NARU
ปฏิทินดิถีเพ็ญ ฉบับ สดร.
ยุทธศาสตร์
จากแรกเริ่มสู่ปัจจุบัน
จากแรกเริ่มสู่ปัจจุบัน
ภาพเปรียบเทียบพื้นที่ในอดีตและปัจจุบัน ณ บริเวณอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร โดยภาพในอดีตถ่ายไว้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เมื่อ 11 ปีที่แล้ว คณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ พร้อมเจ้าหน้าที่ สดร. เข้าสำรวจพื้นที่ก่อนที่สถาบันฯ จะได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารฯ จนกลายมาเป็นอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ที่เห็นกันในทุกวันนี้
2552
ปัจจุบัน
แนะนำจดหมายเหตุ
หอจดหมายเหตุภายในประเทศ
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ :
https://virtualarchives.nat.go.th/
นิทรรศการเสมือนจริง :
https://virtualarchives.nat.go.th/tour/
หอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย :
https://www.botlc.or.th/archives
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ :
คลังจดหมายเหตุดิจิทัล สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ :
https://archives.museumsiam.org/
ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา :
https://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/index.php
หอจดหมายเหตุต่างประเทศ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติจีน :
http://www.shac.net.cn/shac_en/sy_135/
หอจดหมายเหตุแห่งชาติญี่ปุ่น :
http://www.archives.go.jp/english/
หอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์ :
http://www.nas.gov.sg/
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเกาหลี :
http://www.archives.go.kr/english/index.jsp
หอจดหมายเหตุแห่งชาติไต้หวัน :
https://www.archives.gov.tw/english/
หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา:
https://www.archives.gov/
หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ:
http://www.nationalarchives.gov.uk/
องค์กรจดหมายเหตุระหว่างประเทศ
สภาจดหมายเหตุระหว่างประเทศ:
https://www.ica.org/en
เกี่ยวกับเรา
ความเป็นมาของหอจดหมายเหตุ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นองค์กรภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ต่อมามีมติ ครม. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ให้ควบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เข้าไว้ในกระทรวงเดียวกัน เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางด้านการวิจัยและเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยใช้ชื่อว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สถาบันมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อการวิจัย การบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ การสร้างเครือข่ายด้านดาราศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ที่ผ่านมาสถาบันได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาตร์ของที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ หอสังเกตุตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ และในอนาคตยังจะดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์เพิ่มเติมอีก อาทิ ห้องปฎิบัติการขั้นสูงด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ เป็นต้น
การดำเนินการที่ผ่านมามีเอกสารราชการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์จำนวนมากที่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บรักษาและอนุรักษ์ไว้ นอกจากนี้ ยังมีบันทึกเอกสารทางประวัติศาสตร์ วรรณคดี และศิลปกรรมของชาติไทยที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ที่สมควรเก็บรักษาและอนุรักษ์ไว้อีกมากมาย
หอจดหมายเหตุดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARU : NARIT Archives & Records Unit) จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วย รวบรวม จัดเก็บ สงวนรักษาอย่างเป็นระบบและให้บริการซึ่ง เอกสาร บันทึกสารสนเทศ บันทึกข้อมูลลงในวัสดุและสื่อที่มีรูปแบบต่าง ๆ ตามพัฒนาการของเทคโนโลยีและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ของสถาบันหรือของบุคคล ที่ได้จัดทำขึ้นหรือรับไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสิ้นกระแสตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานแล้ว และได้รับการประเมินคุณค่าอย่างถูกต้องแล้วว่า มีความสำคัญ สมควรแก่การเก็บรักษาระยะยาว ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา อนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทางดาราศาสตร์ของไทย เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไทยต่อไป
N = National Astronomical Research Institute of Thailand (NARIT)
A = Archives
R = Records
U = Unit
คำย่อ “NARU” คำอ่านออกเสียงภาษาไทยว่า “น่ารู้”
สีน้ำเงิน แสดงถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
สีส้ม แสดงถึง สีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ วันพฤหัสบดี
ดาวประจำยาม (สีส้ม) แสดงถึง ลายไทยพื้นฐานรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุมมีลักษณะคล้ายดอกไม้สี่กลีบ ซึ่งเปรียบ เสมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ความหมายของสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ของจดหมายเหตุดาราศาสตร์ ประกอบด้วย อักษรย่อ “NARU” (NARIT Archives & Records Unit) และ "ดาวประจำยาม" NARU มีอักษรเป็นสีน้ำเงินอันเป็นศิริมงคลด้วยแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระอัจฉริยภาพทางด้านดาราศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
โดยตำแหน่งของ “ดาวประจำยาม” อยู่ด้านบนขวาของอักษร N ซึ่งเป็นอักษรย่อของ NARIT แสดงนัยว่า NARIT เป็น North celestial pole คือ ขั้วฟ้าเหนือ ที่เป็นจุดอ้างอิงในการกำหนดวัดตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า สื่อความหมายว่า NARU ทำหน้าที่เป็นหน่วยรวบรวมข้อมูล เป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านดาราศาสตร์ที่มีคุณค่า และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ทางด้านดาราศาสตร์ของไทย
หอจดหมายเหตุดาราศาสตร์
หอจดหมายเหตุดาราศาสตร์
หอจดหมายเหตุดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - ปีปัจจุบัน