เทคนิคการ Stacking ภาพทางช้างเผือกด้วย Photoshop

สำหรับคอลัมน์นี้ขอแนะนำเทคนิคการโปรเซสภาพทางช้างเผือก หรืออาจเป็นภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้า ที่เรามักต้องใช้ค่าความไวแสง (ISO) สูงๆ ด้วยโปรแกรมพื้นฐาน Photoshop ด้วยวิธีการง่ายๆ แต่ทำให้เราได้ภาพทางช้างเผือกที่ใสเคลียร์

001

ภาพตัวอย่างการเปรียบเทียบภาพแบบ 1 short ไม่ผ่านการ Stacking กับภาพถ่ายที่นำหลายๆ ภาพมารวมกัน และผ่านการโปรเซสภาพแบบ Median stacking

        ในการถ่ายภาพทางช้างเผือกนั้น หลายคนที่เคยถ่ายภาพคงทราบดีว่าเราต้องใช้ความไวแสงที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการใช้ความไวแสง(ISO) ที่สูงนั้น สัญญาณรบกวน (Noise) ก็จะสูงตามมากด้วยเช่นกัน สำหรับนักดาราศาสตร์ปัญหานี้ สามารถช่วยได้ด้วยการถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าบนกล้องโทรทรรศน์ หรือบนขาตามดาว ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายภาพโดยใช้ ISO ต่ำๆ พร้อมกับเวลาในการเปิดหน้ากล้องได้นานขึ้น 

        แต่สำหรับคนทั่วไปหล่ะ เราคงไม่มีอุปกรณ์ตามดาว ดังนั้นในอีกกวิธีหนึ่งที่จะสามารถทำให้ภาพถ่ายทางช้างเผือกของเรามีไฟล์ภาพที่ใสเนียน มีสัญญาณรบกวนต่ำ เมื่อถ่ายภาพบนตั้งกล้องธรรมดา ก็คือการถ่ายภาพทางช้างเผือกมาจำนวนหลายภาพแล้วนำภาพทั้งหมดมารวมกัน ก็สามารถช่วยทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นแบบไม่ต้องลงทุนกับอุปกรณ์มาก รายละเอียดต้องทำอย่างไรนั้น เรามาเริ่มกันเลย

เทคนิคและวิธีการ

        เทคนิคนี้คงต้องบอกก่อนว่า ค่อนข้างจะเหมาะกับการถ่ายภาพประเภททางช้างเผือก หรือการถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าแบบมุมกว้าง ซึ่งเราต้องเข้าใจหลักการของการทำภาพก่อนว่า เราควรต้องถ่ายภาพมาแบบไหน อย่างไร จึงจะสามารถนำมาใช้โปรเซสให้ภาพที่ดีที่สุด โดยขออนุญาตลำดับขั้นตอนต่อไปนี้

การถ่ายภาพทางช้างเผือก

002

        1. ใช้สูตรการคำนวณเวลาการถ่ายภาพ Rule of 400/600 เพื่อให้ดาวยังคงเป็นจุด(ดาวไม่ยืดเป็นเส้น) (รายละเอียดตามลิงก์ :https://is.gd/le3JIz)   

        2. ถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง จำนวนหลายๆ ภาพ เช่น 6-10 ภาพโดยประมาณ

        3. ตั้งค่าการถ่ายภาพแบบ Raw File เพื่อให้ได้คุณภาพไฟล์ดีที่สุด

การโปรเซสภาพด้วย Photoshop

        ในการโปรเซสภาพด้วย Photoshop นั้น หลักการง่ายๆ คือการนำภาพถ่ายจำนวนหลายภาพมารวมกัน หรือที่เรียกว่าการ Stack Images และใช้รูปแบบของการรวมภาพแบบ Median Stacking ดังนี้

003

004

005

006

007

หลังจากทำเสร็จในขั้นตอนที่ 6 ดังภาพตัวอย่างข้างต้นแล้ว ก็สามารถนำภาพไปปรับแต่งดึงรายละเอียดต่างได้ โดยจะสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าภาพ มีสัญญาณรบกวนที่ต่ำลง และสามารถดึงรายละเอียดได้ยืดหยุ่นมากขึ้น