ดาวหางฮัลเลย์
“ดาวหางฮัลเล่ย์” ชื่อดาวหางที่คนไทยมีความคุ้นเคยและรู้จักมากที่สุด เหตุเพราะดาวหางมีความสว่างที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด
เอ็ดมันด์ ฮัลเล่ย์ เป็นผู้คำนวณและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางได้สำเร็จเป็นคนแรกด้วยฮัลเล่ย์พบว่าดาวหางดวงนี้จะโคจรกลับมาให้เห็นบนท้องฟ้าทุกๆ 75 - 76 ปี ฮัลเล่ย์ได้ใช้ข้อมูลจากที่มีผู้บันทึกการพบเห็นดาวหางที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 โดยฮัลเล่ย์สันนิฐานว่าดาวหางที่ปรากฏนี้น่าจะเป็นดาวหางดวงเดียวกัน และฮัลเล่ย์ได้ทำนายว่าดาวหางดวงนี้จะกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1759 แต่ฮัลเล่ย์ไม่สามารถพิสูจน์ผลการคำนวณและทำนายของเขาได้เนื่องจากเขาได้เสียชีวิตไปก่อนที่ดาวหางจะมาปรากฏตัว ถึงแม้ว่าฮัลเล่ย์จะเสยชีวิตไปแล้วแต่คำทำนายของเขายังคงอยู่ และในปี ค.ศ. 1758 ตามคำทำนายของฮัลเล่ย์ก็มีผู้พบเห็นดาวหางดวงนี้ปรากฏตัวขึ้นจริง ๆ ในวันคริสต์มาสของปีนั้นเอง สร้างความตื่นเต้นแก่ผู้คนในโลกตะวันตกเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาดวงนี้จึงได้ชื่อตามชื่อของเขาว่า “ดาวหางฮัลเล่ย์”
ข้อมูลภาพ จากหนังสือ ฮัลเล่ย์ Halley
ศุภดารา พลสมุทร ค้นคว้า เรียบเรียง
ดรุณี แปล เรียบเรียง
ในช่วงต้นๆ ปี 2529 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2529 ดาวหางฮัลเล่ย์ เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าทางภาคใต้ของประเทศไทย สามารถมองเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่า การโคจรกลับมาในครั้งนี้สร้างความตื่นตัวให้ประชาชนคนไทยสนใจเรื่องของดาราศาสตร์มากขึ้น ในยุคนั้น ศ.ดร.ระวี ภาวิไล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรกๆ ของไทย ได้ร่วมสังเกตการณ์การกลับอีกครั้งของดาวหางฮัลเล่ย์ ซึ่งได้สร้างความตื่นตัวให้เยาวชนไทยหันมาให้ความสนใจการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มากขึ้นกับการกลับของดาวหางฮัลเล่ย์ในครั้งนี้
กล้องโทรทรรศน์แบบนิวโทรเนียน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว
ศ. กิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล ใช้สังเกตการมาเยือนของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2529
มรดกที่ฮัลเล่ย์ทิ้งไว้คือเทคนิคการคำนวณหาคาบวงโคจรของดาวหาง และนักดาราศาสตร์ยุคต่อมาก็ใช้เทคนิคการคำนวณของฮัลเล่ย์ทำนายการมาเยือนของดาวหางดวงนี้ในอนาคต ซึ่งดาวหางฮัลเล่ย์จะกลับมาให้เราได้ชมอีกครั้งในราวช่วงกลางปี พ.ศ. 2604 จากมรดกที่ฮัลเล่ย์ฝากไว้ให้คนรุ่นหลังให้พิสูจน์ผลการคำนวณของเขาว่าถูกต้องหรือไม่ตามที่คำนวณไว้...
update 18 มิถุนายน 2563