องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซา ตัดสินใจขยายระยะเวลาปฏิบัติภารกิจของยานสำรวจดาวเคราะห์ 2 ลำ เนื่องจากมีผลงานการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ได้แก่ จูโน (JUNO) และ อินไซต์ (InSight) สองภารกิจที่กระตุ้นให้เกิดคำถาม และเพิ่มเติมความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุริยะอย่างมหาศาล
| |การเดินทางระหว่างดวงดาวคืบหน้าไปอีกขั้น! การทดสอบการขับเคลื่อนแผ่นกราฟีนด้วยความดันแสงประสบความสำเร็จ
นักวิทยาศาสตร์พบวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนด้วยความดันแสงมากกว่าแผ่นไมลาร์ซึ่งเคยใช้กับยานอวกาศ LightSail 1 และ LightSail 2 อาจเป็นแนวทางใหม่ในการขับเคลื่อนยานอวกาศในอนาคต
| |ปริศนาดาวเคราะห์ประเภท “ดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiter)”
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี แต่มีอายุน้อยกว่าและโคจรใกล้กับดาวฤกษ์ดวงแม่มาก ซึ่งเรียกดาวเคราะห์ประเภทนี้ว่า ดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiter) การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยตอบข้อสงสัยของนักวิทยาศาสตร์ได้ว่าดาวเคราะห์ประเภทนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
| |ภาพ “เนบิวลาดาวเคราะห์” ที่สมบูรณ์แบบจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ภาพเนบิวลาดาวเคราะห์ NGC 6302 และ NGC 7027 ในหลากหลายช่วงคลื่น จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ช่วยให้นักวิจัยศึกษากลไกความซับซ้อนของลำอนุภาคพลังงานสูง และกลุ่มแก๊สที่ฟุ้งกระจายออกมาจากใจกลางเนบิวลาทั้งสอง
| |นักบินอวกาศตรวจพบรูรั่วบนสถานีอวกาศนานาชาติด้วย “ใบชา”
สถานีอวกาศนานาชาติเผชิญปัญหาการสูญเสียความดันภายใน เนื่องจากมีการรั่วไหลของอากาศ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา
| |แผนที่กาแล็กซีทางช้างเผือกล่าสุด บ่งชี้ว่าโลกเคลื่อนที่เข้าใกล้หลุมดำเร็วกว่าเดิม
นักดาราศาสตร์ สดร. ร่วมทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ เก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุแทรกสอดระยะไกล VERA ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าโลกเคลื่อนที่เร็วขึ้น ด้วยอัตรา 7 กิโลเมตรต่อวินาที และเข้าใกล้หลุมดำมวลมหาศาลใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกมากขึ้น ที่ระยะสั้นกว่าเดิมประมาณ 2,000 ปีแสง แต่อย่างไรก็ตามโลกของเราจะยังไม่ถูกดูดเข้าสู่หลุมดำได้โดยง่าย ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงใน Publications of the Astronomical Society of Japan เมื่อสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
| |ภาพถ่ายดวงอาทิตย์จากกล้องโทรทรรศน์ Hi-C เผยให้เห็นชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ที่ความละเอียดสูงสุด
ภาพนี้บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์ “High Resolution Coronal Imager” หรือ “Hi-C” เป็นกล้องที่ติดตั้งอยู่บนจรวดประเภท “suborbital-flight” กล่าวคือ เป็นจรวดที่ส่งขึ้นไปในอวกาศแล้วตกกลับมายังโลก ซึ่ง Hi-C สามารถถ่ายภาพดวงอาทิตย์ที่เห็นรายละเอียดสูงถึงระดับ 70 กิโลเมตร หรือประมาณ 0.01 เปอร์เซ็นต์ของขนาดดวงอาทิตย์ นับเป็นภาพถ่ายชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดสูงสุดเท่าที่เคยมีมา
| |นักวิจัยพบหลักฐานชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่าอุกกาบาตทำให้คนเสียชีวิต
นักวิจัยค้นพบบันทึกในสมัยก่อนบ่งชี้ว่าอุกกาบาตที่ตกลงสู่โลกในปี พ.ศ. 2431 ได้คร่าชีวิตคนไปหนึ่งคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสอีกด้วย นับเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่บ่งชี้ว่ามีคนเสียชีวิตจากอุกกาบาต
| |ดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสอาจจะมีโอกาสชนโลกในอีก 48 ปี
ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสเป็นดาวเคราะห์น้อยที่นักดาราศาสตร์จับตามอง เนื่องจากเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อยสามดวงที่มีโอกาสพุ่งชุนโลกในอนาคตอีกหนึ่งร้อยปี แต่ไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้เปิดเผยว่า วงโคจรของอะโฟฟิสมีความเปลี่ยนแปลงและอาจพุ่งชนโลกในอีก 48 ปี ประมาณวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2611
| |รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2020
(ข้อมูลต้นฉบับจาก http://www.thaiphysoc.org/article/293/)
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 2020 ครึ่งหนึ่งเป็นของโรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) สำหรับการทำนายการเกิดขึ้นของหลุมดำโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และอีกครึ่งหนึ่งเป็นของ ไรน์ฮาร์ด เกนเซล (Reinhard Genzel) และ แอนเดรีย เกซ (Andrea Ghez) สำหรับการศึกษาและติดตามการโคจรของดาว S2 รอบใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราเพื่อพิสูจน์ว่า วัตถุที่ใจกลางกาแล็กซีนั้นมีมวลมหาศาลอยู่ภายในบริเวณเล็กๆ ซึ่งจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากหลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole)
การศึกษาชั้นบรรยากาศของโลกยุคโบราณ อาจช่วยให้ค้นหาเบาะแสของสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 3,000 ล้านปีก่อน หากมีมนุษย์ต่างดาวที่อยู่ไกลโพ้นหันกล้องโทรทรรศน์มาศึกษา “โลก” จะพบว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงหนึ่ง ที่อาจจะไม่เอื้อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ดังนั้น หากเราสามารถอธิบายได้ว่าในอดีตโลกมีสภาพแวดล้อมอย่างไร และวิวัฒนาการให้เกิดสภาพแวดล้อมปัจจุบันนี้ได้อย่างไร อาจกลายเป็นแนวทางใหม่ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีสภาพเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต
| |“ดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์” อาจไม่ได้เงียบสงบเหมือนดวงอาทิตย์เสมอไป
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ในระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่ ปัจจุบันพื้นผิวดวงอาทิตย์ค่อนข้างเงียบสงบเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงอื่น แม้ว่าจะเกิดจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ที่บรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์ ซึ่งจุดบนดวงอาทิตย์คือบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบเป็นบริเวณที่เส้นสนามแม่เหล็กพุ่งตัดพื้นผิวดวงอาทิตย์และขวางการพาความร้อนจากภายในดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ความเข้มแสงต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง และการลุกจ้า (Solar Flare) คือการระเบิดขนาดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์เป็นครั้งคราว แต่พลังงานที่ปลดปล่อยออกมามีเพียงแค่ 0.3 เปอร์เซ็นของอัตราพลังงานทั้งหมดที่ดวงอาทิตย์แผ่ออกมา
| |