ทีม Rickrolled จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน “Astro Challenge 2021 : ปริศนาดาราศาสตร์ ประจำปี 2564” ได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ข่าวประชาสัมพันธ์
สดร. ชวนท่องดินแดนเทคโนโลยีสำรวจอวกาศ ในงานมหกรรมวิทย์ฯ 64
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนเที่ยวบูธ สดร. ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 ชวนเจาะลึกการสำรวจอวกาศภายใต้ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย จัดเต็ม 9 - 19 พฤศจิกายนนี้ เวลา 09:00 - 19:00 น. ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมมาตรการป้องกันและแนวปฏิบัติด้านสุขอนามัยภายในงาน
เปิดแล้ว! เทศกาลชมดาว...รับลมหนาว 2564-2565 ที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
6 พฤศจิกายน 2564 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงาน “เปิดเทศกาลชมดาว...รับลมหนาว 2564-2565” ได้รับเกียรติจากนายชัชวาลย์ ฉายะบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานเปิดงาน ณ หอดูดาว อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ ประเดิมจัดดูดาววันแรกของฤดูกาลในรูปแบบนิวนอร์มอล พร้อมมาตรการสุขอนามัยด้านการบริการ จากนี้ เชิญชวนมาดูดาวฟรี! ทุกคืนวันเสาร์ ตั้งแต่ พ.ย. 64 - พ.ค. 65
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เตรียมเปิดเทศกาลชมดาว...รับลมหนาว จัดดูดาวฟรี! ทุกคืนวันเสาร์ แบบนิวนอร์มอล เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา เริ่ม 6 พ.ย. นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เตรียมเปิดเทศกาลชมดาว...รับลมหนาว 2564-2565 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา เปิดฤดูกาลชมดาวทุกคืนวันเสาร์อีกครั้ง เผยลิสต์กิจกรรมดาราศาสตร์ที่ไม่ควรพลาดตลอดหนาวนี้ พร้อมเตรียมมาตรการเพื่อสุขอนามัยของผู้เข้าชม
ประกาศเรื่อง ผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ หัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์" ประจำปี 2564
ประกาศเรื่อง ผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ หัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์" ประจำปี 2564
23 ก.ย. 64 “วันศารทวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
23 ก.ย. 64 “วันศารทวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 23 กันยายน 2564 เป็น “วันศารทวิษุวัต” ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้
สดร. จับมือ มรภ.พิบูลสงคราม ปักหมุดหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน เต็มรูปแบบแห่งที่ 5 ของไทยที่พิษณุโลก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ลงนามจัดตั้งหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา พิษณุโลก หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบแห่งที่ 5 ของไทย กระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เดินหน้าสร้างสังคมแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ครอบคลุมทั่วไทย
20 สิงหาคมนี้ ชวนชม “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยาวนานตลอดคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้เมฆฝน สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สดร. จัดดูดาววิถีใหม่แบบออนไลน์ เชิญชวนชาวไทยชมดาวพฤหัสบดีแบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ ทางเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพดาวเสาร์ “ราชาแห่งวงแหวน” ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2 สิงหาคม 2564
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” วันที่ 2 สิงหาคม 2564 บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ในช่วงเช้ามืด เวลา 03.40 น. ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
สดร. จับมือกรมอุตุนิยมวิทยาร่วมขับเคลื่อนภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย เร่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และต้นตอปัญหา PM2.5 ในไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือกรมอุตุนิยมวิทยาร่วมเป็นอีกหนึ่งในภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังเครือข่าย 29 หน่วยงานรัฐและเอกชน บูรณาการกำลังคน และทรัพยากรวิจัย เพื่อร่วมกำหนดแผนการวิจัยที่เชื่อมโยงกับการศึกษาคุณภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย พร้อมเร่งวิเคราะห์ต้นตอปัญหา PM2.5 ในประเทศไทย