เนื่องจากวันจันทร์ที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2564 ตรงกับวันที่ 1 เดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah เดือนที่ 12 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1443 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไปคือ ช่วงเย็นเวลาหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าวันที่ 29 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2564 เพื่อที่จะกำหนดวันขึ้นปีใหม่ หรือวันที่ 1 เดือนมุฮัรรอม (Muharam เดือนที่ 1 ในปฏิทินอิสลาม) วันสำคัญประจำเดือนมุฮัรรอมจะเป็นวันที่ 10 ของเดือน จะมีชื่อเรียกว่าวันอาซูรอ (“อาซูรอ” เป็นชื่อจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่าสิบ) ซึ่งวันอาซูรอในปีนี้จะตรงกับวันไหนขึ้นอยู่กับผลการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรกในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2564 เวลาหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า
บทความดาราศาสตร์
บทความดาราศาสตร์
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดวันขึ้นปีใหม่ ในเดือนมุฮัรรอม (Muharam) ฮ.ศ.1443
"เทศกาลราตรีแห่งเลขเจ็ด" เทศกาลตามประเพณีร่วมของจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม
ในวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา คนไทยหลายคนอาจทราบว่าเป็น “วันที่ 7 เดือน 7” ซึ่งเป็นวันจัดเทศกาลทานาบาตะของญี่ปุ่น ที่มีธรรมเนียมการเขียนคำอธิษฐานลงกระดาษไปผูกกับกิ่งไผ่ แต่ที่จริงแล้วเทศกาล “วันที่ 7 เดือน 7” ไม่ได้มีเพียงในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศอื่น ๆ ร่วมภูมิภาค อย่างจีน เกาหลี และเวียดนามด้วย
เกณฑ์พิจารณาการมองเห็นจันทร์เสี้ยวใหม่ของมาเลเซีย
มาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจับตามองในการพัฒนาเกณฑ์พิจารณาการมองเห็นจันทร์เสี้ยว เพราะเป็นหนึ่งในประเทศที่นำการคำนวณทางดาราศาสตร์มาใช้กำหนดวันเริ่มต้นของเดือนอิสลามพร้อมกับ “รุกยะห์” (การมองเห็นด้วยตาเปล่า) โดยใช้เกณฑ์การคํานวณทางดาราศาสตร์ ที่เรียกว่าเกณฑ์ “อิมกาน อัลรุกยะห์ 2 - 3 - 8” (Imkan al-Rukyah/expected visibility) คือ ความเป็นไปได้ที่จะสามารถมองเห็นจันทร์เสี้ยว ซึ่งจันทร์เสี้ยวจะถูกรับรองว่าเห็น เมื่อเป็นตามเงื่อนไขต่อไปนี้
ที่มาของเกณฑ์ “อิมกาน อัลรุกยะห์” (Imkan al-Rukyah/expected visibility) ความเป็นไปได้ที่สามารถมองเห็นจันทร์เสี้ยวในมาเลเซีย
มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศมุสลิมที่นำการคำนวณมาใช้กําหนดวันแรกของเดือนตามปฏิทินอิสลามร่วมกับ “รุกยะห์” (Rukyah) หรือ การมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยใช้หลักการคำนวณตามเกณฑ์ “อิมกาน อัลรุกยะห์” (Imkan al-Rukyah/expected visibility) คือ ความเป็นไปได้ที่สามารถมองเห็นจันทร์เสี้ยว จันทร์เสี้ยวจะถูกรับรองว่าเห็น เมื่อเป็นตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah) ฮ.ศ. 1442
เนื่องจากวันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ตรงกับวันที่ 1 ซุลกอดะห์ (Zul Qadah เดือนที่ 11 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ. 1442 ดังนั้นวันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไป คือ ช่วงเย็นเวลาหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าของวันที่ 29 เดือนซุลกอดะห์ ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เพื่อที่จะกำหนดวันเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่คือเดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah เดือนที่ 12 ในปฏิทินอิสลาม) พร้อมกับกำหนดวันสำคัญประจำเดือนซุลฮิจญะฮ์ คือกำหนดวันอิดฎิ้ลอัฎฮา (วันฮารีรายอฮัจญี) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ เป็นวันเฉลิมฉลองใหญ่ของชาวมุสลิม ดังนั้นการกำหนดวันอิดฎิ้ลอัฎฮา (วันฮารีรายอฮัจญี) จะขึ้นอยู่กับผลของการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งหากผลการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันเวลาดังกล่าวมีผู้คนที่สามารถเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ชาวไทยมุสลิมก็จะกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นวันที่ 1 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah เดือนที่ 12 ในปฏิทินอิสลาม) และจะกำหนดวันอิดฎิ้ลอัฎฮา (วันฮารีรายอฮัจญี) หรือวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ประจำปี ฮ.ศ. 1442 จะตรงกับวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนซุลกอดะห์ (Zul Qadah) ฮ.ศ.1442
สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศให้วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวัล (Shawwal เดือนที่ 10 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1442 หรือวันอีฏิลฟิตริ ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1442 ดังนั้นวันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไปคือ ช่วงเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 29 เดือนเชาวัล ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เพื่อกำหนดวันขึ้นเดือนใหม่ หรือวันที่ 1 เดือนซุลกอดะห์ (Zul Qadah เดือนที่ 11 ในปฏิทินอิสลาม) ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1442
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนเชาวัล (Shawwal) ฮ.ศ.1442
สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศให้วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2564 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอมฎอน (Ramadan เดือนที่ 9 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1442 หรือวันเริ่มต้นของการถือศีลอด เดือนรอมฎอน ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไปคือ ช่วงเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 29 เดือนรอมฎอน ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เพื่อกำหนดวันขึ้นเดือนใหม่ หรือวันที่ 1 เดือนเชาวัล (Shawwal เดือนที่ 10 ในปฏิทินอิสลาม) หรือวันอิ้ฏดิลฟิตตรี ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1442 (วันเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมหลังจากถือศีลอดมาตลอดทั้งเดือนรอมฎอน)
เกณฑ์การมองเห็นจันทร์เสี้ยว Criteria for Lunar Crescent Visibility
เกณฑ์การมองเห็นจันทร์เสี้ยว คือ เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ปัจจุบันมีเกณฑ์ที่แตกต่างกันมากกว่า 12 เกณฑ์ โดยพิจารณาจากข้อมูลการสังเกตการณ์เป็นหลัก มีตัวแปรเกณฑ์การมองเห็น (Visibility criteria variables) ดังต่อไปนี้
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.1442
พื้นที่สีส้มเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถเห็นดวงจันทร์ พื้นที่สีเหลืองเป็นพื้นที่ที่สามารถเห็นดวงจันทร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ และพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่ที่สามารถเห็นดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า
กลุ่มดาวฤดูใบไม้ผลิ (The Spring Constellations)
กลุ่มดาวที่สามารถสังเกตได้ในฤดูใบไม้ผลิของทางเขตอบอุ่นในซีกโลกเหนือ (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ตรงกับช่วงฤดูร้อนในไทย) มีหลายกลุ่มดาวที่น่าสนใจ เริ่มจาก กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) หรือหากมองเป็นดาวเรียงเด่น จะเห็นเป็นรูปกระบวยตักน้ำ (Big Dipper) หากนำดาวฤกษ์บริเวณปลายกระบวยทั้งสองดวงมาต่อกันเพื่อลากเส้นสมมติ โดยเริ่มจาก ดาวเมอแรก (Merak) ลากผ่าน ดาวดูเบ (Dubhe) ก็จะชี้นำทางไปยังดาวเหนือได้
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนรอญับ (Rajab) ฮ.ศ.1442
สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศให้วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2564 ตรงกับวันที่ 1 เดือนญามาดิล อาเคร (Jamadil Akir เดือนที่ 6 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1442 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไปคือ ช่วงตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 29 เดือนญามาดิล อาเคร ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เพื่อที่จะกำหนดวันขึ้นเดือนใหม่ หรือวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajab เดือนที่ 7 ในปฏิทินอิสลาม) ประจำปีฮีจเราะห์ศักราช 1442
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนรอบีอุล เอาวัล (Rabiul Awal) ฮ.ศ.1442
เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2563 ตรงกับวันที่ 1 เดือนซอฟาร (SAfar เดือนที่ 2 ในปฏิทินอิสลาม) ฮ.ศ.1442 ดังนั้น วันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไปคือ ช่วงตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 29 เดือนซอฟาร ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2563 เพื่อที่จะกำหนดวันขึ้นเดือนใหม่ หรือวันที่ 1 เดือนรอบีอุล เอาวัล (Rabiul Awal เดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม) ประจำปีฮีจเราะห์ศักราช 1442 เดือนรอบีอุลเอาวัล (Rabiul Awal) ถือได้ว่าเป็นเดือนสำคัญของชาวมุสลิมเนื่องจากเป็นเดือนเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) และจะมีประเพณีปฏิบัติกิจกรรมงานเมาลิด หรือกิจกรรมเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.)