สิ่งควรรู้สำหรับกูรูนักล่าดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)

สำหรับคอลัมน์นี้ จะแนะนำเทคนิคและวิธีการตามล่าดาวหาง รวมทั้งเทคนิคการถ่ายภาพดาวหางในเบื้องต้น โดยในช่วงนี้กระแสดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) ก็เป็นที่น่าติดตามของเหล่านักถ่ายภาพดาราศาสตร์กันอย่างมาก แต่สำหรับประเทศไทยเรานั้น อาจมีอุปสรรคของสภาพอากาศที่อยู่ในช่วงฤดูฝนกันบ้าง อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็เริ่มมีคนถ่ายภาพมาอวดกันได้บ้างแล้ว

001

002

ภาพจำลองแสดงตำแหน่งของดาวหางนีโอไวส์ C/2020 F3 (NEOWISE) ตั้งแต่วันที่ 20 – 25 กรกฎาคม 2563

          ปัจจุบันดาวหางดวงนี้ อยู่ใกล้กับบริเวณกลุ่มหมีใหญ่ (Ursa Major) หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของ “กลุ่มดาวจระเข้” เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่พบเห็นได้ง่ายทางด้านทิศเหนือ แม้ว่าขณะนี้ดาวหางได้ผ่านช่วงสว่างมากที่สุดไปแล้ว แต่จากการสังเกตการณ์จริงพบว่าความสว่างไม่ได้ลดลงดังเช่นที่คำนวณไว้ ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับสังเกตการณ์ดาวหาง เริ่มตั้งแต่ช่วงวันที่ 18 - 23 กรกฎาคม 2563 (เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควร) ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 5 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า หากท้องฟ้าบริเวณขอบฟ้าใสเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสเหมาะที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า

          ส่วนวันที่ 23 กรกฎาคม แม้เป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด แต่จากข้อมูลพบว่าดาวหางจะมีค่าค่าความสว่างจะลดลง รวมทั้งในคืนดังกล่าวตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้

 

เทคนิคและวิธีการที่นักล่าดาวหางควรรู้ในเบื้องต้น

          สำหรับเทคนิคและทักษะสำคัญในการถ่ายภาพดาวหางนั้น นักล่าดาวหางจำเป็นต้องทราบข้อมูลเบื้องต้น เช่น ตำแหน่ง ทิศทางการเคลื่อนที่ ค่าความสว่าง และเทคนิคการถ่ายภาพและการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยมีเทคนิค 7 ข้อดังนี้

  1. การติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์ ที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีหอดูดาวสังเกตการณ์ตลอดทั้งปีและคอยอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับดาวหางที่อาจมีค่าความสว่างมากขึ้น จนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น https://theskylive.com ซึ่งมีข้อมูลดาวหางแบบ Real Time และค่าความสว่าง ตำแหน่งดาวหางล่วงหน้าอย่างละเอียด

 

003

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ Theskylive.com ที่แสดงข้อมูลตำแหน่งดาวหาง

 

  1. การหาตำแหน่งดาวหางจากโปรแกรม Stellarium ในการใช้โปรแกรมบางครั้งจำเป็นต้องอัพเดทโปรแกรมเวอร์ชั่นล่าสุด และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลดาวหางลงไว้ในโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อตรวจสอบตำแหน่งดาวหางในแต่ละวันได้ ดังรายละเอียดตามลิงก์ : https://bit.ly/2CcgdPi

 

004 โปรแกรม Stellarium สามารถแสดงตำแหน่งของดาวหางได้ในแต่ละวัน

 

  1. การวางแผนถ่ายภาพดาวหางในแต่ละวัน โดยสามารถใช้โปรแกรม Stellarium ในการแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง รวมทั้งการคาดการณ์ค่าความสว่างของดาวหางในแต่ละช่วงได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามนอกจากค่าความสว่างของดาวหางแล้ว เราจำเป็นต้องตรวจสอบดวงจันทร์ที่อาจจะทำให้มีแสงรบกวนได้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดตามลิงก์ : https://bit.ly/2ZOjqwW

 

005

ตัวอย่างการแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง และค่าความสว่าง ในแต่ละวันจากโปรแกรม Stellarium

 

006

 

  1. อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพดาวหางสว่าง (ย้ำว่าเป็นดาวหางสว่างนะครับ) สำหรับอุปกรณ์ในการถ่ายภาพดาวหางสว่างนั้น มีเพียง A.กล้องดิจิตอล B.ขาตั้งกล้องที่มั่นคง C.เลนส์ไวแสง แต่สำหรับดาวหางนีโอไวส์ครั้งนี้ ผมแนะนำเลนส์ที่ช่วงทางยาวโฟกัส 24-70 mm. หรือ 70 – 200 mm. เนื่องจากขนาดปรากฏของดาวหางมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
  1. การหามุมรับภาพ เพื่อให้เราสามารถวางแผนเลือกใช้เลนส์และอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดาวหาง โดยสามารถใช้โปรแกรม Stellarium ในการหามุมรับภาพ ตามลิงก์ : https://bit.ly/2WydE1o

 

007

จากภาพตัวอย่างเป็นการเลือกใช้กล้องดิจิตอลแบบ Full Frame Canon 1Dx กับเลนส์ ช่วงทางยาวโฟกัส 70 mm.

 

         แต่สำหรับใครอยากได้แบบใหญ่ๆ ถ่ายเฉพาะตัวดาวหางก็สามารถใช้ทางยาวโฟกัสสูง แต่จำเป็นต้องถ่ายบนฐานตามดาวด้วยนะครับ

  1. การตั้งค่าถ่ายภาพดาวหาง
    1. เริ่มจากการใช้ค่ารูรับแสงกว้าง เช่น f/2.8 เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุด
    2. คำนวณค่าความเร็วชัตเตอร์จากสูตร 400/600 ให้สัมพันธ์กับช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เราเลือกใช้ รายละเอียดตามลิงก์ : https://bit.ly/2Cpsdxw
    3. ตั้งค่าความไวแสง ISO โดยอาจเริ่มจาก ISO 800 ขึ้นไป และปรับเพิ่มขึ้นตามสภาพแสงของท้องฟ้า
  1. การมองหาดาวหางด้วยตาเปล่า ในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2563 นี้ สามารถเริ่มต้นมองหาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป และใช้การถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างประกอบการค้นหา เนื่องจากกล้องถ่ายภาพสามารถรวมแสงวัตถุจางๆ ได้ดีกว่าตาเปล่า แล้วเช็คดูภาพที่หลังกล้อง หรืออาจใช้กล้องสองตาในการค้นหาด้วยเช่นกัน

008

ตัวอย่างการค้นหาดาวหางด้วยตาเปล่า สามารถใช้กล้องสองตา ร่วมกับการถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างเพื่อหาตำแหน่งดาวหางได้