เครื่องฉายดาว (ภาษาอังกฤษ: Planetarium projector ภาษาเยอรมัน: Planetariumsprojektor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อฉายภาพประกอบการแสดงท้องฟ้าจำลองขึ้นไปบนผนังโดม ตั้งแต่ดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ วัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ทางช้างเผือก กลุ่มดาว เส้นสำคัญเกี่ยวกับทรงกลมท้องฟ้าและระบบพิกัดท้องฟ้า สไลด์บรรยาย ไปจนถึงแสงเลเซอร์ประกอบการแสดง
บทความดาราศาสตร์
บทความดาราศาสตร์
เครื่องฉายดาวไซส์ : เครื่องฉายดาวรุ่นบุกเบิกที่ Made in Germany
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง : หอดูดาวหลวงของจีนในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง (“เป่ย์จิงกู่กวานเซี่ยงไถ” อักษรจีนตัวเต็ม: 北京古觀象臺 อักษรจีนตัวย่อ: 北京古观象台) เป็นอาคารหอดูดาวสำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ก่อนที่จะเริ่มประยุกต์ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสังเกตการณ์ตามแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่ในจีน ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน
หอดูดาวแห่งชาติชิลี : หอดูดาวภายใต้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ และหน่วยงานที่เคยผลักดันให้นานาชาติสร้างหอดูดาวขนาดใหญ่ในประเทศ
เนื่องในโอกาสวันที่ 18 กันยายนของทุกปีเป็นวันชาติของชิลี ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งหอดูดาวขนาดใหญ่หลายแห่งของนานาชาติตั้งอยู่ NARIT จึงชวนมาดูเรื่องราวของของหนึ่งในหอดูดาวสำคัญของทางประเทศชิลี และเคยเป็นตัวกระตุ้นให้นานาชาติตั้งหอดูดาวในประเทศครับ
ดาราศาสตร์ในอารยธรรมมายาแห่งภูมิภาคอเมริกากลาง
เนื่องในวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา เป็นวันชาติของประเทศที่เคยเป็นที่ตั้งของอารยธรรมมายาโบราณ NARIT จึงจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับการค้นพบและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์อันเก่าแก่ของพวกเขา
โทมาโนโวส (Tomanowos) อุกกาบาตผู้รอดพ้นจากมหาอุทกภัย และความเขลาของมนุษย์
อุกกาบาตโทมาโนโวส (Tomanowos) หรือ อุกกาบาตวิลลาเมทท์ (Willamette Meteorite) วัตถุที่มาเยือนจากนอกโลกอันโด่งดัง และมีเรื่องราวน่าสนใจมากที่สุดก้อนหนึ่งของโลก มันผ่านเรื่องราวมากมาย ตั้งแต่การก่อกำเนิด การตกลงมาสู่โลก ผ่านทั้งอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุด กลายมาเป็นวัตถุที่ได้รับความเคารพ และมีความสำคัญทางจิตวิญญาณของชนเผ่าอินเดียนแดง ผ่านความขัดแย้งจากการแย่งชิงผลประโยชน์ของมนุษย์ ต่อไปนี้คือเรื่องราวอันโลดโผนของมัน
จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah) ฮ.ศ. 1441
เนื่องจากวันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ตรงกับวันที่ 1 ซุลกอดะห์ (Zul Qadah) เดือนที่ 11 ฮ.ศ. 1441 ดังนั้นวันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในครั้งต่อไปคือ ช่วงเย็นเวลาหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าของวันที่ 29 เดือนซุลกอดะห์ ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เพื่อที่จะกำหนดวันเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่คือเดือนเดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah) เดือนที่ 12 พร้อมทั้งกำหนดวันอิดฎิ้ลอัฎฮา (วันฮารีรายอฮัจญี) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ เป็นวันเฉลิมฉลองใหญ่ของชาวมุสลิม ดังนั้นการกำหนดวันอิดฎิ้ลอัฎฮา (วันฮารีรายอฮัจญี) ในปีนี้จะขึ้นอยู่กับผลของการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งหากผลการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันเวลาดังกล่าวมีผู้คนที่สามารถเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ชาวไทยมุสลิมก็จะกำหนดให้วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นนที่ 1 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ (Zul Hijah) และยังสามารถกำหนดวันอิดฎิ้ลอัฎฮา (วันฮารีรายอฮัจญี) หรือวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ประจำปี ฮ.ศ. 1441 จะตรงกับวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
การค้นหาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงโดยกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เราคุ้นเคยกันดี และเราเข้าใจถึงระดับที่สามารถสร้างคลื่นนั้นขึ้นมาใช้งานในชีวิตประจำวัน แต่คลื่นความโน้มถ่วงเพิ่งได้รับการยืนยันว่ามีอยู่จริง และเราสามารถตรวจวัดได้ แต่เรายังไม่มีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการคลื่นโน้มถ่วง จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าคลื่นความโน้มถ่วงต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังไง? ค้นพบได้อย่างไร? โดยก่อน ค.ศ 2015 เราไม่สามารถตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วง มีแต่เพียงทฤษฎี หรือการสังเกตการณ์โดยอ้อมเท่านั้น แต่ก็ยังมีแนวคิดว่าคลื่นความโน้มถ่วงน่าจะมีจริง ซึ่งต่างกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรารู้จักโดยละเอียดทั้งยังสามารถสร้างคลื่นนั้นขึ้นมาใช้งานในชีวิตประจำวัน สามารถแปลงคลื่นมาเป็นพลังงาน หรือแปลงพลังงานไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านที่เราต้องการได้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า:
ความแตกต่างและความน่าสนใจระหว่างดาวตก (Meteor) ลูกไฟ (Fireball) และ ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) ที่ควรรู้
สมัยเรียนมัธยม หลังจากได้รับข่าวสารประชาสัมพันธ์เรื่อง “ฝนดาวตก (Meteor Shower) ผมและเพื่อน ๆ ตื่นเต้นมาก จึงค้นหาสถานที่ที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงแสงไฟรบกวนจากบ้านเรือนและชุมชนเมือง ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ฝนดาวตกในคืนนั้น ยังเป็นความประทับใจที่ไม่รู้ลืมในวันนี้ และเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงเป็นแบบนี้เช่นกัน ประสบการณ์การพบเห็นดาวตกนั้นตื่นเต้น ประทับใจ เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนชอบดาราศาสตร์และหันมาศึกษาข้อมูลดาราศาสตร์มากขึ้น
กระบวนการทดสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย
หากคุณคือผู้โชคดีที่เก็บชิ้นส่วนอุกกาบาต (Meteorite) ที่มาจากนอกโลกได้ คำถามคือคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นอุกกาบาตจริง ๆ เนื้อหาต่อไปนี้ขอเสนอวิธีการตรวจสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย ซึ่งหากลองทดสอบแล้วผลออกมาสอดคล้องตามวิธีด้านล่างนี้ แสดงว่าคุณคือผู้โชคดีคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของวัตถุจากอวกาศอายุนับพันล้านปี
“ซิจ” Zij ตารางดาราศาสตร์อิสลามยุคกลาง
“ซิจ (Zij)” เป็นคำในภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรอาหรับว่า زيج คือ ตารางบันทึกผลการสังเกตการณ์การเคลื่อนที่และตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าโดยนักดาราศาสตร์ในอดีต เพื่อใช้คำนวณหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า กลุ่มดาวต่าง ๆ รวมไปถึงการคำนวณหาระยะเวลาของช่วงกลางวันและกลางคืน และใช้ในการคำนวณหาทิศทาง โดยต้นแบบและวิธีการของซิจ ได้รับอิทธิพลจากตารางของปโตเลมี (Ptolemy’s Handy Tables) ที่ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซิจแต่ละตารางจะมีรูปแบบเฉพาะและความโดดเด่นที่ต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 13 ส่วน ดังนี้
แอปพลิเคชัน Star Chart
การจัดกิจกรรมดูดาวที่ดี ควรมีการเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาข้อมูลวัตถุท้องฟ้าในวันเวลาที่เราจะดู เราจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถจำลองท้องฟ้าเพื่อใช้เตรียมตัวดูดาว เช่น แผนที่ดาว หรือโปรแกรมท้องฟ้าจำลองในคอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีในโทรศัพท์มือถือ ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีแอปพลิเคชันทางด้านดาราศาสตร์มากมายลงในแพลตฟอร์มมือถือ ซึ่งมีทั้งแบบที่ดีและไม่ดี แอปพลิเคชันฟรีและเสียเงิน
Animals in space สัตว์อะไรบ้างที่เคยไปอวกาศ
ก่อนที่มนุษย์จะขึ้นไปสู่ห้วงอวกาศ ก่อนที่ยูริ กาการินจะโคจรรอบโลก ก่อนที่นีล อาร์มสรองจะเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก ยังมีบรรดาสัตว์ต่าง ๆ เคยขึ้นไปเพื่อบุกเบิกอวกาศ เก็บข้อมูลต่าง ๆ และทดสอบความปลอดภัยสูงสุดก่อนทดสอบกับมนุษย์ เมื่อเราพูดถึงสัตว์ในอวกาศ อาจจะรู้จักแค่ “ไลก้า” สุนัขข้างถนนของโซเวียตเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมีสัตว์ชนิดอื่นอีกมากมาย มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยว่า ก่อนที่มนุษย์จะขึ้นไป มีสัตว์ชนิดไหนเคยขึ้นไปก่อนแล้วบ้าง