การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและให้ความรู้
เรื่อง “อารยธรรมและอารยสถานดาราศาสตร์ไทย”
ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2561
ณ สถานที่สำคัญทางอารยธรรมดาราศาสตร์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี
อารยธรรมของมนุษย์เกิดขึ้นจากการรังสรรค์ความรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สะสมองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์ศิลปวิทยาการต่าง ๆ อารยธรรมของแต่ละกลุ่มชนมีความหลากหลายเนื่องจากถิ่นที่ตั้ง ทรัพยากร ความเชื่อ และศาสนา ก่อให้เกิดเรื่องเล่า และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละอารยธรรม และเมื่อมีการสืบสานและแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชนอื่น ๆ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาที่แตกต่างกันไป
ดาราศาสตร์ที่ศึกษากันทั่วไปในปัจจุบันนั้น จัดเป็นความรู้ดาราศาสตร์สมัยใหม่ ที่เน้นความเข้าใจด้านฟิสิกส์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดี แต่เดิมนั้น ดาราศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยกระบวนทัศน์ของแต่ละกลุ่มชน ความรู้ด้านดาราศาสตร์ของกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทมีความหลากหลายไปในแต่ละกลุ่มชน ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ทั้งในด้านเกษตรกรรม ปฏิทิน และสถาปัตยกรรม การศึกษาดาราศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethno astronomy) จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้เพื่อศึกษาชาติพันธุ์ไทได้
กว่าสามร้อยสามสิบปีที่ดาราศาสตร์ตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามาพร้อมกับศาสตร์อื่น ๆ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยา การเปิดรับความรู้อย่างตะวันตกและผนวกเข้ากับความรู้เดิมของชาวไทสยาม ดังเช่นสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องหมายที่สะท้อนถึงการผสมผสานอารยธรรมไทให้เลื่อนไหลไปตามบริบทของโลก แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไท
กิจกรรมค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและให้ความรู้ เรื่อง “อารยธรรมและอารยสถานดาราศาสตร์ไทย” จะเป็นการรวบรวมผู้มีความสนใจในงานด้านสังคมวิทยาดาราศาสตร์ เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานวิจัยด้าน ภูมิปัญญาดาราศาสตร์ไทย ให้เกิดขึ้น และสร้างฐานข้อมูลด้านสังคมวิทยาดาราศาสตร์ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดด้านดาราศาสตร์ไทย และการผสมผสานของดาราศาสตร์ไทยกับดาราศาสตร์สากล และส่งถ่ายความรู้ดาราศาสตร์ไทยให้คงอยู่ต่อไป
การบรรยาย
วันที่ 29 กันยายน 2561
ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล หอดูดาวและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจันทรเกษม
ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลวัดกุฎีดาวและเรื่องราวการวางผังวัดแบบดวงดาว
บรรยายโดย รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี
วันที่ 30 กันยายน 2561
ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ณ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์
ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ณ หอดูดาววัดสันเปาโล และพระที่นั่งทะเลชุบศร
บรรยายโดย นายภูธร ภูมะธน
ผู้เข้าร่วม
- รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม สดร. ที่ปรึกษา
- นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการอิสระ นักวิชาการ
- รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์
- ผศ.ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์
- อ.ดร.อาทิตย์ ลภิรัตนากุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์
- อ.ดร.เชิดศักดิ์ แซ่ลี่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์
- นายอดิศักดิ์ สุขวิสุทธิ์ โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ อาจารย์
- นางอรพินธ์ แซ่ลี่ นักวิชาการอิสระ นักวิชาการ
- นางสวนิต เทียมทินกฤต สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม นักวิชาการ
- นายกรกมล ศรีบุญเรือง สดร. นักวิชาการ
- นายพิสิฏฐ นิธิยานันท์ สดร. เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
- นายกรกต ท้าวศรีบุญเรือง สดร. เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ชำนาญการ
- ว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ หิรัญสุข สดร. เจ้าหน้าที่จัดการงานทั่วไป
- นางสาวปรียา สุขยิ่ง สดร. บรรณารักษ์