กาแล็กซีล้อเกวียน (Cartwheel Galaxy หรือ PGC 2248)
กาแล็กซีแห่งนี้มีลักษณะเป็นกาแล็กซีรูปเลนส์ (จากลักษณะเรียวบางแบบเลนส์นูน แต่ไม่มีแขนกาแล็กซี) ล้อมรอบด้วยกาแล็กซีทรงวงแหวน อยู่ห่างจากโลก 500 ล้านปีแสง บริเวณกลุ่มดาวช่างแกะสลัก ตัวกาแล็กซีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150,000 ปีแสง (ใกล้เคียงกับกาแล็กซีทางช้างเผือก) มีมวลประมาณ 2.9-4.8 พันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (ราว 1/276 - 1/312 เท่าของมวลกาแล็กซีทางช้างเผือก)
กาแล็กซีรูปวงแหวน (Ring Galaxy) เป็นกาแล็กซีแบบหายากที่มีดวงดาวและกลุ่มฝุ่นแก๊สกระจุกตัวกันเป็นรูปวงแหวน ดาวฤกษ์ในกาแล็กซีแบบนี้มักเป็นดาวฤกษ์สีน้ำเงินอายุน้อย นักดาราศาสตร์คาดว่า กาแล็กซีลักษณะนี้เกิดจาก
1) กาแล็กซีรูปวงแหวนเคยเป็นกาแล็กซีที่มีขนาดใหญ่กว่า จากนั้น กาแล็กซีขนาดเล็กกว่าเคลื่อนผ่านเข้าใจกลางโดยตรง ทำให้สสารในกาแล็กซีกระจายตัวเป็นรูปวงแหวน และคลื่นกระแทกจากการชนกันอัดกลุ่มฝุ่นแก๊สให้ยุบตัวจนเกิดดาวฤกษ์ใหม่จำนวนมาก หรือ...
2) กาแล็กซีรูปวงแหวนเป็นเพียงกลุ่มฝุ่นแก๊สที่กระจายตัวโดยรอบกาแล็กซีที่อยู่ตรงกลาง จากนั้นฝุ่นแก๊สเกิดการยุบตัวลงกลายเป็นดาวฤกษ์เกิดใหม่เกาะกลุ่มกันเป็นรูปวงแหวน
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803
เรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.