่อของบรรพชนโบราณที่อาศัยโฉลกนี้เป็นตัวกำหนด เป็นสูตรพิธีสร้างสรรค์สิ่งซึ่งใช้คุ้มครองตนให้มีชีวิตเป็นอมตะ รอดพ้นจากภยันตรายต่างๆ อีกทั้งยังมีคุณวิเศษอื่นๆ อีกมากมาย อานุภาพแห่งพระราหูนี้มีกล่าวไว้ในหลายๆ ตำราหลากหลายความเชื่อ แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ทั้งพุทธ ฮินดู ไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่า อานุภาพแห่งพระราหูนั้นมีอิทธิพลต่อความเชื่อของจิตใจคนไทยมาเป็น
เวลาช้านาน อาจจะสรุปถึงอานุภาพแห่งพระราหูตามที่อาจาร์ยบุญส่ง สุขสำราญ ได้ประมวลมาคือ 1. ใช้ป้องกันอาวุธ หอก ดาบ หน้าไม้ ปืน ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ 2. เพื่อให้เกิดลาภผลและแก้วแหวนเงินทอง 3. ป้องกันคุณไสยกระทำย่ำยี เสน่ห์ เสนียดจันไร ผีปอบ ผีป่า 4. เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดความเมตตา ปราณี รักใคร่ เป็นเมตตามหานิยม 5. เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าเรื่องการงาน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าถ้านำกะลาพระราหูมาแช่น้ำ จะทำให้น้ำนั้นศักดิ์สิทธิ์เหมือนน้ำมนต์ใช้ประพรมกันโจร กันอัคคีภัย หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยให้หญิงคลอดลูกง่าย ทั้งยังให้ฤทธิ์กำบังตนพ้นจากการไล่ล่าได้อีกด้วย ทั้งนี้ตามตำราใบลานต้นฉบับการแกะกะลาพระราหูระบุว่า ผู้ที่แกะนั้นจะต้องเลือกใช้แต่กะลาตาเดียวเท่านั้น เนื่องจากมีความพิเศษแปลกพิสดารกว่ากะลาธรรมดา อีกทั้งหาได้ยากและตามคติความเชื่อโบราณก็ถือว่า กะลาตาเดียวเป็นของที่ดีอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เช่นเดียวกับของที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้วมีความผิดแปลกออกไป นอกจากนี้ คติไทยโบราณท่านยังนิยมใช้กะลาตาเดียวทำประโยชน์ต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น ในวิชาการแพทย์โบราณระบุไว้ว่า กะลาตาเดียวใช้สำหรับตัดต้อที่ตาผู้ป่วยให้หายได้ หรือใช้สำหรับตักข้าวสารใส่หม้อโบราณ โดยเชื่อว่าจะให้ผลทางความเจริญงอกงามทั้งทางด้านฐานะและความเป็นอยู่ หรือใช้สำหรับกันและแก้เสนียดจัญไร ผีสางต่างๆ ฯลฯ กะลาตาเดียวในความเชื่อที่บูชาและเชื่อมั่นศรัทธาในพระราหูนั้น จะทำพิธีลงคาถาอาคมในขณะที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราส เรียกว่า “โมกขบริสุทธิ์” เชื่อว่าจะทำให้ความวิเศษของกะลาตาเดียวมีคุณค่ามากขึ้น โดยลงยันต์ “สุริยประภา” หรือ “สุริยบัพพา” ขณะที่เกิดสุริยคราสและลงยันต์ “จันทรประภา” หรือ “จันทรบัพพา” ตอนเกิดจันทรคราสทั้งสองคาถานี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นสุดยอดของยันต์ทั้งปวง คาถา “สุริยบัพพา” และ “จันทรบัพพา” นี้ ความเชื่อของคนโบราณจะภาวนาขณะที่จะเดินทางออกจากบ้านเพื่อจะได้ให้ “พระราหู” คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ตนขณะเดินทาง อย่างไรก็ตามความเชื่อของคนโบราณในอดีต และพัฒนามาจนกระทั่งปัจจุบันเปรียบเสมือนภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นศิลปะของชาวบ้านที่พยายามจะหาคำตอบ แสวงหาทางเลือกต่างๆ ในการแก้เคล็ดในการปกป้องคุ้มครองให้ตนปลอดภัยจากภยันตราย

          ทั้งหลายทั้งปวง อาจจะมีคำถามหลายๆ คำถามที่ว่าสิ่งเหล่านี้งมงายหรือไม่ทุกอย่างมีคำตอบในตัวของมันเองอยู่แล้วแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เลื่อมในศรัทธาสิ่งเหล่านั้นมีคุณงามความดีมากน้อยเพียงไรเอาสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในทางมิชอบหรือไม่ แต่สิ่งที่เป็นคำตอบได้ดีที่สุดก็คือทุกสิ่งอยู่ที่ใจ ถ้าจิตใจของเราบริสุทธิ์ยึดมั่นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แล้วเราไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น

 update 28 กันยายน 2563

เล่าเรื่อง “ศาสตาจารยกิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล” โดย คุณภาสุรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรสาว

เล่าเรื่อง  “ศาสตาจารยกิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล” โดย คุณภาสุรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บุตรสาว

เล่าเรื่อง

“ศาสตาจารยกิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล”

โดย คุณภาสุรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุตรสาว

อาจารย์ระวีทำงานอะไร

          อาจพูดได้ว่าชีวิตส่วนตัวกับการงานของอาจารย์ระวีนั้นแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะงานทั้งหลายของอาจารย์ระวีเริ่มต้นจากสิ่งที่อาจารย์ระวีรักที่จะให้ความสนใจ แล้วลงมือทำงานตามที่เห็นสมควรเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วหาหนทางถ่ายทอดความรู้ให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่น สิ่งที่อาจารย์ระวีให้ความสนใจมักจะมีหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าเรื่องทุกเรื่องเกี่ยวข้องกันหมด ไม่มีเส้นแบ่งแยกระหว่างงานที่ได้เงินกับงานที่ไม่ได้เงิน

Read more ...

C1961R1 Humason by Rawi Bhavilai

C1961R1 Humason by Rawi Bhavilai

              ดาวหาง ฮูมาซอน ชื่อเดิม C/1961 R1 (หรือที่เรียกว่า 1962 VIII and 1961e) เป็นดาวหางที่โคจรแบบไม่มีคาบที่แน่นอน ถูกค้นพบโดย Milton L. Humason เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1961.  ระยะทางที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวหางนี้อยู่ไกลกว่าวงโคจรของดาวอังคารรอบดวงอาทิตย์ หรือ ที่ 2.133 AU. ระยะเวลาในการโคจรของมันออกไปจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2516 ปี ดาวหางนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของนิวเครียสประมาณ 30-41 กม [2] มันเป็นดาวหางยักษ์ ที่มีปฏิกิริยามากกว่าดาวหางปกติที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เท่าๆ กัน ด้วยความสว่าง 1.5 -3.5 แมกนิจูด ซึ่งสว่างกว่าของดาวหางทั่วไปถึง 100 เท่า ทำให้สามารถมองเห็นดาวหางนี้อย่างเด่นชัดบนท้องฟ้า และสเปกตรัมจากหางของดาวหางบ่งบอกถึงองค์ประกอบที่หนาแน่นไปด้วยไอออน CO+  ซึ่งมีลักษณะเข่นเดียวกันกับที่พบในหางของดาวหาง Morehouse (C/1908 R1). [4]

 

00

อ.ระวี ภาวิไล ในขณะนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศออสเตรเลีย ได้เฝ้าสังเกตการณ์ดาวหาง Humason ที่ปรากฏอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2504

 

01

02

03

04

กล่องบรรจุฟิลม์กระจกบันทึกภาพดาวหาง Humason

 

05

06

07

08

09

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

ฟิลม์กระจกบันทึกภาพดาวหาง Humason

 

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

ภาพดาวหาง Humason

 

34

35

36

37

38

39

ภาพแสกนจากฟิล์มกระจก

 update 25 มิถุนายน 2563

 

ดาวหางฮัลเลย์

ดาวหางฮัลเลย์

          “ดาวหางฮัลเล่ย์” ชื่อดาวหางที่คนไทยมีความคุ้นเคยและรู้จักมากที่สุด เหตุเพราะดาวหางมีความสว่างที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด

          เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์ เป็นผู้คำนวณและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางได้สำเร็จเป็นคนแรกด้วยฮัลเล่ย์พบว่าดาวหางดวงนี้จะโคจรกลับมาให้เห็นบนท้องฟ้าทุกๆ 75 - 76 ปี ฮัลเล่ย์ได้ใช้ข้อมูลจากที่มีผู้บันทึกการพบเห็นดาวหางที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 โดยฮัลเล่ย์สันนิฐานว่าดาวหางที่ปรากฏนี้น่าจะเป็นดาวหางดวงเดียวกัน และฮัลเล่ย์ได้ทำนายว่าดาวหางดวงนี้จะกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1759 แต่ฮัลเล่ย์ไม่สามารถพิสูจน์ผลการคำนวณและทำนายของเขาได้เนื่องจากเขาได้เสียชีวิตไปก่อนที่ดาวหางจะมาปรากฏตัว ถึงแม้ว่าฮัลเล่ย์จะเสยชีวิตไปแล้วแต่คำทำนายของเขายังคงอยู่ และในปี ค.ศ. 1758 ตามคำทำนายของฮัลเล่ย์ก็มีผู้พบเห็นดาวหางดวงนี้ปรากฏตัวขึ้นจริง ๆ ในวันคริสต์มาสของปีนั้นเอง สร้างความตื่นเต้นแก่ผู้คนในโลกตะวันตกเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาดวงนี้จึงได้ชื่อตามชื่อของเขาว่า “ดาวหางฮัลเล่ย์”

 

01

02

03

ข้อมูลภาพ จากหนังสือ ฮัลเล่ย์ Halley

ศุภดารา พลสมุทร ค้นคว้า เรียบเรียง

ดรุณี แปล เรียบเรียง

 

          ในช่วงต้นๆ ปี 2529 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2529 ดาวหางฮัลเล่ย์ เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าทางภาคใต้ของประเทศไทย สามารถมองเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่า การโคจรกลับมาในครั้งนี้สร้างความตื่นตัวให้ประชาชนคนไทยสนใจเรื่องของดาราศาสตร์มากขึ้น ในยุคนั้น ศ.ดร.ระวี ภาวิไล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรกๆ ของไทย ได้ร่วมสังเกตการณ์การกลับอีกครั้งของดาวหางฮัลเล่ย์ ซึ่งได้สร้างความตื่นตัวให้เยาวชนไทยหันมาให้ความสนใจการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มากขึ้นกับการกลับของดาวหางฮัลเล่ย์ในครั้งนี้ 

 

04

05

 

กล้องโทรทรรศน์แบบนิวโทรเนียน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว

ศ. กิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล ใช้สังเกตการมาเยือนของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2529

 

          มรดกที่ฮัลเล่ย์ทิ้งไว้คือเทคนิคการคำนวณหาคาบวงโคจรของดาวหาง และนักดาราศาสตร์ยุคต่อมาก็ใช้เทคนิคการคำนวณของฮัลเล่ย์ทำนายการมาเยือนของดาวหางดวงนี้ในอนาคต ซึ่งดาวหางฮัลเล่ย์จะกลับมาให้เราได้ชมอีกครั้งในราวช่วงกลางปี พ.ศ. 2604 จากมรดกที่ฮัลเล่ย์ฝากไว้ให้คนรุ่นหลังให้พิสูจน์ผลการคำนวณของเขาว่าถูกต้องหรือไม่ตามที่คำนวณไว้...

update 18 มิถุนายน 2563

 

หวนรำลึกปรากฏการณ์สุริยุปราคา 24 ตุลาคม 2538

หวนรำลึกปรากฏการณ์สุริยุปราคา 24 ตุลาคม 2538

วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต

นักดูดาวติดดินแห่งแปลงยาว

09 01

        ในช่วงเกิดการปรากฎการณ์สุริยุปราคา 24 ตุลาคม 2538  ข้าพเจ้ามีความตื่นเต้นมากเนื่องจากในช่วงนั้นข้าพเจ้ากำลังอยู่ในช่วงที่ศึกษาและฝึกถ่ายภาพดาราศาสตร์  ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เดินทางไปสีคิ้วร่วมกับทีมงานของสมาคมดาราศาสตร์ไทย โดยตั้งกล้องถ่ายภาพอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ห่างกันประมาณ 10 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณใกล้กับพื้นที่สังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมด้วยนักเรียนนายร้อย จปร.

09 02

        ข้าพเจ้าจำได้ว่าเหตุการณ์ในวันนั้นมีประชาชนจำนวนมากมายมหาศาล รวมถึงประชาชนที่อยู่บริเวณรอบๆ พื้นในส่วนของพื้นที่สังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อนเริ่มปรากฎการณ์ท้องฟ้าดูเหมือนจะไม่เอื้ออำนวยนัก แต่พอเริ่มจะเข้าคราสท้องฟ้ากับเปลี่ยน เมฆหายไปหมด ช่วงใกล้ปรากฎการณ์ประชาชนก็มีความตื่นเต้น พากันจ้องมองฟ้า ช่วงปรากฏการณ์คราสเต็มดวงอุณหภูมิก็มีความเย็นวูบขึ้นชั่วขณะ ภาพบนท้องฟ้าสวยงามมากเนื่องจากปรากฎการณ์ diamond ring มีแสงเหมือนแก้วแวววับ แต่มีความเร็วมาก ตัวข้าพเจ้าและลูกชายของข้าพเจ้าคุณเอกชัยซึ่งช่วยถ่ายภาพอยู่ ณ ขณะนั้น ก็กำลังถ่ายภาพและสามารถถ่ายภาพตามที่ตั้งใจไว้มากมาย ส่วนข้าพเจ้าก็ได้สัมผัสบรรยากาศที่ประชาชนเดินเข้ามาในสนามด้วยความตื่นเต้น ซึ่งบริเวณนั้นเป็นบริเวณที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับอยู่ แต่ท่านก็ไม่ได้ถือพระองค์แต่อย่างใด และทรงอนุญาตให้ประชาชนเข้ามาร่วมสัมผัสบรรยากาศ  ประชาชนทุกๆ คนต่างมีความตื่นเต้นกับปรากฏการนี้มาก มีเสียงตะโกนร้องกันอย่างกึกก้อง ปรากฏการณ์ในครั้งนี้นี้สวยงามมากสมกับที่ทุกๆ คนรอคอย การถ่ายภาพสามารถถ่ายภาพได้ ทุกๆ 5 นาที ได้ภาพครบทุกปรากฏการณ์พอคราสเริ่มจะออกอุณหภูมิก็เริ่มสูงขึ้นแต่ไม่ร้อนมีความเย็นๆ อยู่บ้าง 

09 03

        ข้าพเจ้ามีความตื่นเต้นกับปรากฏการณ์ในวันนั้นมาก เป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้เห็นปรากฏการณ์สวยงามบนท้องฟ้าประเทศไทย มีโอกาสได้ถ่ายภาพ มีโอกาสได้ร่วมชมปรากฏการณ์กับประชาชนเป็นจำนวนมาก ขอบันทึกไว้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สุดยอดมากจริงๆ

 update 11 มิถุนายน 2563

เหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

เหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

รองศาสตราจารย์ ดร. สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์

        สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่ผมได้มีโอกาสมองเห็นด้วยตาตัวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงที่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทยก่อนหน้านั้น เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ตั้งแต่ผมยังไม่เกิด

        ก่อนเที่ยงวันนั้นคนไทยต่างเฝ้ารอคอยด้วยใจจดใจจ่อ เพราะข่าวปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งสำคัญที่ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในรอบ ๔๐ ปี เป็นข่าวดังทั่วประเทศ เมื่อใกล้ถึงเวลาท้องฟ้าเริ่มค่อยๆมืดลง ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนที่เข้าบังดวงอาทิตย์ทำให้เกิดเงามืดบนพื้นโลก จนในที่สุดเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง สิ่งที่ปรากฏต่อสายตาทุกคู่ที่เฝ้าดู คือ ปรากฏการณ์หัวแหวนที่เปล่งประกายสว่างจ้าดั่งประกายสะท้อนแสงของหัวแหวนเพชร ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลลี่ (Baily’s beads) ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ ๒-๓ นาที ท่ามกลางเสียงร้องฮือฮาของทุกคนที่เฝ้าดูปรากฏการณ์ดังกล่าว จากนั้นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังสนิทเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ท้องฟ้ามืดมิดคล้ายตอนกลางคืน เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ในเช้าวันนั้น สำหรับผมเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นประทับใจมากด้วยตระหนักว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสพบเห็นได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต และทุกวันนี้ยังจำได้ดีถึงความรู้สึกตื้นเต้นกับเหตุการณ์ครั้งนั้นอย่างไม่ลืมเลือน

update 4 มิถุนายน 2563

08 01

บันทีกความทรงจำถึงสุริยุปราคา พ.ศ. 2538

บันทีกความทรงจำถึงสุริยุปราคา พ.ศ. 2538

โดย ผศ. ดร. เรืองศักดิ์ ทรงสถาพร

          เมื่อวันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ผู้เขียนขณะนั้นรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ได้ออกเดินทางจาก มธ. ท่าพระจันทร์ พร้อมกับคณาจารย์ บุคลากร และครอบครัวของ มธ. จำนวนประมาณ 60 คน มุ่งหน้าสู่จังหวัดลพบุรี ทัศนศึกษาพระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์โดยมีวิทยากรจากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. ให้คำบรรยายถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ได้โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีและทรงพัฒนาจนมีความรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางค้าการปกครองและยังได้ทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระองค์ยังทรงสนพระทัยในการศึกษาวิชาการแขนงต่างๆ รวมทั้งดาราศาสตร์และมีหลักฐานว่าพระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำหนักเย็นทะเลชุบศรลพบุรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231

          จากลพบุรีคณะก็เดินทางเรียนรู้สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดพิษณุโลกและกำแพงเพชรจนสิ้นสุดวันก็เดินทางเข้าที่พักในจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีแผนการทัศนศึกษาว่าจะไปสังเกตุปรากฏการณ์สุริยุปราคาในวันถัดไปที่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

          ในตอนเย็นของวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2538 นั้น ผู้เขียนและทีมงานได้จัดการบรรยายให้กลุ่มร่วมทัศนศึกษาได้เข้าใจว่าสุริยุปราคาเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมหากพลาดโอกาสครั้งนี้จะต้องรออีก 75 ปี จึงจะเกิดขึ้นอีกครั้งเหนือท้องฟ้าประเทศไทย และที่สำคัญที่สุดคือวิธีการสังเกตที่ถูกต้องและปลอดภัย ผู้เขียนยังได้เน้นให้ทุกคนเตรียมสังเกตปรากฏการณ์สำคัญ 3 อย่าง ที่จะเกิดขี้นเมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง คือ

  1. เกิดปรากฏการณ์แหวนเพชร (Diamond ring)
  2. เกิดปรากฏกาณ์ลูกปัดของเบลีย์ (Bailey’s beads)
  3. สามารถเห็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ เรียกว่า โคโรน่า (Corona)

          ผู้เขียนจำได้ว่าแม้ทุกคนจะเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางแต่เห็นชัดถึงความสนใจความกระตือรือร้นใคร่รู้โดยเฉพาะจากเหล่าเด็กๆ ที่ร่วมเดินทางไปด้วย ต่างแย่งกันยกมือถามด้วยประกายตาแห่งความอยากรู้อยากเข้าใจอย่างยิ่ง

          วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 กลุ่มก็รีบออกเดินทางแต่เช้าเพื่อไปที่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมที่ทางทีมงานได้ประสานงานขอใช้สถานที่ไว้แล้ว พบว่าที่โรงเรียนมี ครู-อาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครองจำนวนมากก็มาเฝ้ารอสังเกตปรากฏการณ์ครั้งนี้จนเต็มพื้นที่โรงเรียน ผู้เขียนได้ใช้ช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อบรรยายวิธีการเฝ้าดูสุริยุปราคาที่ปลอดภัยแก่ทุกคนที่อยู่ในบริเวณนั้น และพบว่าส่วนใหญ่ได้เตรียมแว่นกรองแสงและอุปกรณ์อื่นๆ มาพร้อม แต่ยังมีนักเรียนบางคนที่ไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมซึ่งทางกลุ่มทัศนศีกษาได้เตรียมแว่นกรองแสงเพื่อแจกจ่ายจำนวนหนี่ง ผู้เขียนยังได้แนะนำว่าหากไม่มีอุปกรณ์การดูจริงๆ แล้ว ก็ยังสามารถเฝ้าดูอย่างปลอดภัยก็คือให้ไปยืนดูใต้ต้นไม้ พอช่วงเกิดสุริยุปราคาแสงอาทิตย์จะส่องผ่านรูใบไม้หรือช่องว่างระหว่างใบซึ่งก็คล้ายๆกับเป็นกล้องรูเข็มจะทำให้สามารถเห็นภาพเงาของสุริยุปราคาบนพื้นหรือหากเอากระดาษขาวแผ่นใหญ่วางไว้บนพื้นก็สามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาได้เช่นกัน

          เมื่อถึงเวลาประมาณ 9 นาฬิกา 25 นาที สามารถสังเกตุเห็นเงาดวงจันทร์เริ่มสัมผัสภาพผิวดวงอาทิตย์ที่นักดาราศาสตร์ เรียกว่า การสัมผัสครั้งแรก (First contact) โดยการสัมผัสเริ่มด้านบนค่อนทางขวาเล็กน้อยของภาพดวงอาทิตย์ ผู้เขียนมีข้อเสียใจอย่างยิ่งที่ไม่สามารถเสนอรายละเอียดของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์เพราะมหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ได้ทำลายห้องปฏิบัติการอุปกรณ์เครื่องมือและเอกสารต่างๆจำนวนมากซึ่งรวมทั้งข้อมูลการศึกษาสุริยุปราคาเต็มดวงปี พ.ศ. 2538 ไปจนหมด ผู้เขียนยังจำภาพความเสียหายในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดีจำได้ว่าห้องทำงานของผู้เขียนต้องจมอยู่ใต้น้ำด้วยระดับควาสูงของน้ำถึง 2 เมตรเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ทำให้ภาพถ่ายฟิล์มภาพสุริยุปราคาเต็มดวงถูกทำลายสิ้น เป็นการย้ำเตือนว่ามนุษย์ต้องเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติและปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติไม่พยายามฝืนธรรมชาติ

          แต่ถึงอย่างไรผู้เขียนยังจำปรากฏการณ์ที่สุดประทับใจครั้งนั้นได้ว่าหลังจากเกิดการสัมผัสครั้งแรกแล้วเงาดวงจันทร์ก็ค่อยๆ เคลื่อนเข้าบดบังดวงอาทิตย์จากด้านบนลงล่าง ดวงอาทิตย์ก็ค่อยๆ มืดลงทีละน้อยอุณหภูมิรอบตัวก็เริ่มเย็นลงประมาณ 3 องศาเซลเซียส สังเกตุเห็นฝูงนกบินกลับรัง ผู้คนรอบตัวก็เริ่มตื่นเต้นอย่างยิ่งจนเวลาประมาณ 10 นาฬิกา 44 นาที ก็ได้เห็นปรากฏการณ์แหวนเพชรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยหัวเพชรปรากฏอยู่ตอนเหนือค่อนไปทางขวาของภาพดวงอาทิตย์ซึ่งในตอนนั้นรอบๆ ตัวผู้เขียนได้ยินแต่เสียงอุทานขึ้นพร้อมๆ กันด้วยความประทับใจที่ได้เห็นภาพแหวนเพชร หลังจากนั้นอีกประมาณสิบถึงยีสิบวินาที เสียงอุทานยิ่งดังขึ้นเพราะขณะนั้นสามารถเห็นลูกปัดของเบลีย์รอบภาพดวงอาทิตย์ที่มืดเกือบสนิท แล้วผ่านไปอีกไม่กี่สิบวินาทีทุกคนก็ต้องอุทานเสียงดังอีกครั้งเพราะได้เห็นโคโรน่าของดวงอาทิตย์สว่างชัดเจนมากรอบภาพดวงอาทิตย์ที่มืดเพราะเงาดวงจันทร์บังสนิทแล้ว ทุกคนได้ดื่มด่ำกับความงดงามของโคโรน่าอยู่ประมาณ 1 นาที 52 วินาที เงาดวงจันทร์เคลื่อนลงทางใต้ของดวงอาทิตย์จนสามารถเห็นลูกปัดของเบลีย์อีกครั้ง ตามมาด้วยปรากฏการณ์แหวนเพชรครั้งที่สองโดยหัวเพชรเห็นได้ทางใต้ค่อนไปทางซ้ายของภาพดวงอาทิตย์ จนกระทั่งเวลาประมาณ 12 นาฬิกา 32 นาทีดวงอาทิตย์ก็กลับมาสว่างดังเดิมนับเป็นการสิ้นสุดของสุริยุปราคา พ.ศ. 2538 ผู้เขียนตระหนักดีว่านี่จะเป็นการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเหนือท้องฟ้าไทยเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตเพราะจะเกิดอีกครั้งในอีก 75 ปีข้างหน้า

          ผู้เขียนได้เห็นอาจารย์อาวุโสท่านหนึ่งกำลังยืนซับน้ำตาอยู่ ผู้เขียนจึงรีบเข้าไปถามหาสาเหตุ ท่านอาจารย์ตอบกลับว่า “(ดิฉัน) ไม่สามารถกลั้นน้ำตาแห่งความตื้นตันเมื่อได้เห็นความงดงามน่ามหัศจรรย์ของสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้มากและต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่ทำให้ (ดิฉัน) ได้เห็นความงามสุดประทับใจครั้งนี้ที่นับได้ว่าเป็นครั้งหนึ่งและครั้งเดียวในชีวิต” คำตอบสั้นๆ นี้ ทำให้หัวใจของผู้เขียนพองโตด้วยความปลื้มปิติและจะอยู่ในความทรงจำตลอดไป

update 2 มิถุนายน 2563

07 01

 

กิจกรรมดาราศาสตร์


outreach student          outreach teacher          outreach public                    

 

 
กิจกรรมที่ผ่านมา งานอบรม/สัมมนา
NARIT Social Media
     

 

       

 

 banner download     banner service download 03    banner media download 02
 

EIT ITA 2024  ETDA Banner 2567 

Citizen Portal 3 years plan 1200 x 800   E SDG logo

pdpa link
 

ITA 2567 banner 

                  qr code traffy fondue        feedback banner
               Traffy Fondue

E Learning Oic jahh banner
duga banner

researchexpo2023

 

event banner 

    virtualtour