หลังจากเราได้ปรับแต่งไฟล์ FITS เป็นภาพ TIFF ทั้งสามฟิลเตอร์ RGB แล้ว เราสามารถนำมารวมกันเป็นภาพ สีได้ ในที่นี้จะสาธิตการรวมภาพสีด้วยโปรแกรม photoshop ในขั้นตอนนี้ เราได้ใช้ไฟล์ตัวอย่างที่ได้จากการใช้โปรแกรม FITS Liberator ตามขั้นตอนที่สามารถอ่านได้ ที่นี่
-
เริ่มจากการโหลดไฟล์ TIFF ทั้งสาม filter ลงใน photoshop จากนั้นสร้างรูปใหม่ โดยที่ให้เลือก Color Mode เป็น RGB Color
ภาพที่ 7
-
นำรูปจากแต่ละฟิลเตอร์ ตัด แล้วก็ไปแปะลงในไฟล์ RGB Color ใหม่ที่สร้างเอาไว้ สำหรับตัวอย่างไฟล์ M83 นี้ถูกถ่ายเอาไว้ด้วยฟิลเตอร์ B,V,R แทน Blue, Green, Red ในตัวอย่างนี้เราจะใช้ไฟล์ V.tif เป็นไฟล์ อ้างอิง โดยเริ่มจากการตัดแปะไฟล์ จากฟิลเตอร์ V แปะลงไปในไฟล์ใหม่ โดยการเลือก ภาพ V.tif กด Ctrl+A เพื่อเลือกทั้งภาพ แล้วกด Ctrl+C เพื่อก๊อปปี้ เลือกไปที่ไฟล์ใหม่ และกด Ctrl+V เพื่อแปะลงไป
ภาพที่ 8
-
จากนั้น เลือกบริเวณ “Channels” เพื่อให้แสดง channel ต่างๆ ใน photoshop (วงกลมสีแดง) เลือกแสดง ผลเฉพาะสีแดง แล้วแปะไฟล์ R.tif ลงไป ไฟล์ R.tif จะถูกแปะลงไปในไฟล์ใหม่ โดยอยู่เฉพาะใน channel ที่จะ แทนการแสดงผลสีแดง
ภาพที่ 9
-
ทำการเรียงภาพใน channel Red ให้ตรงกับ Green โดยคลิกตรงสี่เหลี่ยมหน้า Channel “Green” จนมีรูป ลูกตาใน channel Red และ Green แต่เลือก active channel เป็น Red ดังรูป (วงกลมสีเหลือง) จากนั้น ทำการเลื่อนภาพโดยใช้ Move Tool (วงกลมสีแดง) แล้วใช้เมาส์ลากหรือปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ด ค่อยๆ ขยับจน กระทั่งดาวทุกดวงซ้อนกันพอดี
ภาพที่ 10
-
ทำเช่นเดียวกันกับไฟล์ B.tif เพื่อแปะ และซ้อน channel สีฟ้าให้ตรงกับ channel อ้างอิงสีเขียว จะได้ผลลัพธ์ เป็นไฟล์สามสีดังภาพ
ภาพที่ 11
-
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าสีที่ได้ยังไม่ค่อยถูกต้องเท่าใดนัก ทั้งนี้เนื่องจากว่าฟิลเตอร์ทางดาราศาสตร์สาม ฟิลเตอร์ บวกกับขั้นตอนการเปลี่ยนไฟล์เป็น tif ไม่ได้มีความเข้มสอดคล้องกับเซลล์สีในเรตินาของมนุษย์ เราจึง จำเป็นต้องปรับสีให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตามองเห็น ขั้นตอนนี้ใกล้เคียงกับการปรับ whitebalance ในกล้อง ดิจิตอล เราสามารถปรับสีโดยละเอียดได้ด้วยเครื่องมือ “Curves” ในส่วนของหน้าต่าง Adjustments ทางด้าน
ขวามือ (วงกลมสีแดง) โดย photoshop จะสร้าง adjustment layer ออกมาเพื่อปรับแต่ง layer ที่อยู่ด้านล่าง
layer นี้ทั้งหมด
ภาพที่ 12
-
จากภาพด้านบน ได้มีการปรับสีเบื้องต้นแล้ว โดนการคลิกที่ curve layer เพื่อแสดงหน้าต่างการปรับแต่ง curves (ภาพด้านล่าง) เราสามารถปรับแต่งทีละสีได้โดยการกดเลือกเมนูสี โดยปรับ RGB เพื่อปรับ contrast โดยรวมของภาพ Red เพื่อปรับ channel สีแดงอย่างเดียว Green และ Blue เพื่อปรับ channel สีเขียว และฟ้า ตามลำดับ โดยหากเราต้องการให้บริเวณสว่างของสีแดงมีความสว่างเพิ่มขึ้น เราสามารถทำได้โดยคลิกบริเวณ ขวาของ Red แล้วดึงขึ้น หรือดึงบริเวณตรงกลางของสีเขียวลงเพื่อลดสีเขียว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้าง ละเอียดอ่อน และขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนบุคคลของผู้แต่งภาพ โดยหลักการแล้วเราจะสามารถผสมสีในภาพให้ ออกมาเป็นสีใดก็ได้ แต่โดยทั่วไปเราจะพยายามอ้างอิงสีที่ “ใกล้เคียงสิ่งที่ตาเห็น” นั่นคือวัตถุที่มีสีฟ้ามากกว่าสี อื่นควรจะมีสีออกฟ้า ในขณะที่วัตถุที่มีสีแดงมากกว่าควรจะออกสีแดงทั้งนี้ เป็นการเป็นไปไม่ได้ที่เราจะปรับภาพให้ได้ “เหมือนตาเห็น” เนื่องจากสายตาของมนุษย์ไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์สี แบบเดียวกับภาพถ่ายดาราศาสตร์ สายตาของมนุษย์ไม่ได้ไวแสงในความมืด และดวงตาของมนุษย์ไม่สามารถ รวมแสงได้เป็นชั่วโมง เช่นเดียวกับกล้องถ่ายภาพ แม้กระทั่งภาพที่กล้องดิจิตอลทั่วไปเห็น ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกับที่ ตาเห็น แต่เป็นเพียงการจำลองภาพที่ใกล้เคียงกับตาเห็นเท่านั้น
โดยทั่วไปเราอาจจะโหลดภาพตัวอย่างเพื่อเทียบเคียงสีที่ควรจะเป็น แต่นักแต่งภาพดาราศาสตร์บางคนอาจจะ ใช้ดาวฤกษ์เป็นเกณฑ์ โดยการหาดาวฤกษ์ที่อยู่ในช่วงสเปกตรัม G และเทียบให้ดาว G มีสีค่อนข้างขาว หรือ อาจจะปรับสีให้ภาพมีทั้งดาวฤกษ์สีฟ้า และสีแดงปนกัน ตามที่ควรจะเป็นจริง
ภาพที่ 13