“ค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน”
ค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ของทุกปี โดยมุ่งเน้นให้เกิดทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และสามารถหาแนวทางใหม่ๆสำหรับการจัดกิจกรรมในชมรมดาราศาสตร์ของโรงเรียนได้ ภายในค่ายฯผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้สัมผัสกับการเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่เพื่อนๆ รวมถึงฝึกการสังเกตการณ์และถ่ายภาพทางดาราศาสตร์จาก ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประสบการณ์ที่ได้รับ ทั้งนี้กิจกรรมตลอดระยะเวลา 4 วัน 3 คืน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กิจกรรมภาคบรรยาย และกิจกรรมภาคปฎิบัติ โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมภาคบรรยาย
รายละเอียด : การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับทรงกลมท้องฟ้า ระบบพิกัดท้องฟ้าและหลักการเคลื่อนที่ของวัตถุบนท้องฟ้าอย่างง่าย มีประโยชน์อย่างมากต่อการจัดกิจกรรมดูดาวและการใช้งานกล้องโทรทรรศน์แบบequatorial ซึ่งความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นจะช่วยสำหรับการจัดกิจกรรมดูดาวและค้นหาวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างน้อยๆด้วยกล้องโทรทรรศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อบรรยาย : การติดตั้ง ใช้งาน และการบำรุงรักษากล้องโทรทรรศน์
รายละเอียด : การเรียนรู้เกี่ยวกับการติดตั้งและใช้งานกล้องโทรทรรศน์แบบequatorial รวมถึงหลักการทำงานต่างๆของกล้อง โทรทรรศน์แต่ละประเภท ก่อนที่จะได้ฝึกปฎิบัติและได้สัมผัสกล้องโทรทรรศน์ด้วยตัวเองต่อไป
หัวข้อบรรยาย : แนวทางการจัดกิจกรรมชมรมดาราศาสตร์
รายละเอียด : การถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากเจ้าหน้าที่ทีมงานNARIT จากการทำงานด้านการจัดกิจกรรมและการสื่อสารทางดาราศาสตร์มากกว่า 10 ปี ทั้งในและนอกประเทศ น้องจะได้เรียนรู้แนวทางการจัดกิจกรรมภายในชมรมดาราศาสตร์ที่นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมดูดาวตอนกลางคืน นาทีนี้ใครอยากได้ไอเดียใหม่ไปฝากเพื่อนในชมรม บอกเลยว่าพลาดไม่ได้!
หัวข้อบรรยาย : ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์
รายละเอียด : การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ทั้งปรากฏการณ์ต่างๆทางดาราศาสตร์ วัตถุในห้วงอวกาศลึก หรือ ภาพเส้นแสงดาว ผู้อบรมจะได้เรียนรู้เทคนิกการถ่ายภาพ การปรับใช้งานกล้องถ่ายภาพ DSLR รวมถึงการ Process ภาพถ่าย บอกได้เลยว่าใครที่ไม่ได้นำกล้องถ่ายภาพไปด้วยคงจะอดได้ลองภาพสวยๆกลับบ้านอย่างแน่นอน
หัวข้อบรรยาย : แนวทางการสื่อสารวิทยาศาสตร์ต่อสาธารณะชน
รายละเอียด : การเรียนรู้แนวทางการสื่อสารต่อหน้าสารธารณะชน ผู้เข้าร่วมค่ายฯจะร่วมหัดบรรยายให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคการเตรียมตัวก่อนนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้การบรรยายสำหรับกิจกรรมถัดไปของน้องๆในชมรมมีความน่าสนใจและผู้รับฟังเกิดความสนุกสนานกับเรามากยิ่งขึ้น
หัวข้อกิจกรรม : การสืบค้น โปรแกรม, Application ดาราศาสตร์
รายละเอียด : การเรียนรู้การสืบค้นและหาความรู้ทางดาราศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในห้องเรียน/นอกห้องเรียนหรือศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆทางดาราศาสตร์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งน้องๆจะได้รู้จัก application ในโทรศัพท์มือถือและโปรแกรมทางดาราศาสตร์ที่จะช่วยในการย้อนดูเหตุการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และอีกด้วย
หัวข้อกิจกรรม : การฝึกใช้งานกล้องโทรทรรศน์แบบ Equatorial Mount และการทำโครงงานดาราศาสตร์อย่างง่าย (สำหรับครูที่ปรึกษา)
รายละเอียดกิจกรรม : การฝึกอบรมครูที่ปรึกษาให้มีความพร้อมและสามารถนำนักเรียนได้ตลอดกิจกรรม ครูที่ปรึกษาจะได้รับการเทรนจากเจ้าหน้าที่NARIT อย่างเข้มข้น ทั้งการตั้งกล้องโทรทรรศน์ การทำอุปกรณ์ดาราศาสตร์ รวมไปถึงโครงงานอย่างง่ายที่สามารถทำได้ในค่าย และต่อยอดเป็นโครงงานเล็กๆไว้ทำในชมรมที่โรงเรียน เรียกได้ว่า นักเรียนได้เท่าไหร่ ครูที่ปรึกษาได้มากกว่าแน่นอน
กิจกรรมภาคปฎิบัติ
รายละเอียด : การนำเสนอกิจกรรมที่เคยดำเนินมาภายในชมรมดาราศาสตร์ของแต่ละโรงเรียน น้องๆจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้รับไอเดียใหม่จากเพื่อนต่างโรงเรียน เพื่อที่จะได้นำสิ่งเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ หรือปรับให้เหมาะสมกับกิจกรรมของตนเองที่จะทำต่อไปในอนาคต
รายละเอียด : กิจกรรมสันทนาการโดยชมรมดาราศาสตร์แต่ละโรงเรียน กิจกรรมที่จะทำให้เพื่อนๆในค่ายรู้จักกันและสนิทกันมากขึ้น น้องที่จะเข้าค่ายจงเตรียมสันทนาการของตัวเองเอาไว้ให้พร้อม เพราะเราจะสลับกันสันทนาการกันตลอด 4 วัน 3 คืน ตั้งแต่เช้ายันเย็นกันเลยทีเดียว
หัวข้อกิจกรรม : กิจกรรมการเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์พื้นฐานทางดาราศาสตร์
รายละเอียด : การฝึกใช้อุปกรณ์พื้นฐานทางดาราศาสตร์ เพื่อเช็คความเข้าใจและพร้อมต่อยอดไปยังทักษะที่สูงกว่า กิจกรรมนี้จะแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ได้แก่ ฝึกใช้งานกล้องโทรทรรศน์ดรอปโซเนียน ฝึกการใช้งานแผนที่ดาวชนิดเส้นขอบฟ้าและชนิด Messier&Calwell และการใช้งานกล้องสองตา
หัวข้อกิจกรรม : การประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์
รายละเอียด : เรื่องบางเรื่องเหมาะแต่การนั่งฟังและขีดเขียนใส่เศษกระดาศเพื่อบันทึกและทำความเข้าใจ แต่เรื่องบางเรื่องเหมาะกับการลงมือทำและเรียนรู้เมื่อมือได้สัมผัสกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ การเรียนรู้การทำอุปกรณ์ดาราศาสตร์ สำหรับเป็นสื่อในการเรียนการสอน หรือทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อต่อยอดความรู้เดิม อยากรู้ว่าทำอะไรบ้าง สมัครมาเลย...
หัวข้อกิจกรรม : การติดตั้งใช้งานกล้องโทรทรรศน์แบบ Equatorial Mount (สำหรับนักเรียนและครูที่ปรึกษา)
รายละเอียด : กิจกรรมสำคัญที่หาที่ไหนไม่ได้ในประเทศไทย เพราะเราจะนำชุดกล้องโทรทรรศน์มาให้น้องๆได้ประกอบและให้เล่นเองกับมือ พร้อมทีมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ประจำกลุ่ม สำหรับให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด การันตรีไว้เลยว่า น้องนักเรียนและคุณครูสามารถตั้งกล้องดูดาวและใช้งานกันคล่องกันอย่างคล่องแคล่วอย่างแน่นอน
หัวข้อกิจกรรม : การวางแผนการจัดกิจกรรมดูดาว
รายละเอียด : การฝึกวางแผนการจัดกิจกรรมดูดาวหรือกิจกรรมที่เกิดเหตุการณ์การสำคัญต่างๆทางดาราศาสตร์ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเตรียมตัวและวางแผนกิจกรรมที่จะจัดขึ้นให้เพื่อนในโรงเรียนหรือชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนโดยรอบ
หัวข้อกิจกรรม : เยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (หอดูดาวแห่งชาติ)
รายละเอียด : ทัศนศึกษาเพื่อเยี่ยมชมหอดูดาวที่ใหญ่โตและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียนรู้หลักการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ และสัมผัสพื้นที่ทำงานของนักดาราศาสตร์อย่างใกล้ขิด
หัวข้อกิจกรรม : การฝึกการจัดกิจกรรมดูดาวและการสังเกตวัตถุท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์
รายละเอียด : กิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้มีโอกาสฝึกตั้งกล้องโทรทรรศน์และส่องดูดาวในพื้นที่ที่อยู่ใต้ท้องฟ้าที่สวยที่สุดในประเทศไทยสัมผัสกับวัตถุท้องฟ้าสวยๆผ่านกล้องโทรทรรศน์พร้อมทั้งฝึกบรรยายท้องฟ้าจริงด้วยตัวเอง บอกเลยสนุกแน่
หัวข้อกิจกรรม : การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
รายละเอียด : ดวงดาวไม่ได้มีให้ดูแค่เวลากลางคืนเท่านั้น เวลากลางวันเราจะมาฝึกการใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อส่องดูดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด นั่นก็คือ “ดวงอาทิตย์” ที่น่าสนใจคือถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่าในบางครั้งเราจะมองเห็นจุดบนผิวดวงอาทิตย์ และถ้าลองเทียบขนาดของจุดบนดวงอาทิตย์ดีๆ จะพบว่ามันใหญ่กว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ด้วยซ้ำ!
หัวข้อกิจกรรม : การสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าช่วงเช้ามืด
รายละเอียด : โอกาสพิเศษในค่ำคืนสุดท้ายก่อนลงจากดอยอินทนนท์ เราจะพาน้องๆมาสังเกตการณ์หมู่ดาวในช่วงเช้ามืด ให้สัมผัสกับความเหน็บหนาวให้ถึงใจก่อนเตรียมตัวแยกย้ายกลับบ้าน ไฮไลท์ที่สุดคงหนีไม่พ้นการถ่ายภาพคู่กับทางช้างเผือก (Milky way) ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ยืนยันเอาไว้ว่า ครั้งหนึ่งเราถึงดอยอินทนนท์แล้ว ....
หัวข้อกิจกรรม : กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ณ กิ่วแม่ปาน และเดินชมเจดีย์คู่ “นภเมทนีดล นภพลภูมิสิริ"
รายละเอียด : กิ่วแม่ปาน เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สวยติดอันดับต้นๆของประเทศไทย เส้นทางผ่านพื้นที่ป่าเมฆที่มีความอุดมสบบูรณ์ทางระบบนิเวศเป็นอย่างมาก รวมไปเดินชมความสวยงามของธรรมชาติและดอกไม้เมืองหนาวได้ที่ เจดีย์คู่ “นภเมทนีดล นภพลภูมิสิริ” บอกเลยว่า พลาดแล้วจะเสียดายนะครับ