#ดาวพฤหัสบดี บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เมื่อ 30 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
ดาวพฤหัสบดีภาพนี้ ที่มีดวงจันทร์ไอโอกำลังเคลื่อนผ่านหน้า เห็นเงาดวงจันทร์ทอดลงบนดาวได้อย่างชัดเจน รวมถึงรายละเอียดบนตัวดาวพฤหัสบดี เช่น แถบสีส้มของแอมโมเนียมซัลไฟล์ เรียกว่า เข็มขัด (Belt) แถบสีขาวของแอมโมเนีย เรียกว่า โซน (Zone) และจุดสีแดงที่อยู่บริเวณเข็มขัดเมฆ เรียกว่า จุดแดงใหญ่ เป็นจุดสีแดงรูปไข่ มีขนาดประมาณ 2 เท่าของโลก
ในช่วงนี้ ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏบริเวณขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น. จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น
สำหรับปีนี้ ดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรืออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Opposition) ในวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับสังเกตการณ์ เนื่องจากผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏที่ใหญ่ สว่างมาก และสังเกตเห็นได้ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าของวันถัดไป
ภาพ : ธนกฤต สันติคุณาภรต์ / ธีรยุทธ ลอยลิบ / ธราดล ชูแก้ว
TRT-SKA / CFF Telescope / ASI290
A-TRT-147 See less