“C/2019 Q4 (Borisov)” ดาวหางดวงใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบและกลายเป็นจุดสนใจอย่างมากในวงการดาราศาสตร์ เพราะมันอาจเป็นวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะลำดับถัดจาก โอมูอามูอา (Oumuamua) ซึ่งปัจจุบันเป็นวัตถุนอกระบบสุริยะหนึ่งเดียวที่เรารู้จัก
| |นักดาราศาสตร์ตรวจพบโมเลกุล “น้ำ” บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้เป็นครั้งแรก
12 กันยายน 2562 - นักดาราศาสตร์ตรวจพบโมเลกุลน้ำในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “K2-18b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรกที่มีทั้งน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิต
| |ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 กำลังเข้าใกล้โลก(ไม่ชนแน่นอน)
2000 QW7 เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงล่าสุดที่กำลังจะโคจรเข้าใกล้โลกในวันที่ 14 กันยายน 2562 เวลา 23:54 น. ตามเวลาสากล โดยช่วงเวลาดังกล่าวดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณห้าล้านกิโลเมตร หรือ ประมาณ 14 เท่าของระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นที่เข้ามาใกล้และผ่านไปโดยไม่เกิดการชนได ๆ สิ่งที่ทำให้ 2000 QW7 ได้รับความสนใจคือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 650 เมตร ใกล้เคียงกับความสูงของตึก บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (Burj Khalifa) อาคารที่สูงที่สุดในโลกในประเทศดูไบ
| |การสังเกตดวงจันทร์จันทร์เสี้ยวแรก (Hilal) เพื่อกำหนดเดือนรอมฎอน (Ramadan) ปี 2562 ฮ.ศ.1440
เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562 ตรงกับวันที่ 1 เดือนซะบาน (Shaban) (เดือนที่ 8) ฮ.ศ. 1440 ดังนั้น ชาวไทยมุสลิมต้องออกมาสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (Hilal) ครั้งต่อไปในช่วงเย็นวันที่ 29 เดือนซะบาน (เดือนที่ 8) ฮ.ศ. 1440 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดวันเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่ เดือนใหม่ที่กำลังจะมาถึง ถือเป็นเดือนที่สำคัญมากของชาวไทยมุสลิม เนื่องจากจะเป็นวันเริ่มต้นการถือศีลอดเดือนรอมฎอน หรือวันที่ 1 เดือนรอมฎอน (Ramadan) (เดือน 9) ฮ.ศ. 1440
| |นักฟิสิกส์พบโมเลกุลไอออนฮีเลียมไฮไดรด์ กุญแจสู่ความเข้าใจเอกภพยุคแรกเริ่ม
เอกภพของเราถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวๆ 13,000 ล้านปีก่อน ในระยะแรกๆ เอกภพมีเพียงอะตอมเดี่ยวๆ แต่หลังจากนั้นราว 10,000 ปีนับจากจุดที่เอกภพถือกำเนิด อุณหภูมิของเอกภพเริ่มลดต่ำลงมากพอที่อะตอมเริ่มมารวมตัวกันเป็นโมเลกุลแรก นั่นคือ ไอออนฮีเลียมไฮไดรด์ ซึ่งเกิดจากอะตอมของธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียม ( HeH+)
| |ยานอวกาศ Trace Gas Orbiter เปิดเผยการค้นพบทั้งสามเรื่องบนดาวอังคาร
ExoMars Trace Gas Orbiter (เรียกย่อๆว่า TGO) เป็นยานอวกาศในโครงการเอกโซมาร์สที่ถูกส่งไปโคจรรอบดาวอังคารมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 แล้ว โดยยานอวกาศลำนี้เป็นความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรปและองค์การอวกาศรัสเซีย จุดประสงค์หนึ่งของโครงการนี้คือ การหาร่องรอยและความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
| |นักวิทยาศาสตร์เผยความสำเร็จในการบันทึกภาพ “หลุมดำยักษ์”
วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 20:00 น. หน่วยงานดาราศาสตร์แถลงผลงานวิจัยล่าสุดจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope : EHT) สามารถถ่ายภาพหลุมดำได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นับเป็นความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของมวลมนุษยชาติ
| |นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นทะเลสาบโบราณใต้ผิวดาวอังคาร
ทุกวันนี้ ผิวดาวอังคารนั้นแห้งแล้งและปรากฏเป็นสีแดงของสนิมเหล็ก แต่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ที่เพิ่งผ่านมานี้ ยาน Mars Express ค้นพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าใต้ผิวดาวอังคารเคยมีทะเลสาบหลายแห่งที่เชื่อมต่อกันโดยมีทะเลสาบ 5 แห่งที่มีแร่ธาตุที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิต
| |โครงสร้างคล้ายลูกอ๊อดปรากฏบนดวงอาทิตย์
กว่า 150 ปีมาแล้วที่นักดาราศาสตร์ฉงนกับปริศนาที่ว่าเหตุใด บรรยากาศชั้นโคโรนาซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์จึงมีอุณหภูมิสูงยิ่งกว่าผิวดวงอาทิตย์ราว 200 เท่า ความร้อนมหาศาลนี้ทำให้อนุภาคมีประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนผ่านมีความเร็วสูงอย่างยิ่ง และเมื่อมันพุ่งมายังโลกก็อาจก่อให้เกิดปัญหากับดาวเทียมสื่อสารหรือร่างกายนักบินอวกาศในสถานีอวกาศในระยะยาว รวมทั้งโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าอย่างโรงไฟฟ้าได้
| |นักวิทยาศาสตร์พบหินจากโลกไปอยู่บนดวงจันทร์
ในปี ค.ศ. 1971 นักบินอวกาศในโครงการอะพอลโล 14 เดินทางไปยังดวงจันทร์แล้วนำตัวอย่างหินบนดวงจันทร์กลับมายังโลกเพื่อศึกษา
| |