หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ของเยาวชนไทย โดยเฉพาะการทำกิจกรรมประเภทชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียนระดับชั้นมัธยม ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และช่วยในการเผยแพร่ความรู้ ความสนใจในระดับโรงเรียนและท้องถิ่น จึงได้จัดค่ายดาราศาสตร์สำหรับชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียนขึ้น ณ โรงแรมคุ้มไทรงาม แอนด์ รีสอร์ท อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2564
ข่าวประชาสัมพันธ์
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน (ฉะเชิงเทรา)
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน (ฉะเชิงเทรา)
เสียงแห่งความเพียรพยายามของยานเพอร์เซเวียแรนส์ระหว่างการเดินทางสู่ดาวอังคาร
ไมโครโฟน EDL (Entry, Descent, and Landing) บนยานเพอร์เซเวียแรนส์ (Perseverance) ของ NASA ได้บันทึกเสียงของตัวมันเองขณะที่กำลังเดินทางไปยังดาวอังคาร ซึ่งถือว่าเป็นยานสำรวจลำแรกที่บันทึกเสียงการทำงานอันละเอียดอ่อนของอุปกรณ์ภายในตัวยานขณะเดินทางในอวกาศได้ ข้อมูลไฟล์เสียงความยาว 1 นาทีนี้ ถูกรวบรวมไว้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างการตรวจสอบระบบกล้องและไมโครโฟนของยาน
ภาพดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี หัวค่ำ 21 ธ.ค. 63
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้กันที่สุดในรอบ 397 ปี” ปรากฏบนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หัวค่ำวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่อาทิตย์ตกถึงประมาณ 19:30 น. มองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า เห็นชัดพร้อมกันทั้งสองดวงและดวงจันทร์บริวาร เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลังจากนี้ยังติดตามชมได้จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ก่อนจะห่างออกจากกันเรื่อยๆ และจะกลับมาปรากฏใกล้กันเช่นนี้ในอีก 60 ปีข้างหน้า
21 ธันวาคมนี้ “วันเหมายัน” กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผย 21 ธันวาคม 2563 เป็น “วันเหมายัน”(เห-มา-ยัน) กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูหนาว และประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน วันดังกล่าวช่วงหัวค่ำยังเกิดปรากฏการสำคัญ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปีอีกด้วย
เปิดโผ 10 เรื่องดาราศาสตร์น่าติดตาม ประจำปี 2564
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดประเด็น “10 เรื่องดาราศาสตร์น่าติดตามในปี 2564” เผยเทรนด์ปีหน้า เน้นพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูงสู่สังคม จับตา 2 ภาคีสำคัญ ภาคีความร่วมมือวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังแก้ปัญหา PM2.5 และ ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย วางแพลตฟอร์มดันไทยสู่วงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ พร้อมเดินหน้า ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย’ หนุนแหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ เตรียมเปิดนิทรรศการดาราศาสตร์โซนใหม่และจัตุรัสวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ และชวนติดตามปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญตลอดปี
20 - 23 ธันวาคมนี้ จับตา “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนติดตามปรากฏการณ์สำคัญ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี วันที่ 20 - 23 ธันวาคม 2563 มองด้วยตาเปล่าจะเห็นเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์สองดวงจะปรากฏอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน เป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก สดร. เตรียมจัดสังเกตการณ์ 4 จุดหลักที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา
สดร. เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึงเช้า 14 ธันวาคม 2563
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยลาน ต. ออนใต้ อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ คืนวันที่ 13 ถึง รุ่งเช้า 14 ธันวาคม 2563 บันทึกในช่วงเวลาประมาณ 21:00 - 02:30 น. นับเป็นฝนดาวตกส่งท้ายปีนี้ อัตราการตกเฉลี่ยสูงสุดเป็นไปตามคาด มากถึงประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง สามารถสังเกตเห็นดาวตกที่เป็นลูกไฟ (Fireball) และดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) เป็นแนวยาวพาดผ่านท้องฟ้า
เต็มตา! ฝนดาวตกเจมินิดส์ส่งท้ายปี 63 ชาวไทยฮือฮาแห่ชมคึกคัก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยบรรยากาศชมฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ธันวาคม ชาวไทยทั่วประเทศสนใจติดตามชมฝนดาวตกกันคึกคัก จุดสังเกตการณ์หลักที่อ่างเก็บน้ำห้วยลาน ประชาชนนับพันร่วมโต้รุ่ง นอนนับดาวตก ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เริ่มเห็นตั้งแต่ก่อนสองทุ่ม เป็นลูกไฟสว่างพาดผ่านทัองฟ้า หอดูดาวภูมิภาคโคราช ฉะเชิงเทราคนแน่นขนัดเช่นกัน
ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร ปีที่ 3
สดร. ชวนโต้รุ่งชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึง รุ่งเช้า 14 ธันวาคม ณ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน เชียงใหม่ - หอดูดาวภูมิภาคโคราช และฉะเชิงเทรา
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนชมฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ถึงรุ่งเช้า 14 ธันวาคม 2563 คาดปีนี้มีอัตราการตกเฉลี่ยมากถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง โอกาสดี ไร้แสงจันทร์รบกวน สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคทั่วไทย แนะชมในที่มืดสนิท เตรียมตั้งจุดสังเกตการณ์ เชิญชวนผู้สนใจโต้รุ่งนอนนับฝนดาวตก 3 จุดหลัก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน ต. ออนใต้ อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมาและฉะเชิงเทรา