นาซาล้ำหน้าไปอีกขั้น มอบทุนวิจัยโครงการนวัตกรรมอวกาศ การออกแบบติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดหน้ากล้อง 1 กิโลเมตรไว้ในหลุมอุกกาบาตบริเวณด้านไกลบนดวงจันทร์
| |ครบรอบ 50 ปี “ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จ” ของอะพอลโล 13
ยานอะพอลโล 13 ถูกส่งไปเยือนดวงจันทร์ด้วยจรวด Saturn V เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2513 มีภารกิจหลักคือ ส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์และเก็บข้อมูลตัวอย่างกลับมาศึกษาอย่างปลอดภัย มีนักบินสามคนได้แก่ เจมส์ โลเวลล์, แจ็ค สไวเกิร์ท และ เฟรด ไฮส์ ระหว่างการเดินทางถังออกซิเจนบนยานระเบิดทำให้ยานส่วนหนึ่งเกิดความเสียหาย จึงต้องยุติภารกิจสำรวจดวงจันทร์ และเปลี่ยนเป็นภารกิจกู้ชีพนักบินแทน โดยใช้ยานลงจอดดวงจันทร์ (Lunar Module) เป็นเรือชูชีพ แต่ท้ายที่สุดนักบินทั้งสามก็เดินทางกลับมาโลกอย่างปลอดภัย โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 5 วัน 22 ชั่วโมง 54 นาที เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่ล้มเหลวของนาซา แต่ยิ่งกว่าภารกิจคือการนำตัวนักบินเดินทางกลับมาได้อย่างปลอดภัย จึงเรียกโครงการนี้ว่า “ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จ”
| |เกาะติดดาวหาง C/2019 Y4 (Atlas) อาจไม่สว่างอย่างที่คาดไว้ ล่าสุดแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
หลังจากติดตามมาหลายเดือน เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์รายงานว่า ดาวหางแอตลาส หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ C/2019 Y4 (Atlas) มีนิวเคลียสที่กำลังยืดออก ซึ่งอาจหมายความว่าใจกลางของดาวหางดวงนี้กำลังแตกตัว ความหวังที่จะได้เห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาเปล่าก็อาจลดน้อยลงไปด้วย
| |ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะคล้ายโลกทั้งขนาดและอุณหภูมิ
15 เมษายน พ.ศ. 2563 นาซาเผยแพร่ผลการวิจัยล่าสุดว่า นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ มีขนาดและอุณหภูมิใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด โคจรรอบดาวแคระแดงที่ห่างจากโลกประมาณ 300 ปีแสง
| |นาซาเตรียมรับมืออย่างไรเพื่อไม่ให้โรค COVID-19 หลุดไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ องค์การนาซา (NASA) มีแผนจะส่งนักบินอวกาศสามคนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยนักบินอวกาศทั้งสามคนจะปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานีอวกาศนาน 6 เดือนและพวกเขาจะเฝ้ามองการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จากอวกาศที่อยู่สูงจากพื้นโลก 400 กิโลเมตร
| |แผนที่ดาวเคราะห์น้อยเบนนูแบบ 3D จากยาน OSIRIS-REx
ยานโอไซริส-เร็กซ์ (OSIRIS-Rex) ของนาซา ทำแผนที่ 3 มิติ พื้นที่ผิวของดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu) เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายระหว่างเก็บตัวอย่างกลับมาศึกษาที่โลก
| |แผนที่ดวงจันทร์ความละเอียดสูงจากยาน “จันทรยาน 2”
“จันทรยาน 2 (Chandrayaan 2)” ยานสำรวจดวงจันทร์สัญชาติอินเดีย ถูกส่งสู่อวกาศเพื่อสำรวจดวงจันทร์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีภารกิจหลักคือการทำแผนที่ความละเอียดสูงของดวงจันทร์ เพื่อใช้พิจารณาเลือกพื้นที่ลงจอดสำหรับนักบินอวกาศและตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งภาพที่ถ่ายได้จากเครื่องมือบนยานนั้นน่าสนใจเป็นอย่างมาก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
| |เราคงต้องทิ้งเธอไว้กลางทาง (ชั่วคราว) วอยเอเจอร์ 2
ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 ออกสู่ห้วงอวกาศและปฏิบัติภารกิจสำรวจที่ว่างระหว่างดวงดาว (Voyager Interstellar Mission) มาแล้วกว่า 40 ปี พร้อมกับส่งข้อมูลกลับมายังโลกสม่ำเสมอ จนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์รายงานว่ายานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 เดินทางพ้นขอบเขตระบบสุริยะแล้ว
| |ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะขนาดใหญ่อาจมีเงื่อนไขเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ในปัจจุบัน อาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติแต่นักดาราศาสตร์มักตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายโลก หรือมีเงื่อนไขที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ K2-18b ที่เคยค้นพบว่ามีน้ำอยู่ในชั้นบรรยากาศเมื่อปลายปีที่แล้ว
| |ยานอวกาศ OSIRIS-Rex ของนาซา พบอนุภาคถูกปล่อยออกจากดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู (Bennu)
นักวิจัยพบอนุภาคถูกปลดปล่อยออกจากพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู (Bennu) จากภาพถ่ายของยาน “โอไซริสเร็กซ์ (OSIRIS-Rex)” ขณะยานเดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเบ็นนูเพียงสัปดาห์แรก
| |10 เรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ที่นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้จากยาน SDO ขององค์การนาซา
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา องค์การนาซาฉลองครบ 10 ปี ที่ยาน “Solar Dynamics Observatory (SDO)” ปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ที่ผ่านมา ยาน SDO ศึกษากระบวนการสร้างและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ บนดวงอาทิตย์ เรียกว่า “สภาพอวกาศ (space weather)” รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ในอวกาศที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุริยะและโลกของเรา
| |C/2019 Y4 (ATLAS) ดาวหางที่กำลังสว่างจนอาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปี 2563 ชวนจับตา "ดาวหาง C/2019 Y4 (ATLAS)" อาจสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเดือน เม.ย. 63
“C/2019 Y4 (ATLAS)” เป็นดาวหางที่กำลังโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน และมีค่าความสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักดาราศาสตร์กำลังจับตาดาวหางดวงนี้ เนื่องจากมีโอกาสสว่างจนสามารถมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า
| |