22 มีนาคม 2023 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ตรวจพบ “ยูราซิล (Urasil)” ในตัวอย่างดินของดาวเคราะห์น้อยริวงู (Ryugu) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของ RNA รวมถึงยังตรวจพบกรดนิโคตินิก (Nicotinic acid, Niacin) หรือวิตามินบี 3 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น ช่วยสนับสนุนสมมติฐานที่ทำนายว่า องค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้น มีการก่อตัวขึ้นในวัตถุอวกาศอื่น ๆ ในระบบสุริยะ และเมื่อวัตถุเหล่านี้พุ่งชนโลก จึงทำให้โลกของเรามีวัตถุดิบมากพอที่จะก่อตัวไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้ได้
| |ภาพดาวยูเรนัส จากเจมส์ เว็บบ์
วันที่ 6 เมษายน 2023 องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA เปิดเผยภาพถ่ายดาวยูเรนัสจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ที่ปรากฏภาพของเมฆในชั้นบรรยากาศ วงแหวนสุดคมชัดถึง 11 ชั้น และดวงจันทร์ขนาดใหญ่อีก 6 ดวง
| |ประกาศแล้ว! นักบินอวกาศในภารกิจอาร์ทีมิส 2 เตรียมกลับไปดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี
เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ประกาศรายชื่อนักบินอวกาศที่จะกลับไปเยือนดวงจันทร์เป็นกลุ่มแรก จำนวน 4 คน ในภารกิจอาร์ทีมิส 2 (Artemis 2) หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี นับตั้งแต่โครงการอะพอลโล ซึ่งภารกิจอาร์ทีมิส 2 นี้ จะพานักบินอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024
| |“ขยะอวกาศ” มลภาวะที่เป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้ขยะพลาสติก
“อวกาศ” เปรียบเสมือนน่านน้ำสากลที่ใหญ่ที่สุด ที่ปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากนานาประเทศทั่วโลก เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านการสำรวจทรัพยากร การศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ของโลก การติดต่อสื่อสารทางไกล ไปจนถึงด้านความมั่นคงของชาติหรือทางการทหาร ทำให้ภายในปี ค.ศ.2022 มีดาวเทียมที่ยังคงปฏิบัติภารกิจและโคจรอยู่รอบโลกมากกว่า 5,000 ดวง และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากขึ้นในทุก ๆ วัน นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ภายในปี ค.ศ.2030 จะมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบโลกมากถึง 60,000 ดวง
| |กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยโดยบังเอิญ
6 กุมภาพันธ์ 2023 องค์การ NASA เผยว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่โดยบังเอิญภายในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก กลายเป็นวัตถุขนาดเล็กที่สุดที่ JWST สามารถสังเกตการณ์ได้ แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของ JWST ที่ไม่เพียงแต่สามารถมองลึกเข้าไปในเอกภพได้ไกลกว่ากล้องอื่น แต่ยังสามารถค้นพบวัตถุขนาดเล็กภายในระบบสุริยะของเราได้อีกด้วย
| |NASA เผยพบสารอินทรีย์จำนวนมาก ในดินจากดาวเคราะห์น้อยริวงู
24 กุมภาพันธ์ 2023 องค์การ NASA เผยแพร่ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบดินจากดาวเคราะห์น้อยริวงู (Ryugu) ที่ยานฮายาบูสะ-2 บินไปเก็บตัวอย่างกลับมายังโลกได้สำเร็จ พบว่า ดินตัวอย่างมีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์อยู่จำนวนมาก เป็นหลักฐานสำคัญสนับสนุนทฤษฎีที่คาดการณ์ไว้ว่า สารเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้น อาจเกิดจากดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้พุ่งชนโลกในอดีตกาล
| |Road to 100 ! พบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มอีก 12 ดวง รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 92 ดวง
เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2023 Minor Planet Center เผยแพร่ข้อมูลการค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มอีก 12 ดวง ทำให้ขณะนี้ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารรวมทั้งสิ้น 92 ดวง แซงหน้าดาวเสาร์ที่มีดวงจันทร์บริวาร 83 ดวง ทวงตำแหน่งดาวเคราะห์ที่มีจำนวนดวงจันทร์เยอะที่สุดในระบบสุริยะกลับคืนอีกครั้ง
| |กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา บันทึกภาพหลุมดำยักษ์ที่กำลังกลืนกินกันได้ถึง 2 คู่
22 กุมภาพันธ์ 2023 ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา เผยให้เห็นหลุมดำยักษ์ 2 คู่ในกาแล็กซีแคระ ที่กำลังมุ่งหน้าพุ่งชนกัน นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถติดตามการชนกันของหลุมดำยักษ์ได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ก่อนที่หลุมดำจะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจวิวัฒนาการของหลุมดำยักษ์ในช่วงแรกเริ่มของเอกภพได้มากยิ่งขึ้น
| |นักวิจัย สดร. ร่วมทีมนานาชาติพบโครงสร้างแขนเกลียว รอบดาวฤกษ์ก่อนกำเนิดมวลมาก G358-MM1
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมทีมนักวิจัยนานาชาติสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ก่อนกำเนิดมวลมาก G358-MM1 โดยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ด้วยเทคนิค Very Long Baseline Interferometry (VLBI) สร้างแผนที่จานดาวฤกษ์ก่อนกำเนิด เผยให้เห็นถึงโครงสร้างแขนเกลียวรอบดาวฤกษ์ก่อนกำเนิดที่ศูนย์กลางจำนวนสี่แขนโดยรอบ ยืนยันทฤษฎีการก่อตัวของดาวฤกษ์ก่อนกำเนิด ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 : https://www.nature.com/articles/s41550-023-01899-w
| |NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ในระบบที่คล้ายกับระบบสุริยะ
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นักดาราศาสตร์ NASA ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ ชื่อ TOI-700 e มีขนาดใกล้เคียงกับโลก โคจรในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Habitable zone) ในระบบที่ประกอบด้วยดาวเคราะห์หินขนาดเล็กคล้ายกับระบบสุริยะของเรา ด้วยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ TESS นับเป็นการค้นพบดาวเคราะห์หินดวงที่สองที่ถูกค้นพบในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตของระบบดาวเคราะห์ TOI-700
| |ภาพถ่ายดวงจันทร์ยูโรปาที่คมชัดที่สุดจากยานจูโน
ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา ยานจูโนซึ่งกำลังโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ได้ตัดสินใจกลับไปเยือนดวงจันทร์ยูโรปาอีกครั้งในรอบ 2 ทศวรรษ และเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญบนดวงจันทร์แห่งนี้ เพื่อหาโอกาสดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
| |เก็บตกวันปีใหม่ รู้หรือไม่ ดาวอันคารก็มีวันปีใหม่ !
[ปีตามปฏิทินของดาวอังคาร]
แม้ว่าโลกกับดาวอังคารจะถือกำเนิดขึ้นพร้อมกันภายในระบบสุริยะแห่งนี้ ทำให้มีอายุเท่ากันที่ราว 4,500 ล้านปี โดยการนับวันและเวลาบนโลกนั้นมีการกำหนดขึ้นตามแต่ละวัฒนธรรมที่แตกต่างกันทั่วโลก และมีการกำหนดปฏิทินสากลที่ใช้อ้างอิงการนับเวลาสอดคล้องกันทั่วโลกนั่นคือ “ปฏิทินเกรกอเรียน” แต่สำหรับดาวอังคารที่ยังไม่มีอารยธรรมใด ๆ ของมนุษย์เกิดขึ้นบนนั้น และนักวิทยาศาสตร์ต้องการกำหนดระบบเวลาบนดาวอังคารขึ้น เพื่อใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงบนดาวอังคาร เช่น สภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ และข้อมูลทางกายภาพอื่น ๆ เทียบกับเวลาบนดาวอังคารจริง ๆ จึงเป็นที่มาของการกำหนด “ปีบนดาวอังคาร” ซึ่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา เป็นวันเริ่มต้นวันแรกของ “ปีที่ 37” บนดาวอังคาร หรือก็คือวันขึ้นปีใหม่บนดาวอังคารนั่นเอง
| |