สำหรับใครที่เคยสัมผัสบรรยากาศของการดูวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์มาแล้ว อาจมีคำถามที่ทำให้อยากรู้และค้นหาคำตอบ หนึ่งในคำถามที่มักพบบ่อยครั้งคือ ทำไมจึงไม่เห็นสีสันสดใสของวัตถุท้องฟ้าเหมือนดั่งในภาพถ่าย เหตุผลก็คือโดยปกติดวงตามนุษย์มีเรตินา (Retina) เป็นจอรับภาพ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์รูปแท่ง (rod cell) และเซลล์รูปกรวย (cone cell) ช่วงเวลากลางคืนหรือสถานที่ที่มีแสงไฟสลัว ๆ เซลล์ที่ทำงานได้ดีคือ เซลล์รูปแท่ง ซึ่งเซลล์นี้จะให้ภาพออกมาในโทนขาวดำ ส่วนเซลล์รูปกรวยจะให้ออกมาเป็นสีแต่ทำงานไม่ดีในสภาวะแสงน้อย จึงไม่สามารถมองเห็นสีในที่มืดได้
บทความดาราศาสตร์
บทความดาราศาสตร์
ทำไมจึงไม่เห็นวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์มีสีสันสวยงามดั่งเช่นภาพถ่าย
ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.1441
เนื่องจากวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajab) ฮ.ศ. 1441 ดังนั้นวันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ครั้งต่อไปจะตรงกับวันที่ 29 เดือนรอญับ ฮ.ศ. 1441 หรือวันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผลการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันเวลาดังกล่าว จะกำหนดวันเริ่มต้นเดือนชะบาน (Shaban) หากมีผู้คนสามารถเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรก ชาวไทยมุสลิมก็จะกำหนดให้วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันเริ่มต้นเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ. 1441
Social Distancing ของดวงดาวในกลุ่มดาว
กลุ่มดาวบนท้องฟ้า ที่เราเห็นว่าดาวแต่ละดวงมันใกล้กันนั้น จริงๆแล้ว มันไม่ได้ใกล้กันเลย ดาวแต่ละดวงอยู่ห่างระหว่างกันมาก เมื่อพิจารณาระยะห่างของดาวจากโลก เช่นในกลุ่มดาวนายพราน ดาวบีเทลจุส อยู่ห่างจากโลก 624 ปีแสง ดาวไรเจล 772 ปีแสง และโดยเฉพาะบริเวณเข็มขัดนายพราน ที่มองเห็นเด่นชัดเป็น 3 ดวงเรียงกันอยู่นั้น ดาวอัลนิแทค ดาวอัลนิแลม และดาวมินทากะ มีระยะห่างจากโลก 800 ปีแสง 1,342 ปีแสง และ 916 ปีแสง ตามลำดับ ซึ่งจากตัวเลขจะเห็นได้ว่า ดาวแต่ละดวงนั้นมีระยะห่างที่ไม่ได้ใกล้กันเลย แต่เนื่องจากว่าสายตาของมนุษย์นั้นไม่สามารถมองเห็นวัตถุลึกลงไปได้ไกลขนาดนั้น จึงทำให้เราเห็นว่าดาวทุก ๆ ดวงอยู่ใกล้กัน และอยู่บนทรงกลมเดียวกัน นั่นคือทรงกลมท้องฟ้านั่นเอง
อัลไบรูนี หนึ่งในนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลามยุคก่อน
“อบู อัรรอยฮานฺ มุฮำมัด อิบนุ อะฮฺมัด อัลไบรูนี (Abu Rayhan Muhammad ibn Ahmad Al-Biruni)” หรือ “อัลไบรูนี” เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย เกิดในปี ค.ศ. 937 ที่เมืองคอส ในแคว้นควอแรซม์ (Kath, Khwarezm) ในภูมิภาคเอเชียกลาง และอัลไบรูนีเสียชีวิตลงที่คัซนี (Ghazni) ในปี ค.ศ. 1048 อัลไบรูนีไม่เพียงแต่เป็นนักดาราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังโดดเด่นในวิชาคณิตศาสตร์ การแพทย์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ เภสัชกรรม และธรณีวิทยา ด้วยความปราดเปรื่องและฉลาดเฉลียวอย่างโดดเด่นในด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ทำให้เขาสามารถคิดหาสูตรอย่างง่ายสำหรับการวัดรัศมีของโลก เส้นรอบวงของโลก เป็นการพิสูจน์ได้ว่าโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม ยิ่งไปกว่านั้นเขาคิดว่าเป็นไปได้ที่โลกมีการโคจรรอบดวงอาทิตย์
นักดาราศาสตร์ อาชีพที่ท้าทาย มีจักรวาลเป็นห้องแล็ปใหญ่ ให้ไขความลับไม่รู้จบ
เริ่มต้นเดือนแห่งความรัก ฉลองการเปิดฉากอย่างเป็นทางการของ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กับกิจกรรมดาราศาสตร์ ในงาน NARIT AstroFest 2020 มหกรรมดาราศาสตร์ที่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมงานเป็นจำนวนมาก
ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮิลาล) กับการกำหนดเดือนปฏิทินฮิจเราะห์ ประจำปี ฮ.ศ. 1441
ดวงจันทร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่เราคุ้นเคยมากที่สุด เป็นบริวารหนึ่งเดียวของโลกและเป็นวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดอีกด้วย เห็นได้ชัดในตอนกลางคืนและสวยงามมากในคืนจันทร์เพ็ญ (Full Moon) หากเราสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้าในแต่ละคืน จะเห็นเฟสของดวงจันทร์ที่ปรากฏ (Phase of the moon) เปลี่ยนแปลงไปทุกวันชาวมุสลิมจะกำหนดวันที่ และวันสำคัญของแต่ละเดือนปฏิทินฮิจเราะห์หรือปฏิทินอิสลาม จากการปรากฏเฟสของดวงจันทร์ในแต่ละวัน
“มานิ” ก็ดูดาว
มานิ (Mani) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย อาศัยในผืนป่าเทือกเขาบรรทัด บริเวณจังหวัดพัทลุง สตูล ตรัง และเทือกเขาสันกาลาคีรีในเขตจังหวัด ยะลาและนราธิวาส ชนกลุ่มนี้จะดำรงชีวิตอยู่ในป่าด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ ถึงแม้ทุกวันนี้อิทธิพลของสังคมเมืองจะเริ่มคืบคลานไปยังผืนป่าที่พวกเขาอาศัยอยู่
ตอนกลางวัน บนดวงจันทร์ก็มองเห็นดวงดาว
ถ้ามีเด็กน้อยสักคนเดินเข้ามาหาพร้อมกับคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงมองไม่เห็นดวงดาวในเวลากลางวัน? เราคงมองหน้าเด็กอย่างงุนงง และตอบแบบไม่ต้องคิดมากว่า “ก็เพราะมีแสงดวงอาทิตย์สว่างบนท้องฟ้าจนกลบแสงดาวไปหมด …” ก็ดูจะเป็นคำถามที่ตอบไม่ยากเย็นสักเท่าไหร่
AVspec ฐานข้อมูลสเปกตรัม มือสมัครเล่น หรือมืออาชีพ “ ใครๆ ก็เข้าถึงได้”
“ ใครๆ ก็เข้าถึงได้”“เรารู้ได้อย่างไรว่า ดาวดวงนั้น ดวงโน้น ดวงนี้ ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง มีอุณหภูมิเท่าไร่ มีอัตราเร็วในการหมุนแค่ไหน เป็นดาวฤกษ์ประเภทไหน” …..?
ทำไมดาวฤกษ์ถึงเปล่งแสง?
เวลาแหงนมองท้องฟ้าที่ห่างไกลจากแสงไฟในเมือง คงไม่มีใครที่ไม่สังเกตว่าท้องฟ้าเวลากลางคืนจะมีแสงระยิบระยับของดาวหลายพันดวงบางดวงสว่างมาก บางดวงสว่างน้อย แต่เราเคยสงสัยกันไหมว่า แสงดาวเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมหนังสือเรียนถึงบอกว่า ดาวฤกษ์มีแสง แต่ดาวเคราะห์กลับไม่มีแสง
มาประดิษฐ์อุปกรณ์ดูดวงอาทิตย์ผ่านฉากรับภาพ ต้อนรับเทศกาลชมสุริยุปราคากันเถอะ!
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด จึงเป็นวัตถุที่น่าศึกษาเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม แสงจากดวงอาทิตย์เป็นอันตรายต่อดวงตาของมนุษย์อย่างมาก ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมากที่สุด
ฟ้าเปิด vs ฟ้าปิด
หลายคนคงเคยสงสัยว่า ทำไมดูดาวต้องฟ้าเปิดเท่านั้น? และ บางครั้งฝนไม่ตกแต่ทำไมฟ้าปิด มองไม่เห็นดวงดาว ?