สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 12:20 น. ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ณ จังหวัดเชียงใหม่ เงาของร่างกายหรือวัตถุที่อยู่กลางแดดจะตกอยู่ข้างใต้พอดี “เสมือนไร้เงา” และอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นร่วมด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์
เตรียมพร้อมถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี 27 เมษายนนี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แนะเทคนิคเก็บภาพความประทับใจ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 27 เมษายน 2564
เส้นทางดาวเทียมฝีมือคนไทย สู่เป้าหมายใหม่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
จากดาวเทียมดวงเล็ก (Cubesat) ชื่อ KNACKSAT ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และดาวเทียมดวงเล็ก BCCSAT-1 จากนักเรียนมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน สู่ปฏิบัติการล่าฝันของทีมวิศวกรไทย กับการสร้างและพัฒนาไมโครแซทสัญชาติไทย TSC-1 ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ ตั้งเป้าพลิกโฉมประเทศไทย จาก “ผู้ซื้อ” เป็น “ผู้สร้าง”
“ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” คืน 17 เมษายน 2564
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” คืน 17 เมษายน 2564 ก่อนดาวอังคารแตะขอบดวงจันทร์ เวลา 20:09 น. บันทึกภาพ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และขณะดาวอังคารโผล่พ้นออกจากดวงจันทร์ เวลา 21:26 น. บันทึกภาพ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ดังกล่าวหาชมยากในไทย กระแสในโซเชียลมีเดียคึกคัก สดร. จัดถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มีประชาชนให้ความสนใจติดตามชมกว่าหลายพันคน
จากโรงเรียนเล้าไก่สู่ผู้สร้างดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรก กับมิชชั่นอีกไม่ไกล สร้างยานอวกาศไปดวงจันทร์
จากความฝันในวัยเยาว์ สู่การมุ่งมั่นเรียนรู้ จนเป็นผู้ที่สามารถสร้างดาวเทียมสัญชาติไทยดวงแรกของไทย ส่งไปโลดแล่นอยู่ในอวกาศในปี 2018 และยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างดาวเทียมดวงที่สองผีมือเด็กมัธยม และเขากำลังจะสร้างตำนานด้วยการสร้างยานอวกาศไปดวงจันทร์ในอีก 7 ปีข้างหน้า
17 เมษายนนี้ ชวนชม “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” ในไทยหาชมยาก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผย 17 เมษายน 2564 มีปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” เวลาประมาณ 20:12-21:28 น. ช่วงเวลาดังกล่าว หากมองจากโลก ดาวอังคารจะค่อย ๆ ลับหายไปหลังดวงจันทร์ และกลับมาปรากฏอีกครั้ง เป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประเทศไทย สังเกตได้ด้วยตาเปล่า แนะชมผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
พลิกโฉมประเทศไทย สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้านเทคโนโลยีอวกาศ 12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง "ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย"
6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศ พัฒนาคน พัฒนาชาติ เปลี่ยนประเทศจาก “ผู้ซื้อ” เป็น “ผู้สร้าง” พร้อมดึงเอกชน หนุนสตารท์อัพ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชาติ
สดร. จับมือ อพวช. เนรมิตนิทรรศการโซนใหม่ในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร พร้อมเปิดตัวในมหกรรมดาราศาสตร์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี 27 มี.ค. นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมกับ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวเปิดตัวนิทรรศการชุดใหม่ “Astronomy Insight” และ “จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่” ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พร้อมให้บริการตั้งแต่ 27 มีนาคมนี้ และชวนเที่ยวงานมหกรรมดาราศาสตร์ประจำปี 2564 NARIT AstroFest 2021 จัดเต็มหลากหลายกิจกรรมดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ สำหรับทุกเพศทุกวัย ลุ้นรับกล้องโทรทรรศน์และรางวัลพิเศษมากมายภายในงาน พร้อมเตรียมมาตรการคัดกรองและเฝ้าระวัง โควิด 19 เต็มรูปแบบ
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ประจำปี 2564
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน (ฉะเชิงเทรา)
สดร. เผยข้อมูลคาดการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้า จากเทคโนโลยีไลดาร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยกราฟแสดงค่าฝุ่น PM2.5 จากเทคโนโลยีไลดาร์ (LiDAR) บ่งชี้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในแต่ละช่วงเวลา นำข้อมูลมาประยุกต์กับแบบจำลองคุณภาพอากาศ สามารถคาดการณ์อัตราการเกิดฝุ่นล่วงหน้าได้ 3 วัน แม่นยำถึง 80%
สดร. จัดอบรมสร้าง “เครื่องฟอกอากาศ DIY” สู้ PM 2.5
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม จัดฝึกอบรม “ประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศ DIY” สู้ PM 2.5 ควบคุมผ่านมือถือ (Line Bot API) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2564 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2564 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน