บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

27 เมษา ชวนกันมาถ่ายภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี

ในวันที่ 27 เมษายน 2564 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 357,370 กิโลเมตร (Perigee) ในช่วงเวลา 22.25 น. ตามเวลาประเทศไทย ในคืนวันดังกล่าวดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าช่วงปกติ 7.6 เปอร์เซ็นต์ หรือที่มักเรียกกันว่า “Super Full Moon”

Read more ...

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

ถ่ายภาพฝนดาวตกอย่างไร ให้ได้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก

ในคอลัมนี้อยากชวนมาถ่ายฝนดาวตกกันในแบบที่นักดาราศาสตร์นิยมถ่ายภาพกัน ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายฝนดาวตกที่เห็นการกระจายตัวได้อย่างชัดเจน โดยในคืน 13 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 14 ธันวาคม 2563 นี้ จะเกิดฝนดาวตกเจมินิดส์" หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในคืนดังกล่าวไม่มีแสงจันทร์รบกวน ทำให้สามารถถ่ายภาพได้ตลอดทั้งคืน คาดการณ์มีอัตราการตกสูงสุด 150 ดวงต่อชั่วโมง

Read more ...

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

แจกตารางถ่ายทางช้างเผือกโค้งสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2563

ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นช่วงสุดท้ายของการออกไปถ่ายทางช้างเผือก เนื่องจากหลังจากนี้ตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จะมีดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือก จนทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ไปจนถึงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ของปีหน้า จึงอยากชวนมาถ่ายทางช้างเผือกส่งท้ายกันหน่อยครับ

Read more ...

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

คืน 21 ตุลา ชวนมาถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไปจนรุ่งเช้าของอีกวัน โดยมีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันออก สำหรับปีนี้ในช่วงที่สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตก ไม่มีแสงดวงจันทร์รบกวนเหมาะแก่การถ่ายภาพตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า

Read more ...

เกร็ดความรู้สำหรับ “กูรูถ่ายภาพดาวอังคาร”

เกร็ดความรู้สำหรับ “กูรูถ่ายภาพดาวอังคาร”

ในเดือนตุลาคมนี้ ดาวอังคารจะโคจรมาใกล้โลกทุกๆประมาณ 2 ปี 2 เดือน อยากชวนคนรักดวงดาวมาติดตามถ่ายภาพดาวอังคารกัน โดยในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารมากที่สุด เนื่องจากในวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุด ที่ระยะทางประมาณ 62 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ที่ระยะห่างประมาณ 62.7 ล้านกิโลเมตร (ช่วงปกติห่างจากโลกเฉลี่ย 78 ล้านกิโลเมตร)

Read more ...

ถ่ายภาพดาราศาสตร์อย่างไร… ให้ชนะใจกรรมการ

ถ่ายภาพดาราศาสตร์อย่างไร… ให้ชนะใจกรรมการ

คอลัมน์นี้ขอนำเสนอมุมมองและเกณฑ์ในการตัดสินภาพถ่ายดาราศาสตร์ เพื่อที่ปีถัดๆไป นักถ่ายภาพจะได้นำเอาไปปรับใช้กับการถ่ายภาพเพื่อให้ชนะใจกรรมการกันครับ โดยคณะกรรมการตัดสินภาพถ่ายประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศโลก เป็นต้น ในการพิจารณาคณะกรรมการแต่ละท่านต่างก็จะมีมุมมองในด้านต่างๆ และนำเอาผลการพิจารณามารวมกันออกมาเป็นคะแนนของภาพถ่ายแต่ละภาพนั่นเองครับ

Read more ...

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ สามารถสร้างเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดได้

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ สามารถสร้างเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดได้

สำหรับคอลัมน์นี้อยากเชิญชวนนักดาราศาสตร์สมัครเล่น มาร่วมสร้างเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ภายใต้โครงการ Dark Sky Campaign ด้วยภาพถ่ายดาราศาสตร์กันได้ ซึ่งหลายๆ ครั้ง ที่เหล่านักถ่ายภาพออกไปเสาะหาสถานที่ถ่ายดาวกันหลายๆพื้นที่ เช่น อุทยานแห่งชาติ ยอดดอย อ่างเก็บน้ำของชุมชน รีสอร์ท โรมแรม หรือแม้กระทั่งพื้นที่ส่วนบุคคล ก็สามารถถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าออกมาได้อย่างสวยงามและสว่างชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพท้องฟ้าที่มืดสนิทเหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

Read more ...

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ภาพไหนบ้าง ที่ไม่ควรพลาดร่วมส่งประกวดปีนี้

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ภาพไหนบ้าง ที่ไม่ควรพลาดร่วมส่งประกวดปีนี้

สำหรับคอลัมน์นี้จะขอแนะนำภาพถ่ายดาราศาสตร์ทั้ง 5 ประเภท ที่ไม่ควรพลาดร่วมส่งประกวด ซึ่งปีที่ผ่านมารวมทั้งในปีนี้ก็มีวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้งปรากฏการณ์ท้องฟ้าในชั้นบรรยากาศโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งนักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ จึงอยากเชิญชวนใครที่มีโอกาสถ่ายภาพเก็บไว้ ก็สามารถนำมาร่วมส่งประกวดกันได้ครับ 

Read more ...

สิ่งควรรู้สำหรับกูรูนักล่าดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)

สิ่งควรรู้สำหรับกูรูนักล่าดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)

สำหรับคอลัมน์นี้ จะแนะนำเทคนิคและวิธีการตามล่าดาวหาง รวมทั้งเทคนิคการถ่ายภาพดาวหางในเบื้องต้น โดยในช่วงนี้กระแสดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) ก็เป็นที่น่าติดตามของเหล่านักถ่ายภาพดาราศาสตร์กันอย่างมาก แต่สำหรับประเทศไทยเรานั้น อาจมีอุปสรรคของสภาพอากาศที่อยู่ในช่วงฤดูฝนกันบ้าง อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็เริ่มมีคนถ่ายภาพมาอวดกันได้บ้างแล้ว

Read more ...

ชวนถ่ายดาวศุกร์ สว่างที่สุด ครั้งสุดท้ายในรอบปี

ชวนถ่ายดาวศุกร์ สว่างที่สุด ครั้งสุดท้ายในรอบปี

ในช่วงเช้ามืดวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุดอีกครั้งและเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้    จึงอยากชวนมาลุ้นถ่ายภาพดาวศุกร์สว่างที่สุดกัน โดยดาวศุกร์จะสว่างเด่นเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออกบริเวณกลุ่มดาววัว ตั้งแต่เวลาประมาณ 03:25 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า ปรากฏการร์ดาวศุกร์สว่างมากที่สุดในรอบปีนั้น มาสาเหตุเนื่องจากเป็นช่วงที่ดาวศุกร์มีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ และโคจรห่างจากโลกในระยะทางที่เหมาะสม สำหรับในช่วงวันอื่น ๆ แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยวที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งอยู่ห่างจากโลกมาก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย

Read more ...

ถ่ายภาพสุริยุปราคาบางส่วนอย่างไร ให้ไม่ธรรมดา

ถ่ายภาพสุริยุปราคาบางส่วนอย่างไร ให้ไม่ธรรมดา

สำหรับการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทย วันที่ 21 มิถุนายน 2563 นี้ สามารถเริ่มต้นถ่ายภาพปรากฏการณ์ตั้งแต่เวลา 13.00 ไปจนถึงเวลา 16.10 น. โดยประมาณ ซึ่งเปอร์เซ็นต์การถูกบังก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยพื้นที่ทางภาคเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุด ที่อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ร้อยละ 63 เปอร์เซ็นต์ เวลาประมาณ 14:49 น.

Read more ...

หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน เตรียมตัวมาส่องปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวครั้งที่ 2 ของปี

หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน เตรียมตัวมาส่องปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวครั้งที่ 2 ของปี

ในคืนวันศุกร์ ที่ 5 มิถุนายน นี้หลังเที่ยงคืนตั้งแต่เวลา 00.46 เป็นต้นไปจะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัว เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี โดยดวงจันทร์จะเข้าสู่เงามัวของโลกมากที่สุดในเวลาประมาณ 02.25 น. ของวันที่ 6 มิถุนายน และสิ้นสุดปรากฏารณ์ในเวลา 04.04 น. ซึ่งปรากฏการณ์นี้ยากต่อการสังเกตด้วยตาเปล่า ดังนั้นการถ่ายภาพจึงช่วยให้เราสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัวได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Read more ...

Page 1 of 5