ในคืนวันที่ 16 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน ได้โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดที่ระยะระยะห่างจากโลกประมาณ 11.5 ล้านกิโลเมตร จากการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์พบว่าดาวหางดังกล่าวมีความสว่างมากขึ้นถึงแมกนิจูก 4 ซึ่งในบริเวณที่มืดสนิทปราศจากแสงรบกวนและมีท้องฟ้าที่ใสเคลียร์ตาเปล่าสามารถสังเกตเห็นได้สลัวๆ หากเราใช้กล้องสองตาที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 7-10 เท่าขึ้นไปก็สามารถมองเห็นหัวของดาวหางได้อย่างชัดเจน
ดาวหาง 46P/Wirtanen ในรุ่งเช้าวันที่ 16 ธันวาคม ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้กระจุกดาวลูกไก่โดยมีความสว่างปรากฏที่แมกนิจูด 4.4
(ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 1DX / Lens : CANON EF 70-200mm f/2.8L IS II USM / Focal length : 200 mm. / Aperture : f/2.8 / ISO : 800 / Exposure : 60 sec / WB : 4800K)
ภาพดาวหาง 46P/Wirtanen ในรุ่งเช้าวันที่ 16 ธันวาคม ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้กระจุกดาวลูกไก่ ในบริเวณกลุ่มดาววัว(ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 1DX / Lens : CANON EF 70-200mm f/2.8L IS II USM / Focal length : 123 mm. / Aperture : f/2.8 / ISO : 800 / Exposure : 60 sec / WB : 4800K)
โดยภาพข้างบนเป็นภาพที่ถ่ายในช่วงก่อนรุ่งเช้าของวันที่ 16 ธันวาคม 2561 บริเวณอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน เคลื่อนเข้าไปในกลุ่มดาววัว (Taurus) ใกล้กับกระจุกดาวลูกไก่ ในระยะห่างเพียง 4 องศา จึงเลือกบันทึกภาพด้วยเลนส์มุมกว้างที่สามารถเก็บภาพทั้งดาวหางและกระจุกดาวไว้ในเฟรมเดียวกัน โดยในคอลัมน์นี้ผมขออธิบายวิธีการหาตำแหน่งของดาวหางในแต่ละวัน และการหามุมรับภาพของกล้อง ว่าควรเลือกกล้องและเลนส์แบบไหนในการถ่ายภาพ มาเริ่มกันเลยครับ
เริ่มต้นหาตำแหน่งดาวหางจากโปรแกรม Stellarium 0.18.2
ในการหาตำแหน่งดาวหางที่มักจะมีการค้นพบใหม่ๆ นั้น เราสามารถอัพเดจโปรแกรมรุ่นใหม่เรื่อยๆ จากนั้นก็สามารถที่จะดาวน์โหลดตำแหน่งของดาวหางลงในตัวโปรแกรมได้ (รายละเอียดการดาวน์โหลดข้อมูลดาวหางลงโปรแกรม ตามลิงก์ : https://goo.gl/mGfTMT)
1. เลือกเมนูคำสั่ง Astronomical Calculations
2. เลือกคำสั่ง Ephemeris
3. เลือกชื่อดาวหางที่ต้องการหาตำแหน่ง
4. กำหนดช่วงวันเวลาที่ต้องการให้แสดงตำแหน่งของดาวหาง
5. คลิ๊กเครื่องหมายหน้า สิ่งที่เราต้องการให้แสดง เช่น ตำแหน่ง วัน/เวลา หรือค่าความสว่างแมกนิจูด
6. เสร็จแล้ว คลิ๊กคำสั่ง Calculate Ephemeris
โปรแกรมจะแสดงตำแหน่งและข้อมูลที่เราต้องการให้แสดง ในแต่ละวันอย่างละเอียด
กำหนดขนาดเฟรมภาพ เลือกกล้องและเลนส์ให้เหมาะสม
หลังจากที่เราสามารถหาตำแหน่งของดาวหางที่เปลี่ยนตำแหน่งทุกวันได้แล้ว คราวนี้มาถึงขั้นตอนการเลือกขนาดของกล้องและเลนส์ที่เหมาะสมกับภาพถ่ายได้อย่างไร ขั้นตอนนี้จะช่วยให้เราเตรียมอุปกรณ์ที่ทำให้เราจัดองค์ประกอบภาพได้ดี
1. เลือกคำสั่งบนเมนู ขวาบน ของโปรแกรมดังภาพ
2. เลือกคำสั่ง Sensors เพื่อตั้งค่าขนาดเซนเซอร์ของกล้องของเราที่จะใช้ถ่ายภาพ
3. เลือกคำสั่ง Add
4. ตั้งชื่อของกล้องถ่ายภาพ
5. ใส่ข้อมูล ขนาดพิกเซลของกล้องถ่ายภาพของเรา เช่น กล้อง Canon 1DX มีความละเอียด 5,184 x 3,456
6. ใส่ข้อมูล ขนาดของเซนเซอร์ เช่น กล้อง Canon 1DX มีขนาดเซนเซอร์ 36 x 24 mm.
7. เลือกคำสั่ง Telescope เพื่อกำหนดเลนส์ที่เรามี และจะใช้ถ่ายภาพ
8. เลือกคำสั่ง Add
9. ตั้งชื่อเลนส์ที่เราจะใช้ถ่ายภาพ
10. ใส่ข้อมูล ทางยางโฟกัส (Focal length) และขนาดหน้ากล้อง (Diameter) เช่น เลนส์ Canon ทางยาวโฟกัส 200mm. ขนาดหน้ากล้อง 77mm.
หลังจากตั้งค่าอุปกรณ์ทั้งกขนาด Sensor กล้องถ่ายภาพและ ขนาดเลนส์ที่เรามีอยู่เราก็พร้อมใช้งานโดยสามารถเลือกคำสั่งตามเมนูดังนี้
11. เลือกคำสั่งตามสัญลักษณ์ดังภาพ
12. เลือกขนาดของเซนเซอร์กล้องถ่ายภาพ ตามชื่อที่เราตั้งชื่อไว้ เช่น EOS 1DX ดังภาพ
13. เลือกขนาดของเลนส์ที่เราต้องการใช้ถ่ายภาพ ตามชื่อที่เราตั้งชื่อไว้ เช่น Canon200mm. ดังภาพ
เพียงเท่านี้เราก็สามารถเลือกอุปกรณ์ถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสมและช่วยให้เราจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายขึ้น
ภาพดาวหาง 46P/Wirtanen ในคืนวันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 23.16น.บริเวณกลุ่มดาวแม่น้ำ (Eridanus) ถ่าย ณ ยอดดอยอินทนนท์ โดยมีความสว่างปรากฏที่แมกนิจูก 10
(ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 1DX / Lens : Takahashi Epsilon 180ED / Focal length : 500 mm. / Aperture : f/2.8 / ISO : 1250 / Exposure : 180 sec / WB : 4800K)