การเสวนาและบรรยายเชิงวิชาการ
เรื่อง “ จดหมายเหตุดาราศาสตร์ตะวันตกในสยาม ”
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 เวลา 8.30 – 13.00 น.
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา
ในประวัติศาสตร์ไทยมีบันทึกไว้ว่าดาราศาสตร์ยุคใหม่แบบตะวันตกเข้าสู่ประเทศไทยนับตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดาราศาสตร์แบบตะวันตกเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีชาวต่างชาติเข้ามาร่วมสังเกตการณ์มากมายโดยเฉพาะช่วงการเกิดสุริยุปราคา เมื่อ พ.ศ. 2411 เช่น ชาวอังกฤษ ชาวฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งการบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ ควรค่ายิ่งแก่การเก็บรวบรวมและรักษาไว้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยแก่เยาวชนรุ่นหลังและเพื่อเผยแพร่ความรู้
สู่สาธารณชนให้เห็นการพัฒนาทางด้านดาราศาสตร์ของไทยตลอดจนการขยายความสัมพันธ์ทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศไทยไปสู่นานาประเทศ
ในการเสวนาและบรรยายเชิงวิชาการ เรื่อง “จดหมายเหตุดาราศาสตร์ตะวันตกในสยาม” ครั้งนี้ เป็นการนำเสนอแนวคิดและวิวัฒนาการของวิชาดาราศาสตร์ในอดีต ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับชาติตะวันตก ซึ่ง สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้มีดำริในการจัดตั้ง หอจดหมายเหตุดาราศาสตร์ขึ้นเพื่อเป็นการบอกเล่าเรื่องราวจากอดีตอันทรงคุณค่าของจดหมายเหตุดาราศาสตร์ไทยและเชื่อมโยงระหว่างดาราศาสตร์กับภูมิปัญญาทางภาคใต้
การบรรยาย
เรื่อง “บันทึกสุริยุปราคาแหลมเจ้าลาย พ.ศ. 2418 ค้นพบใหม่จากลอนดอน”
โดย นายวิษณุ เอื้อชูเกียรติ
การเสวนา
เรื่อง “ จดหมายเหตุดาราศาสตร์ตะวันตกในสยาม ”
โดย อ.อารี สวัสดี
อ.บรรจง ทองสร้าง
อ.วรพล ไม้สน
ผู้เข้าร่วม
- คณะกรรมการจัดตั้งหอจดหมายเหตุดาราศาสตร์
- นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนบุคคลที่มีความสนใจ
- เจ้าหน้าที่ สดร.