งานวิจัยล่าสุดพบเมฆลึกลับในอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างจากโลกออกไป 532 ปีแสง จบชีวิตลงด้วยการระเบิดอย่างรุนแรงแล้วกลายเป็นดาวนิวตรอนในอดีตเมื่อ 100,000 ปีที่แล้ว
| |JWST สังเกตการณ์ระลอกคลื่นในอวกาศ จนพบว่าเป็นกลุ่มฝุ่นสารอินทรีย์ที่ถูกผลักด้วยแสงจากดาวฤกษ์
ภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจภาพนี้ ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นส่วนโค้งหลายชั้นที่อยู่โดยรอบระบบดาวยักษ์อันห่างไกล เผยให้เห็นกระแสฝุ่นสารอินทรีย์ ที่พัดมาจากระบบดาวที่อยู่ตรงกลางออกมาสู่อวกาศรอบนอก เกิดเป็นริ้วรอยคล้ายระลอกคลื่น และเป็นการตรวจพบหลักฐานครั้งแรกว่า แสงจากดาวฤกษ์เป็นตัวผลักดันให้สสารเคลื่อนที่ในอวกาศ นอกเหนือจากที่พบในระบบสุริยะของเรา
| |นักวิจัยพบว่าน้ำบนดาวอังคารอาจระเหยช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
ภาพบริเวณพื้นที่ราบ Bosporos Planum บนดาวอังคาร ที่ถ่ายโดยกล้อง Context Camera ของยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) ซึ่งพื้นที่สีขาว คือ เกลือที่ทับถมในร่องน้ำที่แห้งเหือด ขณะที่หลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในภาพนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
| |ยาน Parker Solar Probe เผยภาพพื้นผิวดาวศุกร์ในช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น
ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศปกคลุมหนาแน่นมาก ส่งผลให้ทั้งกล้องโทรทรรศน์บนโลกและยานอวกาศที่เดินทางไปสำรวจไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวของดาวศุกร์ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้เลย แต่ล่าสุดยาน Parker Solar Probe ใช้กล้อง Wide-Field Imager ที่ครอบคลุมทั้งช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็นและช่วงคลื่นอินฟาเรด ซึ่งเมื่อนำมาภาพมาวิเคราะห์รวมกันเป็น Time-Lapse แสดงให้เห็นภาพพื้นผิวดาวศุกร์ ที่บ่งบอกถึงลักษณะเด่นทางกายภาพ ทั้งพื้นที่ราบและเนินเขา
| |1 ดาว 18 ดวง ภาพแรกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 องค์การนาซาเผยแพร่ภาพถ่ายดาวภาพแรกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ (James Webb Space Telescope) หรือ JWST แสดงให้เห็นจุดดาวสว่างทั้งสิ้น 18 ดวง โดยที่ทั้ง 18 ดวงนี้คือดาวฤกษ์ดวงเดียวกัน เพื่อเป็นภาพไกด์ในการปรับกระจกกล้องทั้ง 18 บานต่อไป
| |ภาพใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกอันโกลาหล จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ MeerKAT
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแอฟริกาใต้ หรือ SARAO เผยแพร่ภาพบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกในช่วงคลื่นวิทยุ แสดงให้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแนวระนาบทางช้างเผือก เบื้องหลังฝุ่นอันหนาทึบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยช่วงแสงที่ตามนุษย์มองเห็น
| |ครั้งแรกของโลก! นักวิจัย สดร. ค้นพบระบบดาวเคราะห์น้อยที่มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยข่าวดาราศาสตร์สำคัญระดับโลก เมื่อนักวิจัย สดร. ค้นพบดวงจันทร์ดวงที่สามของระบบดาวเคราะห์น้อย 130 อิเล็กทรา (130 Elektra) นับเป็นการค้นพบระบบดาวเคราะห์น้อยที่มีดวงจันทร์บริวารถึง 3 ดวง เป็นครั้งแรกของโลก
| |สำเร็จ! JWST ถึงจุดหมายประจำการที่ตำแหน่ง L2 แล้ว
วันที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 02:05 น. ตามเวลาประเทศไทย กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ได้เข้าสู่วงโคจร ณ จุด L2 เป็นที่เรียบร้อย นับเป็นขั้นตอนสุดท้ายและสิ้นสุดกระบวนการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ และเป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการทดสอบอุปกรณ์ก่อนเริ่มใช้งานจริงอีกห้าเดือนถัดไป
| |เศรษฐีชาวญี่ปุ่นและทีมนักบินอวกาศในภารกิจโซยุซ MS-20 กลับถึงโลกหลังการพำนักระยะสั้นบนสถานีอวกาศนานาชาติ
มาเอซาวะ ยูซากุ (Maezawa Yusaku) เศรษฐีชาวญี่ปุ่นและผู้ช่วยถ่ายทำวิดีโอของเขาสามารถกลับลงมาถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย หลังจากใช้เวลาเกือบ 12 วันในสถานีอวกาศนานาชาติ พร้อมกับแชร์ประสบการณ์ลงในช่อง Youtube ส่วนตัว
| |ภารกิจเสินโจว 13 พร้อมนักบินอวกาศขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศแห่งใหม่ของจีนแล้ว
ภารกิจพานักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศของจีนครั้งที่ 2 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โดยในภารกิจนี้มี “หวาง ย่าผิง” นักบินอวกาศหญิงคนแรกของจีนที่เดินทางขึ้นไปบนสถานีอวกาศแห่งใหม่นี้
| |ยานลูซี (Lucy) ยานลำแรกที่จะสำรวจดาวเคราะห์น้อยกลุ่มโทรจันในแถบวงโคจรดาวพฤหัสบดี
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา นาซาส่งยาน “ลูซี (Lucy)” ขึ้นสู่อวกาศ เริ่มต้นเดินทางสู่ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มโทรจันในวงโคจรของดาวพฤหัสบดี เพื่อค้นหาไทม์ไลน์ที่หายไปของระบบสุริยะ
| |การเฉลิมฉลองการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ในสถานีอวกาศนานาชาติ ทั้งการแข่งกีฬาในสภาพไร้น้ำหนัก การส่งมอบธงห้าห่วง และการบรรเลงเพลงชาติฝรั่งเศส เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
เหล่านักบินอวกาศจากสหรัฐฯ รัสเซีย ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ของทีมนักบินอวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติ Expedition 65 ขณะร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 [Credit ภาพ : Thomas Pesquet]
| |