กล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกรวมถึงกล้องโทรรศน์อวกาศนั้นเปรียบเสมือน “ดวงตา” ที่สำคัญของมนุษยชาติ สามารถตรวจจับแสงในช่วงคลื่นอื่นมากกว่าที่ตามนุษย์มองเห็นได้ ตั้งแต่ช่วงคลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมมา เกิดเป็นดาราศาสตร์ในหลายช่วงคลื่น (multiwavelength astronomy) ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาและทำความเข้าใจวัตถุในห้วงอวกาศอย่างมาก
| |มองจุดร้อนบนดาวพฤหัสบดีผ่านกล้อง JunoCam ของยานอวกาศจูโน
วัตถุท้องฟ้านั้นอยู่ไกลจากเรามาก การศึกษาให้ครบทุกแง่ทุกมุมในคราวเดียวนั้นเป็นไปได้ยาก นักดาราศาสตร์จึงจำเป็นต้องคิดค้นเครื่องมือและเทคนิคการเก็บข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความหลากหลาย จนกว่าจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติในทางดาราศาสตร์ ที่จะมีการศึกษาวัตถุท้องฟ้าวัตถุเดียวแต่ใช้อุปกรณ์สังเกตการณ์ที่แตกต่างกัน ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอภาพจุดร้อน (Hot spot) บนบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี โดยเปรียบเทียบภาพที่บันทึกได้จากกล้องโทรทรรศน์เจมิไนนอร์ท (Gemini North Telescope) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.1 เมตร และกล้องถ่ายภาพ JunoCam ของยานอวกาศจูโน ดังภาพ
| |ประเทศจีนและรัสเซียตกลงร่วมมือกันสร้างสถานีวิจัยที่ดวงจันทร์
ประเทศจีนและรัสเซียวางแผนสร้างสถานีวิจัยที่ดวงจันทร์ร่วมกันในอนาคต แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มสร้างในปีใด
| |ไฮไลท์ผลงานวิจัยจากสถานีอวกาศนานาชาติในปี พ.ศ. 2563
จากการวิจัยและการทดลองอย่างต่อเนื่องบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์พัฒนาความเข้าใจการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งใช้เวลาในการเก็บข้อมูลกว่า 20 ปี ทำให้ภายในปีระยะเวลา 1 ปี (2562 ถึง 2563) มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์มากกว่า 300 รายการ ซึ่งมีหัวข้อเด่น ๆ ดังนี้
| |กล้อง HiRISE บันทึกภาพขณะเพอร์เซเวียแรนส์ร่อนลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร
ภาพจากกล้องความละเอียดสูง HiRISE (High Resolution Imaging Experiment) บนยาน MRO (Mars Reconnaissance Orbiter) บันทึกภาพขณะยานเพอร์เซเวียแรนส์กำลังกางร่มชูชีพในชั้นบรรยากาศดาวอังคาร เหนือสามเหลี่ยมปากแม่น้ำภายในหลุมอุกกาบาตเจซีโร (Jezero Crater) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
| |Touchdown Confirmed ! เพอร์เซเวียแรนส์ถึงดาวอังคารอย่างปลอดภัย
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 03:55 น. ตามเวลาประเทศไทย รถสำรวจดาวอังคาร “เพอร์เซเวียแรนส์ (Perseverance)” ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จ นับเป็นรถสำรวจคันที่ 5 ที่นาซาส่งไปลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ
| |สำเร็จรับตรุษจีน เทียนเวิ่น-1 ถึงดาวอังคารแล้ว
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:52 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานสำรวจดาวอังคารสัญชาติจีน “เทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1)” ปรับลดความเร็ว และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ ตามหลังยานโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปติด ๆ เริ่มต้นก้าวแรกสู่การสำรวจดาวอังคารของประเทศจีน
| |“โฮป” ความหวังของชาวอาหรับ โคจรรอบดาวอังคารสำเร็จแล้ว !
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลาประมาณ 22:57 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานสำรวจดาวอังคาร “โฮป (Hope)” ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จุดเครื่องยนต์เพื่อลดความเร็วลง และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ สร้างประวัติศาสตร์เป็นหน่วยงานอวกาศลำดับที่ 5 ของโลกที่สามารถส่งยานไปสำรวจดาวอังคารได้สำเร็จ
| |NGC 6946 กาแล็กซีดอกไม้ไฟ
ภาพนี้เป็นภาพกาแล็กซี NGC 6946 ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของ NASA และ ESA แสดงให้เห็นรายละเอียดที่สวยงาม และสภาพแวดล้อมของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีได้อย่างชัดเจน
| |ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หายไป … ราวกับไม่เคยมีอยู่
ในช่วงปี ค.ศ.2001 ถึง 2011 นักดาราศาสตร์ได้เก็บข้อมูลสเปกตรัมของกาแล็กซีขนาดเล็กที่อยู่ห่างจากโลกออกไป 75 ล้านปีแสง ที่รู้จักกันในชื่อ “กาแล็กซีแคระคินแมน (Kinman Dwarf Galaxy)” เนื่องจากกาแล็กซีนี้มีขนาดเล็กและอยู่ไกลมาก จึงไม่สามารถศึกษาดาวฤกษ์แต่ละดวงในที่อยู่ในกาแล็กซีนี้ได้ ทำได้เพียงศึกษาสเปกตรัมโดยรวมของทั้งกาแล็กซี แต่อย่างไรก็ตาม ดาวฤกษ์ที่สว่างมากและมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากดาวดวงอื่น จะปรากฏเอกลักษณ์อย่างเด่นชัดบนสเปกตรัมของกาแล็กซี
| |ปริศนาการเกิดดวงจันทร์ขนาดเล็กของดาวพลูโต
เป็นที่ทราบกันว่าดาวเคราะห์แคระ “พลูโต” ประกอบด้วยดวงจันทร์ทั้งหมด 5 ดวง ได้แก่ ดวงจันทร์แครอน (Charon) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่สุดของพลูโต และดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 4 ดวง ได้แก่ ดวงจันทร์ไฮดรา (Hydra) นิกซ์ (Nix) เคอร์เบอรอส (Kerberos) และสติกซ์ (Styx) ผลจากการศึกษาที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าระบบดวงจันทร์ของพลูโตเกิดจากวัตถุขนาดใหญ่พุ่งชนพลูโตแล้วหลุดกระเด็นออกมาเป็นดาวบริวารทั้ง 5 ดวง
| |ภูมิทัศน์บนดาวพลูโต
ภาพพื้นผิวของดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากโลกของเรากว่า 5,000 ล้านกิโลเมตร ที่ถูกส่งกลับมายังโลกจากยานสำรวจอวกาศนิวฮอไรซอนส์ ภายหลังยานสำรวจอวกาศลำนี้ได้เข้าทำภารกิจสำรวจดาวเคราะห์แคระพลูโตในระยะใกล้สุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
| |